หอภาพยนตร์ฯจัดภาพยนตร์สนทนาเรื่อง “ภาพยนตร์ไซไฟแบบไทยๆ” กับ ชัยวัฒน์ คุประตกุล
ภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ หรือที่มักจะถูกเรียกกันติดปากว่า “ภาพยนตร์ไซไฟ” ซึ่งมาจากคำเต็มว่า Science Fiction ถือเป็นภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูง และมีลักษณะเฉพาะที่ภาพยนตร์จะสร้างขึ้นโดยมีแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนสำคัญของเนื้อหา หรือ การดำเนินเรื่อง
หากสังเกตจากรายได้และกระแสตอบรับภาพยนตร์แล้ว ภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ที่ผู้ชมภาพยนตร์ชาวไทยนิยมรับชม มักจะเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด มากกว่าภาพยนตร์ที่สร้างในประเทศไทยอย่างมาก นอกจากนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเทศไทยมีภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ (รวมทั้งนิยายวิทยศาสตร์) ผลิตออกมาค่อนข้างน้อย และเมื่อถูกผลิตออกมาก็มักจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับภาพยนตร์ของฮอลลีวู้ดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องของเทคนิคพิเศษ การสร้างสรรค์ภาพเพื่อให้สมจริง รวมทั้งความหลักแหลมและน่าเชื่อถือของบทภาพยนตร์
แต่กระนั้นก็ตาม ก็ยังมีผู้สร้างภาพยนตร์ไทยจำนวนหนึ่งพยายามผสมผสานแนวคิดความเชื่อทางไสยาศาสตร์หรือความคิดเชิงพุทธที่เป็นพื้นฐานของสังคมไทย ผสมกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ จนทำให้ภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ของไทย มีความเป็นลูกผสมระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิมกับวัฒนธรรมสมัยใหม่ ตัวอย่างของภาพยนตร์ไทยแนวนี้ เช่น มันมากับความมืด (๒๕๑๔, หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล) กาเหว่าที่บางเพลง (๒๕๓๗, นิรัตติศัย กัลย์จาฤก) ปักษาวายุ (๒๕๔๗, มณฑล อารยางกูล) หรือ กระดึ๊บ (๒๕๕๓, จาตุรงค์ พลบูรณ์) เป็นต้น
ในเดือนมกราคมนี้ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) จึงได้เชิญ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของประเทศไทย เจ้าของนามปากกา ชัยคุปต์ เตคีออน วัฒนชัย และ ศรีวัฒน์ ซึ่งมีผลงานเขียนด้านวิทยาศาสตร์ ทั้งตำราวิชาการ บทความ นิยาย มาเป็นวิทยากรในกิจกรรมภาพยนตร์สนทนา ประจำเดือนมกราคม ในหัวข้อ “ภาพยนตร์ไซไฟ แบบไทยๆ”
ซึ่งจะพูดถึงลักษณะของภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ทั่วๆ ไป ความแตกต่างระหว่างภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ของไทยกับต่างประเทศ และความเกี่ยวเนื่องของภาพยนตร์กับความเชื่อพื้นฐานวิทยาศาสตร์ในสังคมไทย
หอภาพยนตร์ฯ ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมภาพยนตร์สนทนาในครั้งนี้
ในวันเสาร์ที่ ๒๑ มกราคม ศกนี้
ณ โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
เวลา ๑๕.๐๐ – ๑๘.๐๐ น.
โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างไร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หอภาพยนตร์ฯ ๐๒-๔๘๒-๒๐๑๓ ต่อ ๑๑๑ หรือ thaifilmarchive@gmail.com
ภาพบรรยากาศในงานครับ
เริ่มจาก การเริ่มต้นของนิยายวิทยาศาสตร์ ก่อนจะพูดถึง นิยายวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย และ ภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย
คำถามส่วนใหญ่จะเป็น เส้นแบ่งความเป็น นิยายวิทยาศาสตร์ กับเรื่องเพ้อฝัน ซึ่งอาจารย์ชัยวัฒน์ ได้ย้ำถึงความเป็นเหตุเป็นผล
อีกคำถามคือความยาก/ง่าย(แพง) ในการทำภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ ในประเทศไทย
โดยอาจารย์ชัยวัฒน์ ได้ให้ความเห็นว่า คนไทยสามารถทำภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ในแบบของซีรี่ย์ทางโทรทัศน์ได้ โดยเทียบกับภาพยนตร์จักรๆวงศ์ๆซึ่งมีการทำอยู่แล้ว
จริงๆแล้ว หอภาพยนตร์ มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย
ลองติดตามดูนะครับ
http://www.fapot.org
น่าสนใจมากครับ แต่คงไปไม่ได้เสียดายเพราะอยู่ต่างจังหวัด ผมเคยไปยุ่งเกี่ยวกับภาพยนต์ไซไฟไทย เรื่องมาห์ ที่มาช่าเล่น คือรู้จักผู้กำกับจากมิติที่ 4 แล้วเคยทำหนังสั้นร่วมกันเรื่องหนึ่งจากบทประพันธ์ของผมเอง (สมัยนั้นหนังสั้นยังไม่แพร่หลาย) แล้วเขาก็เอาเรื่องสั้นไปเสนอทำหนัง ช่วงทำเรื่องมาห์ผมไปเรียนขอนแก่นเลยไม่ได้ยุ่งต่อ
ภาพยนต์ไซไฟไทยแค่เห็นหน้าคนไทยคนดูก็แทบจะไม่เชื่อในความสามารถว่าคนไทยจะเก่งเทคโนโลยีเก่งวิทยาศาสต์อยู่แล้ว แถมทุนในการสร้างก็ไม่สู้ Hollywood อีก ที่พอจะทำสู้ได้คือบทภาพยนต์ ซึ่งสามารถเขียนให้เข้ากับวิถีชีวิตคนไทยได้ดีกว่า และทุนสร้างก็ไม่สูง ไม่เสี่ยงต่อการล้มเหลวมากนัก ไซไฟไทยจึงเหมือนแดนสนธยาเสมอมา
บรรยากาศการสัมนาเป็นอย่างไรบ้างมีใครเข้าฟังช่วยมาเล่าให้อ่านหน่อยครับ
เพิ่มเติมรูปภาพในงานครับ
บรรยายกาศอบอุ่นเป็นกันเอง
ได้ความรู้และแง่คิดมากมาย
รวมถึงเป้าหมายเชิงสังคมจากการผลิตงานศิลปะ(เว่อร์ไปไหมเนี่ย)
รูปในงานเพิ่มเติมที่ นี่ด้วยครับ
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=pommm-houseofmuseum&group=1
นัยpommm