สืบเนื่องจากการได้เข้าร่วมเสวนาเรื่อง “นัวตกรรมทางปัญญากับความหายนะของมนุษยชาติ” เมื่อวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา เนื่องในงานแถลงข่าวความคืบหน้าโครงการ “100 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์” ซึ่งจัดโดยรศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล โดยวิทยากรได้แก่ อาจารย์อนุช อาภาภิรมณ์ อาจารย์วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ และคุณธารา บัวคำศรี (จากกลุ่มกรีนพีซ) ได้แสดงความคิดเห็นสอดคล้องไปในทางเดียวกันว่า สภาวะการณ์ที่เกิดขึ้นกับโลกของเรา อันเนื่องมาจากนวัตกรรมทางปัญญาทีมนุษย์คิดค้น และประดิษฐ์ขึ้น อย่างมากมาย อันเนื่องมาจากความห้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่างๆในขณะนี้อย่างเช่น การเกิดสภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และภูมิประเทศได้ถูกขยายจนเกินจริง ทำให้เกิดความหวั่นวิตกกันไปทั่วโลกว่า โลกกำลังจะถึงกาลปาวสาน หรือมนุษยชาติอาจจะถึงคราวสูญสิ้นเผ่าพันธุ์ในอีกไม่ช้านี้ ทั้งๆที่ความจริงแล้ว มันเป็นเพียงวิกฤตอย่างหนึ่งเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นที่จะเป็นหายนะของมนุษยชาติแต่อย่างใด
ผู้เขียนจึงขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมอีกสักหน่อยว่า หายนะภัยของมนุญชาติอันเกิดจากนวัตกรรมทางปัญญาของมนุษย์นั้น เกิดขึ้นได้สองรูปแบบ กล่าวคือ เป็นหายนภัยทางด้านกายภาพ ซึ่งก็คือปรากฏการณ์ต่างๆที่เราสามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้ อย่างเช่น สภาวะโลกร้อน การละลายอย่างรวดเร็วของน้ำแข็งขั้วโลก การเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง การเกิดโรคภัยไข้เจ็บใหม่ๆอัเกิดจากเชื้อโรคหรือสารเคมี การเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เช่นการระเบิดของโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นต้น กับหายนภัยทางด้านสติปัญญา จิตวิญญาณ จริยะรรม ซึ่งเป็นหายนภัยทางด้านสังคม
หายนภัยอย่างหลังนี้ก็น่าเป็นห่วงไม่แพ้หายนภัยทางกายภาพแต่อย่างใด ถึงแม้เราไม่อาจจะมองเห็นหรือสัมผัสได้ แต่เราทุกคนอก็สามารถรู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพราะมันได้ก่อให้เกิดความตำต่ำวุ่นวายของสังคมโดยส่วนรวม ยกตัวอย่างเช่น นวัตกรรมทางปัญญาอย่างเช่นอินเทอร์เน็ต ซึ่งความจริงแล้วก็มีคุณูประการอย่างมหาศาลต่อกระบวนการเรียนรู้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็กลับมาสิ่งชั่วร้าย แฝงเข้ามาในอินเทอร์เน็ตอย่างมากมายด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งลามกอนาจารย์ เกมส์มอมเมาเยาวชน หรือการหลอกลวงต่างๆ โดยเฉพาะพวกจิ้งจอกสังคม ที่อาศัยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์และอ่อนต่อโลกของเด็กๆ โดยเฉพาะสาววัยรุ่น หรือการหลงไหลในวัตถุนิยมของชนรุ่นใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างน่ากลัว และความเครียดของผู้คนที่เพิ่มมากขึ้น จากสภาวะของสังคมแห่งการดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด และแสวงหาสิ่งอำนวยความสะดวกอันเกินกว่าความจำเป็นในชีวิตประจำวัน
ถึงแม้ว่าหายนภัยทั้งสองประการอาจจะมองดูน่ากลัวว่า อนาคตของมนุษยชาติของเราจะถึงกาลดับสูญเสียแล้วหรือไร เราก็คงไม่ต้องหวาดวิตกกับเรื่องดังกล่าว จนกระทั่งไม่สามารถดำเนินชีวิตอย่างปรกติสุขได้ ผู้เขียนเอง ก็มีความคิดเห็นเช่นเดียวกับวิทยากรทั้งสามท่าน ในงานเสวนาดังกล่าวเช่นเดียวกัน ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับโลกในปัจจุบันนั้น เป็นเพียงวิกฤตอีกวิกฤตหนึ่งเท่านั้น ที่เกิดขึ้นเพื่อให้มนุษย์ได้เรียนรู้ ปรับตัว และหาหนทางแก้ไขเพื่อให้โลก และสังคมโลกเข้าสู่สภาวะสมดุลดังที่เคยเป็นมา เหมือนกับวิกฤตอื่นๆที่เคยเกิดขึ้นมานับครั้งไม่ถ้วนก่อนหน้านี้ ซึ่งในที่สุดมนุษย์ก็จะสามารถฟันฝ่าวิกฤตเหล่านี้ไปได้ในที่สุด แต่แน่นอน ในการฝ่าฟันวิกฤตในแต่ละครั้ง ย่อมจะต้องมีการสูญเสียบ้างไม่มากก็น้อย เพราะการสูญเสียและการทำลาย เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆเสมอ ขอเพียงพวกเราได้ดำเนินชีวิตต่อไปด้วยสติปัญญาและเหตผลเท่านั้น วิกฤตก็จะกลายเป็นโอกาสอันดีในทันที เพราะคำว่า “วิกฤต” นั้นแท้ที่จริงแล้ว ความหมายตามศัพท์ซึ่งบรรพบุรุษได้บัญญัติไว้นั้น หมายความว่า “โอกาสอันดี” อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น คำๆนี้จึงเป็นคำที่เป็นมงคลของชีวิต หาใช่คำซึ่งจะบั่นทอนกำลังใจของเราไม่ เช่นเดียวกับคำว่า “อุปสรรค” ซึ่งแปลว่า ใกล้สวรรค์หรือใกล้ความสำเร็จนั่นเอง
ใครมีความคิดเห็นอย่างไรก็เสนอได้นะครับ
หากไม่ ตระหนักรู้
ก็อาจจะสายเกินแก้ นะครับ
ทุกปัญหามีทางออก
ทุกเรื่องราวมีบทสรุป
แต่ทางออกนั้น(บทสรุปนั้น) เป็นสิ่งที่คุณ อยากให้เป็นหรือไม่
ลองคิดกลับด้าน นวัตกรรมทางปัญญาอาจจะเป็นคำตอบสุดท้ายของมนุษย์ และเป็นความหวังสุดท้ายของมนุษย์ในการรักษาเผ่าพันธุ์เอาไว้บนโลกใบนี้ก็ได้ครับ
สุดท้ายแล้วมนุษย์เราอาจจะไปถึงจุด Technologically singularity ไวขึ้น และอาจจะอยู่ต่อไปโดยที่มีกายภาพและปัญญาเกินจากปัจจุบัน กลายเป็นอีกเผ่าพันธุ์หนึ่งไป
นี่เป็นไปตามแนวคิดของนักคิดกลุ่มทรานสฮิวแมนิสม์น่ะครับ