ประกวดนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2567

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยามหิดล, สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย และ GDH ขอเชิญผู้สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2567 ชิงทุนส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงาน พร้อมโล่เกียรติยศ และเกียรติบัตร

อ่านเพิ่มเติม “ประกวดนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2567”

ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ประจำปี 2566

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล, สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด ขอเชิญ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ประจำปี 2566 ชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ และโอกาสได้ตีพิมพ์ผลงาน

คุณสมบัติผู้ส่งผลงานเข้าประกวด

  • รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ (สําหรับผู้อ่านทั่วไป)
    • รุ่นเยาวชน : อายุไม่เกิน 25 ปี (นับถึงวันที่ปิดรับสมัคร)
    • รุ่นประชาชนทั่วไป : ไม่จํากัดเพศ อายุ และ วุฒิการศึกษา
  • รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์สําหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี
    • ไม่จํากัดเพศ อายุ และ วุฒิการศึกษา
อ่านเพิ่มเติม “ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ประจำปี 2566”

ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 2565

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด ขอเชิญผู้สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 2565 ชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ เกียรติบัตร และโอกาสได้ตีพิมพ์ผลงาน

วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยและผู้สนใจ เกิดความตื่นตัวและสนใจในเรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์ สื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านงานเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผลงานเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ และสร้างเวทีเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ ได้มีโอกาสทำความเข้าใจและสร้างเสริมจินตนาการไปกับองค์ความรู้อันหลากหลายทางวิทยาศาสตร์ ได้แสดงความสามารถและสะท้อนออกมาเป็นเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์ในสื่อ “เรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์”

อ่านเพิ่มเติม “ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 2565”

โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 5

จัดโดย อพวช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด
โครงการประกอบด้วย

การอบรมพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์

โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 5 เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจและมีความต้องการพัฒนาทักษะการเขียนของตนเอง
ด้วย การอบรมพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการอบรม กำหนดจัดอบรม วันที่ 7 – 8 มีนาคม 2563 เวลา 09.00 น. – 17.00 น.
สถานที่จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง (รับสมัครผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป)

กติกาและใบสมัครการอบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์

หมดเขตสมัครเข้าอบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านเข้าอบรมฯ วันที่ 3 มีนาคม 2563 ทาง www.nsm.or.th

การประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์

  • (สามารถเข้าร่วมได้ทั้ง 2 กิจกรรมตามเกณฑ์การรับสมัคร)
    1. รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์
      1. รุ่นเยาวชน (อายุไม่เกิน 25 ปี) 
      2. รุ่นประชาชนทั่วไป (ไม่จำกัดเพศ อายุ และวุฒิการศึกษา) 
    2. รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์สำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี (ไม่จำกัดเพศ อายุ และวุฒิการศึกษา) 

ใบสมัครรางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 
ใบสมัครรางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์สำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี
กติกาการส่งผลงานเข้าประกวด 

อ้างอิงจาก: http://www.nsm.or.th/event/competition/science-short-story.html

โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 
และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด จัดทำ “โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4” ขึ้น เพื่อเป็นเวทีเปิดโอกาสให้ผู้ที่รักการเขียน และรักในวิทยาศาสตร์ใช้
จินตนาการถ่ายทอดงานเขียนแนววิทยาศาสตร์ในรูปแบบเรื่องสั้น และส่งเข้าร่วมประกวดใน “โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4” โดยท่านสามารถร่วม
กิจกรรมกับโครงการฯ ได้ 2 กิจกรรม ได้แก่ การอบรมพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสคร์ และ การประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 
(สามารถเข้าร่วมได้ทั้ง 2 กิจกรรมตามเกณฑ์การรับสมัคร)

ข้อมูลจาก http://www.nsm.or.th/event/competition/science-short-story.html

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ประเทศไทย ครั้งที่ 14

หัวข้อ การปฏิวัติอาหาร (Food Revolution)
วันที่ 10-30 พฤศจิกายน 2561
ณ โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา

เข้าสู่ช่วงเวลาของภาพยนตร์วิทยาศาสตร์อีกครั้ง กับเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ประเทศไทย ครั้งที่ 14 จัดขึ้นโดยสถาบันเกอเธ่ประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เป็นศูนย์จัดฉายในเขต จ.นครปฐม และมีโรงภาพยนตร์ศรีศาลายาเป็นสถานที่ในการจัดฉาย สำหรับหัวข้อในปีนี้ คือ “การปฏิวัติอาหาร (Food Revolution)” ซึ่งในเทศกาลจะมีทั้งภาพยนตร์ที่กล่าวถึงคุณค่าของอาหาร อาหารปลอดสารพิษ รวมถึงสำรวจประเด็นเกี่ยวกับโภชนาการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เราตระหนักถึงการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โดยจะจัดฉายควบคู่ไปกับนิทรรศการเกี่ยวกับการปฏิวัติอาหารที่หอภาพยนตร์จัดขึ้นเพื่อเพิ่มเติมความรู้ นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย

เทศกาลภาพยนตร์ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ประเทศไทย ครั้งที่ 14 ที่หอภาพยนตร์ จะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 10-30 พฤศจิกายน 2561 โดยทุกท่านสามารถรับชมภาพยนตร์ที่ได้รับการคัดเลือก รวม 21 เรื่อง จาก 7 ประเทศ ได้ตามโปรแกรมด้านล่างนี้ ในขณะที่คุณครูและนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ สามารถมาเข้าร่วมชมภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เหล่านี้พร้อมทั้งร่วมกิจกรรมสนุก ๆ จากทีมงานหอภาพยนตร์ ในช่วงวันจันทร์-ศุกร์ รอบเช้าและรอบบ่าย ตลอดเทศกาล หากทางโรงเรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและเช็กรอบเข้าชมได้ที่ 02 482 2013-14 ต่อ 110

รอบฉายเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ฯ ครั้งที่ 14 ณ โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา
(ภาพยนตร์ทุกเรื่องพากย์ภาษาไทย ยกเว้นเรื่อง ดิ่งสู่ดาวเสาร์ ภารกิจสุดท้ายของยานแคสสินี
ฉายในภาษาอังกฤษ มีคำบรรยายภาษาไทย)

โปรแกรมที่ ๑ (๘๒ นาที)
วันเสาร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ น.
วันอังคารที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๗.๓๐ น.

โปรแกรมที่ ๒ (๘๒ นาที)
วันเสาร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ น.
วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๗.๓๐ น.

โปรแกรมที่ ๓ (๘๐ นาที)
วันเสาร์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ น.
วันพุธที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๗.๓๐ น.

โปรแกรมที่ ๔ (๘๘ นาที)
วันเสาร์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๕.๐๐ น.
วันศุกร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๗.๓๐ น.

link รายละเอียด

ประกาศผลการตัดสินรางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3

ผลการประกวด PDF

ขอแสดงความยินดีกับทุกท่านด้วยครับ

อ่านเพิ่มเติม “ประกาศผลการตัดสินรางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3”

อพวช. : โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 และ ขอเชิญผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรม “อบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์”

อพวช.(องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ) ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 และ “อบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์”

อบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์

โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 เปิดโอกาศให้ผู้ที่สนใจและมีความต้องการ
พัฒนาทักษะการเขียนของตนด้วย การอบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการอบรม
กำหนดจัดอบรม วันที่ 10 – 11 มีนาคม 2561 เวลา 10.00 น. – 17.30 ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช.
ชั้น 4 อาคารจัตุรัสจามจุรี ถ. พญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

หมดเขตสมัครเข้าอบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม 2561
รายละเอียดการอบรม
ใบสมัคร

จาก
http://www.nsm.or.th/index.php?option=com_k2&view=item&id=6661:2018-01-10-02-06-49&Itemid=167

และ

การประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด จัดทำ “โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3” ขึ้น เพื่อเป็นเวทีเปิดโอกาสให้ผู้ที่รักการเขียน และรักในวิทยาศาสตร์
ใช้จินตนาการ ถ่ายทอดงานเขียนแนววิทยาศาสตร์ในรูปแบบเรื่องสั้น และส่งเข้าร่วมประกวดในโครงการฯ

โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยและผู้สนใจ เกิดความตื่นตัวและสนใจในเรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์
และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านงานเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผลงานเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ
และสร้างเวทีเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจ ได้มีโอกาสทำความเข้าใจและสร้างเสริมจินตนาการไปกับองค์ความรู้อันหลากหลายทางวิทยาศาสตร์

การประกวดแบ่งออกป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ปรเภทเยาวชน (อายุตั้งแต่ 15 ปี แต่ไม่เกิน 25 ปี)
2. ประเภทประชาชนทั่วไป (ไม่จำกัดเพศ อายุ และวุฒิการศึกษา)
3. ประเภทกลุ่ม (2-3 คน นักเขียนร่วมกับนักวิทยาศาสตร์)

หมดเขตส่งผลงานเข้าประกวด วันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2561
กติกาการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3
ใบสมัครการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 ประเภทประชาชนทั่วไป
ใบสมัครการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 ประเภทเยาวชน
ใบสมัครการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 ประเภทกลุ่ม

จาก
http://www.nsm.or.th/index.php?option=com_k2&view=item&layout=item&id=6660&Itemid=423

NSTDA Academy : การนำปัญญาประดิษฐ์มาช่วยเสริมศักยภาพในการประกอบธุรกิจในยุคดิจิทัล

งานสัมมนา
“การนำปัญญาประดิษฐ์มาช่วยเสริมศักยภาพในการประกอบธุรกิจในยุคดิจิทัล :

Artificial Intelligence (AI) – Next move for the smarter business in the Digital Age.”

ไม่มีค่าใช้จ่าย
รับจำนวนจำกัด
ร่วมลุ้นรับรางวัล Lucky Draw ในช่วงสุดท้ายของงานสัมมนา !!!

Key Highlights
พบกับ ศ.ดร.ธนารักษ์ ธีระมั่นคง ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ซึ่งจะทำให้ท่านได้รู้จักกับ AI : Artificial Intelligence หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เพื่อให้มีความสามารถคล้ายกับมนุษย์ สามารถส่งเสริมกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ให้ได้ดียิ่งขึ้น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้จะถูกนำมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างชาญฉลาด ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่สำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล
ร่วมแบ่งปันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานและบริษัทชั้นนำที่ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุนการดำเนินงานรวมถึงการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและสามารถสร้างมูลค่าทางการตลาดได้อย่างน่าสนใจ อาทิ Amazon Web Services, Microsoft (Thailand) Limited, Ascend Corp, IBM (Thailand) Co.,Ltd., STelligence Co., Ltd.

กลุ่มเป้าหมาย
นักศึกษา นักวิชาการ บุคลากรภาคการศึกษา
บุคลากรและผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้สนใจทั่วไป

วันที่จัดสัมมนาฯ
วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2560 เวลา 9.00 – 16.30 น.

สถานที่จัดสัมมนาฯ
ห้องออดิทอเรียม CO113 ส่วนงานกลาง ชั้น 1 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

ค่าลงทะเบียน
ฟรี (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

หมายเหตุ
กรุณาลงทะเบียนภายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2560
ได้จัดเตรียมอาหารว่าง และอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมงานสัมมนาทุกท่าน
หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียนกรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างน้อย 3 วันทำการ ก่อนวันจัดงาน
ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง วิทยากรและกำหนดการตามความเหมาะสม
ขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกผู้เข้าร่วมงานสัมมนา

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Call Center: 0 2644 8150 ต่อ 81901 (คุณธนัท), 81902 (คุณสิริชุดา)
E-mail: itpe@nstda.or.th

ref : https://www.nstdaacademy.com/webnsa/index.php/integratedhrd/ait2017-1

Sci fi day 2017 : 40ปี สตาร์วอร์ส

ขอแจ้งข่าวให้ทราบว่าทางชมรมจะจัดกิจกรรมวัน Sci fi day ขึ้นใน
วันเสาร์ที่6 พฤษภาคม 2560
เนื่องในโอกาส ฉลองครบรอบ 40ปี ภาพยนตร์สตาร์วอร์ส
ณ ห้องประชุมกาลิเลโอ จตุรัสวิทยาศาสตร์ จามจุรีสแควร์ ชั้น4 สามย่าน
งานจะเริ่มตั้งแต่เวลาเที่ยงครึ่ง ถึงบ่าย4โมง

แต่ถึงแม้จะจัดงานในคราวนี้เพื่อร่วมฉลอง ครบรอบปีที่40ของภาพยนตร์เรื่อง สตาร์วอร์ส แต่เรื่องหลักๆที่พวกเรามาพบปะพูดคุยกัน ก็ยังอยู่ในนประเด็นการส่งเสริมและพัฒนาวงการเขียนการอ่าน นิยายวิทยาศาสตร์ของไทย

ดังนั้นทางชมรมจึงขอเรียนเชิญนักเขียนทั้งนวนิยาย เรื่องสั้นเรื่องยาว นิยายภาพ นักทำอะนิเมชัน ทำภาพยนตร์ ทั้งมืออาชีพมือสมัครเล่น โปรแกรมเมอร์ เกมเมอร์ นำผลงานมาโชว์ มาเล่าสู่กันฟัง

ในงานจะมีของสะสม ของที่ระลึกและหนังสือราคาไม่แพง มาจำหน่าย โดยแฟนคลับกลุ่มต่างๆ ของชมรม

สำหรับท่านผู้ที่มีผลงานหนังสือนิยายวิทยาศาสตร์ซึ่งพิมพ์ออกมาจำหน่ายแล้ว ทางชมรมก็ขอเรียนเชิญ นำผลงานของท่านมาวางจำหน่าย มาประชาสัมพันธ์ในงานนี้ได้

ส่วนนักเขียนรับเชิญ อาจารย์ชัยวัฒน คุประตะกุล (ชัยคุปต์) ก็รับปากจะแวะมาร่วมสนุกด้วยแน่นอน

อ่านเพิ่มเติม “Sci fi day 2017 : 40ปี สตาร์วอร์ส”

ประชุมกรรมการชมรมฯ และวันครบรอบ 11ปี ชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทย

วันที่ 27สิงหาคม ที่ผ่านมา
ณ ศูนย์การค้า สุพรีม คอมเพล็กซ์ สามเสน

ถือเป็นการประชุมกรรมการ ติดตามความคืบหน้าโครงการต่างๆ และ เลี้ยงวันเกิดชมรมฯไปพร้อมกันเลยทีเดียว

Juno : Countdown to Jupiter Orbit Insertion Maneuver

https://www.nasa.gov/mission_pages/juno/main/index.html

ยานอวกาศจูโน (อังกฤษ: Juno) เป็นภารกิจเขตแดนใหม่ของนาซา ไปยังดาวเคราะห์ดาวพฤหัสบดี จูโนถูกปล่อยขึ้นจากสถานีกองทัพอากาศเคปคานาเวอเรล ในวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2011 และจะไปถึงในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 2016(เวลา อเมริกา ) เป็นยานอวกาศที่จะอยู่ในวงโคจรขั้วโลก เพื่อศึกษาองค์ประกอบของดาวพฤหัสบดี ,สนามแรงโน้มถ่วง ,สนามแม่เหล็ก และแม็กนีโตสเฟียร์ขั้วโลก ยังค้นหาประเด็นเกี่ยวกับวิธีการที่มันเกิดขึ้น ,รวมถึงว่าดาวพฤหัสบดีที่มีแกนหิน , ปริมาณน้ำปัจจุบันในชั้นบรรยากาศที่ลึกลงไป และวิธีการที่มวลของมันกระจาย

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%99

จับตาการเปลี่ยนแปลง สนามแม่เหล็กโลก ขนลุก “อาจมีสลับขั้ว”

จากภาพ ฝูงดาวเทียมสวอร์มขององค์การอีซา ประกอบด้วยดาวเทียมสามดวง คอยตรวจวัดความเข้มและความเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กโลกด้วยความละเอียดแม่นยำสูง
(จาก ESA/ATG Medialab)

โลกเรามีสนามแม่เหล็กห่อหุ้มทั่วทั้งดวง สนามแม่เหล็กโลกมีบทบาทสำคัญในการเป็นเกราะปกป้องบรรยากาศของโลกจากลมสุริยะ
แต่สนามแม่เหล็กของโลกมิใช่สิ่งที่คงที่ถาวร บางครั้งอาจมีการสลับขั้วขึ้น จากขั้วเหนือเป็นขั้วใต้ จากขั้วใต้เป็นขั้วเหนือ นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานการสลับขั้วแม่เหล็กโลกในอดีตมาแล้วหลายครั้ง
อ่านเพิ่มเติม “จับตาการเปลี่ยนแปลง สนามแม่เหล็กโลก ขนลุก “อาจมีสลับขั้ว””

นิทรรศการ 3,000 ล้านปีของสิ่งมีชีวิต

ขอเชิญชวนร่วมนิทรรศการ 3,000 ล้านปีของสิ่งมีชีวิต
ณ ลานสานฝัน อุทยานการเรียนรู้ TK park
ระหว่างวันที่ 4 – 12 มิถุนายน 2559
11:00 – 17:00

นิทรรศการ 3,000 ล้านปีของสิ่งมีชีวิต

ค้นหาคำตอบถึงความมหัศจรรย์ของสิ่งมีชีวิตในโลกใบใหญ่ ปัจจัยของการกำเนิดโลก และสิ่งมีชีวิต วิวัรฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่น่าทึ่ง พร้อมพบกับสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ที่จะจุดประกายการเรียนรู้ให้กับทุกเพศทุกวัย
• ชมสิ่งมีชีวิตหลากสายพันธุ์ ที่มีพร้อมลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่หาดูได้ยาก
• สนุกไปกับเรื่องราวที่มาของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ที่มีวิวัฒนาการมายาวนานกว่าสามพันล้านปีก่อน
• พบความเชื่อมโยงของสิ่งมีชีวิตกับระบบนิเวศ ที่เชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก
นิทรรศการ3,000 ล้านปีของสิ่งมีชีวิต เน้นเรื่องราวของการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ตื่นตาไปกับตัวอย่างสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด จากนั้นจะมีการให้ข้อมูลเรื่องราวของความแตกต่างของสิ่งมีชีวิต เชื่อมโยงสู่เนื้อหาของการวิวัฒนาการ และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานในวันที่จัดงานจะมีการนำสิ่งมีชีวิตมาจัดแสดงแตกต่างกันตามแต่ละอาทิตย์โดยวันที่ 4-5 มิถุนายน 2559 จะเป็นกลุ่มสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกและสัตว์เลื้อยคลาน

ข้อมูล จาก มติชนออนไลน์ วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน 2559
อ้างอิง http://www.matichon.co.th/news/157832

“ปิดเทอมนี้ สนุกคิด สนุกเรียนรู้ สู่อนาคต” ยกทัพ 24 กิจกรรมโดนใจเยาวชนทั่วประเทศ

เห็นข่าวน่าสนใจดี เลยเอามาฝากครับ

ปิดเทอมนี้ สนุกคิด สนุกเรียนรู้ สู่อนาคต