ชวนดูปรากฎการณ์คืน13-14ธ.ค.

นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดาราศาสตร์ไทย กล่าวว่า ในวันที่ 14 ธ.ค.2553 ได้จัดค่ายดาราศาสตร์นำนักเรียนโรงเรียนไผ่แก้ววิทยา อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ตั้งกล้องโทรทรรศ 3 ตัวเพื่อชมปรากฏการณ์เข็มขัดเมฆเส้นใต้เส้นศูนย์สูตรดาวพพฤหัสบดี กับชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 14 ธ.ค.53 นี้

นายวรวิทย์ กล่าวต่อว่า ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ ขนาดยักษ์ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ ลำดับที่ 5 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 11 เท่าของโลก มีแกนกลางเป็นหินขนาดเล็ก เนื้อดาวชั้นในเป็นโลหะไฮโดรเจน เนื้อดาวชั้นนอกเป็นไฮโดรเจนเหลว และฮีเลียมเหลวหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วรอบละ10 ชั่วโมงเท่านั้น ทำให้เกิดแถบเมฆสีคล้ำซึ่งเป็นเมฆชั้นต่ำแต่มีอุณหภูมิสูง และแถบเมฆสีอ่อนที่เป็นเมฆชั้นสูงแต่อุณหภูมิต่ำ มองเห็นได้ชัดเจนในกล้องดูดาวขนาดเล็ก เรียกว่าเข็มขัดเมฆ (Belt)

“แถบสีคล้ำที่ปรากฏชัดเจนมานานหลายร้อยปี มีสองเส้น คือเข็มขัดเมฆเส้นเหนือ และเข็มขัดเมฆเส้นใต้ที่ปรากฏบนบรรยากาศผิวดาวพฤหัสบดีมานานหลายร้อยปีแต่ ประมาณปลายปี 2552ที่ผ่านมา แถบเมฆ สึคล้ำด้านใต้เริ่มจางหายไป และหายทั้งหมดประมาณเดือนพฤษภาคม ปี 2553 นักดาราศาสตร์ทั่วโลกต่างเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์นี้อย่างใกล้ชิด วิเคราะห์ว่าอาจเป็นเพราะเกิดความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิบนผิวดาวพฤหัสบดี และขณะนี้นักดาราศาสตร์เฝ้าติดตามว่าเข็มขัดเมฆเส้นใต้เส้นศูนย์สูตรจะกลับ มาให้เห็นอีกเมื่อใด”นายวรวิทย์ กล่าว

วันที่ 14 ธันวาคม 2553 ดังกล่าวหอดูดาวบัณฑิต โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฏิ์ และโรงเรียนไผ่แก้ววิทยา จังหวัดฉะเชิงเทรา จึงจัดกิจกรรมค่ายดาราศาสตร์ ช่วงหัวค่ำตั้งกล้องดูดาว สังเกต เข็มขัดเมฆที่หายไปของดาวพฤหัสบดี และหลังเวลา 22.00น.เป็นต้นไป

ref: http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.-%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B9%8C/%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2/64366/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%86%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2

ใส่ความเห็น