“Sir Arthur C. Clark” ดาวผู้ล่วงลับแต่ไม่ดับแสง โดย อุษณา-อาริยา

Sir Arthur C. Clark 1917-2008

วันที่ 19 มีนาคม 2008 เวลา 1:30 นาฬิกา ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศศรีลังกา 1 ใน 3 ผู้ยิ่งใหญ่คนสุดท้ายแห่งวงการนิยายวิทยาศาสตร์สิ้นลมลงพร้อมกับเสียงทอดถอนใจของแฟนนักอ่านทั่วโลก…

สำหรับแฟนนักอ่านนิยายวิทยาศาสตร์แล้วคงไม่มีใครไม่รู้จักอาเธอร์ ซี. คล้าก หนึ่งในสามนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่ทรงอิทธิพลที่สุดของโลก กระทั่งในประเทศไทยเองผลงานของอาเธอร์ ซี. คล้ากก็ได้รับการตีพิมพ์และมีแฟนๆ ติดตามอย่างเหนียวแน่นเรื่อยมา ดังนั้นข่าวการเสียชีวิตของนักประพันธ์ผู้นี้จึงนำมาซึ่งความเศร้าโศกและเสียดายอย่างยิ่งแก่วงการนิยายวิทยาศาสตร์ นับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การจากไปของโรเบิร์ต เอ. ไฮไลน์ และ ไอแซค อาสิมอฟ

ประวัติชีวิตของ อาเธอร์ ซี. คล้าก ทั้งน่าสนใจและแสดงให้เห็นถึงแววของอัจฉริยภาพตั้งแต่ต้น ทว่าหากเราจะลงลึกไปถึงรายละเอียดชีวิตของเขาแล้วล่ะก็ คงจะยาวเป็นสิบหน้าเป็นแน่ดังนั้นในบทความสั้นๆ นี้จะเป็นเพียงประวัติโดยย่อเท่านั้น

อาเธอร์ ซี. คล้าก เกิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 1917 ที่เมือง Minehead จังหวัด Somerset ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ยังเล็กคล้ากชอบการดูดาวจากกล้องดูดาวทำเองและอ่านนิตยสารนิยายวิทยาศาสตร์เก่าๆ อย่าง pulp magazine อย่างลุ่มหลง และยังเริ่มงานเขียนของตัวเองเมื่อเข้าโรงเรียน หลังจากเรียนจบคล้ากได้เข้ารับใช้ชาติในสงครามโลกครั้งที่สองโดยเป็นส่วนหนึ่งใน Royal Air force ในตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านเรดาร์ ในตอนนี้เองที่หนังสือของเขาได้ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรก งานเขียนและบทความของคล้ากหลายชิ้นได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้คนนับล้าน อาทิ การสื่อสารผ่านดาวเทียม กระสวยอวกาศ ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงระบบการสื่อสารอย่างฉับไว นับแต่ปี 1952 เป็นต้นมาอาเธอร์ก็ได้ผันตัวมาเป็นนักเขียนเต็มตัว และย้ายไปอยู่ประเทศศรีลังกาตั้งแต่ปี 1956 และจากได้ไปอย่างสงบเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2008

รายชื่อผลงานเขียนของ อาเธอร์ ซี. คล้าก มีดังนี้

ผลงาน(นิยาย)

  • Prelude to Space (1951)
  • The Sands of Mars (1951)
  • Islands in the Sky (1952)
  • Against the Fall of Night (1953)
  • Childhood’s End (1953)
  • Earthlight (1955)
  • The City and the Stars (1956)
  • The Deep Range (1957)
  • A Fall of Moondust (1961)
  • Dolphin Island (1963)
  • Glide Path (1963)
  • 2001: A Space Odyssey (1968)
  • Rendezvous with Rama (1972)
  • Imperial Earth (1975)
  • The Fountains of Paradise (1979)
  • 2010: Odyssey Two (1982)
  • The Songs of Distant Earth (1986)
  • 2061: Odyssey Three (1988)
  • A Meeting with Medusa (1988)
  • Cradle (1988) (with Gentry Lee)
  • Rama II (1989) (with Gentry Lee)
  • Beyond the Fall of Night (1990) (with Gregory Benford)
  • The Ghost from the Grand Banks (1990)
  • The Garden of Rama (1991) (with Gentry Lee)
  • Rama Revealed (1993) (with Gentry Lee)
  • The Hammer of God (1993)
  • Richter 10 (1996) (with Mike McQuay)
  • 3001: The Final Odyssey (1997)
  • The Trigger (1999) (with Michael P. Kube-McDowell)
  • The Light of Other Days (2000) (with Stephen Baxter)
  • Time’s Eye (2003) (with Stephen Baxter)
  • Sunstorm (2005) (with Stephen Baxter)
  • Firstborn (2007) (with Stephen Baxter)
  • The Last Theorem (to be published in 2008) (with Frederik Pohl)

ผลงาน(เรื่องสั้น)

  • Expedition to Earth (1953)
  • Reach for Tomorrow (1956)
  • Tales from the White Hart (1957)
  • The Other Side of the Sky (1958)
  • Tales of Ten Worlds (1962)
  • The Nine Billion Names of God (1967)
  • Of Time and Stars (1972)
  • The Wind from the Sun (1972)
  • The Best of Arthur C. Clarke (1973)
  • The Sentinel (1983)
  • Tales From Planet Earth (1990)
  • More Than One Universe (1991)
  • The Collected Stories of Arthur C. Clarke (2000)

งานเขียนทางวิชาการและอื่นๆ

  • Interplanetary Flight: an introduction to astronautics. London: Temple Press, 1950
  • The Exploration of Space. New York: Harper, 1951
  • The Coast of Coral. New York: Harper, 1957 — Volume 1 of the Blue planet trilogy
  • The Reefs of Taprobane; Underwater Adventures around Ceylon. New York: Harper, 1957 — Volume 2 of the Blue planet trilogy
  • The Making of a Moon: the Story of the Earth Satellite Program. New York: Harper, 1957
  • Boy beneath the sea, Photos by Mike Wilson. Text by Arthur C. Clarke. New York: Harper, 1958
  • The Challenge of the Space Ship: Previews of Tomorrow’s World. New York: Harper, 1959
  • The Challenge of the Sea. New York: Holt, Rinehart and Winston, 1960
  • Profiles of the Future; an Inquiry into the Limits of the Possible. New York: Harper & Row, 1962
  • The Treasure of the Great Reef. New York: Harper & Row, 1964 — Volume 3 of the Blue planet trilogy
  • Voices from the Sky: Previews of the Coming Space Age. New York: Harper & Row, 1965
  • The Promise of Space. New York: Harper, 1968
  • Into Space: a Young Person’s Guide to Space, by Arthur C. Clarke and Robert Silverberg. New York: Harper & Row, 1971
  • Report on Planet Three and Other Speculations. New York: Harper & Row, 1972
  • The Lost Worlds of 2001. London: Sidgwick and Jackson, 1972
  • Voice Across the Sea. HarperCollins, 1975
  • The View from Serendip. Random House, 1977
  • The Odyssey File. Email correspondence with Peter Hyams. London: Panther Books, 1984
  • 1984, Spring: a Choice of Futures. New York: Ballantine Books, 1984
  • Ascent to Orbit, a Scientific Autobiography: The Technical Writings of Arthur C. Clarke. New York: John Wiley & Sons, 1984
  • Astounding Days: A Science Fictional Autobiography. London: Gollancz, 1989
  • How the World Was One: Beyond the Global Village. New York : Bantam Books, 1992 — A history and survey of the communications revolution
  • By Space Possessed. London: Gollancz, 1993
  • The Snows of Olympus – A Garden on Mars (1994, picture album with comments)
  • An Encyclopedia of Claims, Frauds, and Hoaxes of the Occult and Supernatural, 1995, St. Martin’s Press ISBN 0-312-15119-5 (Online Version)
  • Fractals: The Colors of Infinity (1997, narrator)
  • Arthur C. Clarke & Lord Dunsany: A Correspondence 1945-1956. ed. Keith Allen Daniels. Palo Alto, CA, USA: Anamnesis Press, 1998.
  • Greetings, Carbon-Based Bipeds! : Collected Works 1934-1988. New York: St. Martin’s Press, 1999
  • Profiles of the Future; an Inquiry into the Limits of the Possible (updated edition). New York: Harper & Row, 1999, ISBN 057506790X, ISBN 9780575067905
  • From Narnia to a Space Odyssey: The War of Letters Between Arthur C. Clarke and C. S. Lewis (2003) with C. S. Lewis
  • The Coming of the Space Age; famous accounts of man’s probing of the universe, selected and edited by Arthur C. Clarke.

ผลงานที่ได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนต์

  • 2001: A Space Odyssey
  • 2010: Odyssey Two
  • Rendezvous with Rama (กำลังอยู่ระหว่างการถ่ายทำ : David Fincher เป็นผู้กำกับโดยมี Morgan Freeman เป็นนักแสดงนำ)

ดาวเทียมค้างฟ้า (Geostationary Satellite) *

ผลงานของ อาร์เธอร์ ซี คล้าร์ก นอกเหนือจากนวนิยายวิทยาศาสตร์คือ แนวคิดในการสื่อสารข้ามประเทศด้วยดาวเทียม ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาทำให้เราได้ดูทีวีโทรทัศน์กันในแบบทุกวันนี้
ดาวเทียมค้างฟ้า (Geostationary Satellite) เป็นดาวเทียมที่อยู่กับที่เมื่อเทียบกับโลก มีวงโคจรอยู่ในระนาบเดียวกับเส้นศูนย์สูตร อยู่สูงจากผิวโลกประมาณ 35,786 ก.ม.

วงโคจรพิเศษนี้อาจเรียกว่า “วงโคจรค้างฟ้า” หรือ “วงโคจรคลาร์ก” เพื่อเป็นเกียรติแก่นาย Arthur C. Clarke ผู้ค้นพบวงโคจรนี้

วงโคจรคลาร์ก เป็นวงโคจรในระนาบเส้นศูนย์สูตร (Equator) ที่มีความสูงเป็นระยะที่ทำให้ดาวเทียมเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเชิงมุมเท่ากับการหมุนของโลก
แล้วทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางมีค่าเท่ากับแรงดึงดูดของโลกพอดี เป็นผลให้ดาวเทียมดูเหมือนอยู่คงที่
ณ ระดับความสูงนี้ ดาวเทียมค้างฟ้าส่วนใหญ่ใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ และภายในประเทศ เช่น ดาวเทียม Intelsat, Palapa, Asiasat, Thaicom เป็นต้น

วงโคจรคลาร์ (Clarke Belt) ถูกนำเสนอครั้งแรกในบทความ
“Extra-Terrestrial Relays – Can Rocket Stations Give Worldwide Radio Coverage?,” ตีพิมพ์ในหนังสือ Wireless World เมื่อ เดือนตุลาคม ปี 1945

โดยเสนอแนวคิดในการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก ด้วยการใช้ดาวเทียมอย่างน้อย 3 ดวง โคจรเหนือเส้นศูนย์สูตร ในตำแหน่งที่ทำมุมซึ่งกันและกัน 120 องศา
โดยโคจรไปพร้อมกับโลกด้วยความเร็วเท่ากับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง (Synchronous orbit) ดังนั้น ตำแหน่งของดาวเทียมจะคงที่ตลอดเวลา เมื่อเปรียบเทียบกับโลก

*ส่วนนี้ขออนุญาติก็อปมาจากกระทู้
http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X6436242/X6436242.html
ของ คุณนายเดชา ค่ะ (เพราะว่าผู้เขียนไม่ใคร่จะสันทัดด้านนี้เท่าไรนัก)

บทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในประวัติของ Arthur C. Clark เท่านั้นค่ะ หากผู้อ่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูที่ส่วนอ้างอิงค่ะ

อ้างอิง
http://news.bbc.co.uk/2/hi/uk_news/7304004.stm

Home


http://en.wikipedia.org/wiki/Arthur_C._Clarke

Home


http://www.daviddarling.info/encyclopedia/C/Clarke_Belt.html
http://en.wikipedia.org/wiki/Geostationary
http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X6436242/X6436242.html

หนึ่งความเห็นบน ““Sir Arthur C. Clark” ดาวผู้ล่วงลับแต่ไม่ดับแสง โดย อุษณา-อาริยา”

  1. ขออ้างอิงเพิ่มเติมค่ะ

    คุณ นายเดชา ให้ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติมว่า ช่วงแรกๆ ตรงส่วน ดาวเทียมค้างฟ้า นั้นมาจาก

    “เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านดาวเทียมและเทคนิคการติดตั้ง”
    เขียนโดย อ. สมพร ธีระโรจนพงษ์ และ อ. สมนึก ะัญญาวินิชกุล พิมพ์เมื่อ 21 เม.ย. 2537
    หน้าที่ 4

    ส่วนที่เหลือนั้นคุณ นายเดชา แปลและเรียบเรียงมาจากเวบไซต์ที่ได้อ้างอิงไว้ข้างบนแล้วค่ะ

    อาริยา

ใส่ความเห็น