ขอเสียง

สวัสดีครับ ขอความแตกต่างและมุมมองของท่านนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร

ในหัวข้อเรื่อง  นิยายวิทยาศาสตรต่างจากเกมส์แนววิทยาศาตร์อย่างไร (ขอเกมส์ พีซี เป็นหลักครับ)

4 ความเห็นบน “ขอเสียง”

  1. ผมมองว่า
    จุดหลักน่าจะอยู่ที่ว่า เป้าหมายของเกมส์ คืออะไร
    เขาไม่ได้ต้องการสอน หรือ ให้ความรู้ วิทยาศาสตร์แน่ๆ
    เป้าหมายน่าจะอยู่ที่ความสนุก ตื่นเต้น และไม่น่าเบื่อ
    (นอกจากเกมส์ที่ต้องการทำมาเพื่อให้ความรู้)

    เกมส์ พีซี
    ผมคงต้องถามกลับว่า
    เกมส์ที่สร้างจากหนัง หรือ หนังสือนับหรือไม่
    star wars, the lord of the rings, dune
    จะนับหรือไม่

    แต่ถ้าเทียบกับ เกมส์ star craft, war craft, c&c, halo, half life ซึ่งเป็นเกิดที่ไม่มีต้นรากมาจากที่อื่น
    ความเป็น วิทยาศาสตร์ คงจะอยู่ในโครงสร้างของเนื่อเรื่อง แต่คงจะไม่อยู่ใน เนื้อเกมส์ สักเท่าไร
    และส่วนใหญ่ก็น่าจะอยู่ในระดับ soft sci-fi หรือ fantasy เสียมากกว่า

    (เรื่องจริง)
    มีโปรแกรมที่หน่วยงานหนึ่งทำขึ้นมา
    ให้ลองเอาโครงสร้าง DNA มาจัดประกอบสร้างสิ่งมีชีวิต แล้วส่งประกวดกัน
    โดยมีข้อมูลเรื่องความเสถียรของโครงสร้าง ตามหลักวิทยาศาสตร์ทุกประการ
    แต่นี่ไม่ได้แพร่หลายในวงกว้าง (ผมจำไม่ได้แล้วว่า เป็น ศูนย์วิจัย หรือ มหาวิทยาลัย หรือ หน่วยงานของรัฐ)
    อันนี้ วิทยาศาสตร์ เพียวๆ เลย

    เอ๊ะ … ผมตอบตรงคำถามไหมเนี่ย

  2. ในส่วนของผมในฐานะที่ชอบเล่นเกมส์

    อย่างที่คุณNiRaj ว่า
    “ความเป็น วิทยาศาสตร์คงจะอยู่ในโครงสร้างของเนื่อเรื่อง”

    ผมเห็นด้วยครับ ในส่วนของการเล่น

    สิ่งที่ผู้พัฒนาเกมส์ตั้ังใจมอบให้ ผู้เล่นส่วนใหญ่ก็ไม่พ้นในเรื่องของความสนุกเสียมากกว่า
    แต่ผมเห็นว่า เกมส์เป็นแรงบรรดาลใจในการสร้างจินตนาการอย่างดีไม่แพ้หนังสือ

    ไม่ทราบว่าคุณNiRaj เคยเล่นDead Spaceรึยัง ครับ

  3. ต้องออกตัวก่อนว่า หลังๆนี่ ไม่ได้เล่นเกมส์มานานมากแล้ว
    ไม่ action adventure ก็ strategy
    rpg. มีเล่นบ้าง แต่ไม่ค่อยจบ 😀

    Dead Space หรือ ครับ ไม่เคยครับ
    มีอะไร น่าสนใจ หรือ อยากจะ share ก็ เปิดเป็น หัวข้อเลยก็ได้ครับ
    จะได้แลกเปลี่ยน กัน

    ผมเข้าไปดูใน web site
    ไม่รู้เป็นอย่างไร ผมรู้สึกถึงความรู้สึก ที่เหมือนๆ กัน เช่น doom, quake, half life ผมว่า มันคง ดิ้นได้ไม่มากเท่าไร แล้ว
    แต่ก็เป็นแค่การมองผ่านๆ ของผมเท่านั้นเองนะครับ
    คงเอาเป็น บรรทัดฐาน อะไร ไม่ได้ ครับ 😛

    อ้อ อีกประเด็นครับ
    ผมกลับมองว่า interface ต่างหากที่จะมีผลต่ออนาคตของเรา
    เช่น flight sim. ผมมไ่แน่ใจว่า เกมส์ เกิดก่อน หรือ โรงเรียนฝึกบิน เกิดก่อน
    แต่เราได้เห็นการทำสงคราม และการทำลายล้าง ผ่าน จอยสติ๊ก กันแล้ว (พวก UAV)
    ในอนาคต สงคราม และ การปฏิสัมพันธ์ น่าจะเปลี่ยนไปอย่างมาก
    แต่ก็มีนิยายวิทยาศาสตร์ เล่นประเด็นนี้ ไปหลายเรื่องแล้ว

  4. อืม ก่อนอื่นต้องมาดูกันก่อนว่าแต่ละอย่างมีกายวิภาคง่ายๆอะไรบ้าง
    1.นิยายวิทยาศาสตร์ แต่งขึ้นมาเพื่อตอบสนองผู้อ่าน เหมาะแก่ผู้ชอบเรื่องราววิทยาศาสตร์ และต้องการเสพเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์และจินตนาการของผู้แต่ง รวมทั้งศิลปะทางวรรณกรรม ของผู้แต่ง
    2.เกมแนววิทยาศาสตรื แต่งขึ้นมาให้เล่นเกม เหมาะแก่ผู้ต้องการเสพกราฟฟิกของเกม ไม่ต้องอาศัยใจรักวิทยาศาสตร์ก็ได้ (ขัดแย้งกับอันแรกนะครับ) ซึ่งส่วนใหญ่เล่นเพราะความสนุกของกาฟฟิกอยู่แล้ว
    พอเห็นภาพแล้วนะครับ
    แต่แล้วผู้ถามต้องการคำตอบมากกว่านั้นนะครับ
    เหมือนกับถามว่ามันมีความเหมือนที่แตกต่างกันอย่างไร
    ข้อดีที่สุดคือช่วยให้เห็นภาพวิทยาศาสตร์ในอุดมคติได้ชัดเจน
    ขึ้น ช่วยเสริมสร้างจินตนาการทางวิทยาศาสตร์ได้เยี่ยมพอๆกัน
    (ในความคิดผมนะครับ)

    อืมมม แล้วความสอดคล้องกันล่ะ?
    ขอคิดก่อนนะครับสิ่งที่สอดคล้องกัน เห็นจะเป็นเรื่องเทคโนโลยีนี่แหละครับ วิทยาศาสตร์ยิ่งก้าวหน้าไป กราฟฟิก หรือ
    เกมคอนโซลก็จะยิ่งไฮเทคยิ่งขึ้น
    ใช่แล้ว…เพื่อสนองการเสพที่เหนือชั้นขึ้นไปอีก
    นอกจากนี้แล้ว
    ต้องถามคนถามเองว่าต้องการคำตอบในแง่ไหนด้วย?

ใส่ความเห็น