กล้อง’อัลมา’ในชิลี เผยภาพ’กาแล็กซี’ชุดแรก
(ข่าวสดออนไลน์)
กล้องโทรทรรศน์วิทยุในโครงการดาราศาสตร์ภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดของโลก ‘อัลมา’ มูลค่า 1,300 ล้านดอลลาร์ หรือราว 40,000 ล้านบาท ซึ่งจับกลุ่มตั้งเรียงรายอยู่ที่เทือกเขาแอนดีส ประเทศชิลีในทวีปอเมริกาใต้ เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการแล้ว โดยเผยภาพชุดแรกเป็นภาพสุดน่าทึ่งจากห้วงอวกาศอันไกลโพ้นของกาแล็กซีแอนเทนนา หรือ กาแล็กซีหนวดแมลง
กาแล็กซีหนวดแมลงอยู่ห่างออกไปราว 70 ล้านปีแสง ภาพจากกล้องอัลมา ซึ่งบันทึกด้วยคลื่นวิทยุสองความถี่ เผยให้เห็นกาแล็กซีที่เกี่ยวพันกัน 2 กาแล็กซีในกลุ่มดาวนกกา (Corvus)
มาร์ก แม็กคินนอน ผู้อำนวยการโครงการอัลมา อเมริกาเหนือ แห่งหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ด้วยคลื่นวิทยุแห่งชาติ รัฐเวอร์ จิเนีย กล่าวว่าเราเลือกเฟ้นพื้นที่ซึ่ง ทุรกันดารที่สุดของโลกเพื่อสร้างกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่สุดเอาไว้ โดยอยู่ห่างจากกรุงซานติเอโก ราว 1,500 กิโลเมตร กลุ่มกล้องเหล่านี้มีเทคนิคการทำงานที่ซับซ้อน อย่างที่ นักดาราศาสตร์เมื่อสิบปีก่อนฝันถึง เป้าหมายเพื่อเป็นเสมือนดวงตาขนาดใหญ่ที่สุดของโลก เฝ้าดูสัญญาณของมนุษย์ต่างดาวบนฟากฟ้า
โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างยุโรป อเมริกา เหนือและเอเชียตะวันออก โดยมีชิลีเป็นผู้ประสานงาน ประกอบด้วยเสาอากาศ 66 เสา แต่ละเสาจะตรวจจับวัตถุที่มีความเย็นจัด เช่น กลุ่มก๊าซที่รวมตัวเป็นดวงดาวและดาวเคราะห์
มนุษย์ต่างดาวแมลงอาจอยู่ที่นั่น!?! …. ในศตวรรษนี้ มนุษย์ยังคงทำได้แค่เอากล้องส่องไปบนฟ้า เฝ้าดู จินตนาการและฝันหวาน….ส่วนการที่จะเดินทางไปนอกขอบระบบสุริยะยังไม่ต้องพูดถึง ข่าวว่า mission ต่อไปคือไปดาวอังคาร ด้วยระยะทางประมาณปีกว่าที่เราต้องอยู่บนยานอวกาศเล็กๆ มนุษย์ชาติพร้อมแล้ว (จากผลการsimulate ล่าสุดเอานักบินไปอยู่ยานอวกาศแล้วปิดประตูขังไว้หนึ่งปีกว่า เท่ากับเวลาที่ใช้เดินทางไปดาวอังคาร ผลออกมาประสบความสำเร็จดี!) …. เรายังต้องก้าวอีกหลายก้าว เมื่อไหร่ก็ตามที่เราสามารถเอาชนะระบบขับเคลื่อนไปในอวกาศเพื่อให้เราเดินทางได้เร็วกว่าปัจจุบัน เมื่อนั้นหน้าต่างจักรวาลจะเปิดรับเรา