ประกวดนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2567

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยามหิดล, สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย และ GDH ขอเชิญผู้สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2567 ชิงทุนส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงาน พร้อมโล่เกียรติยศ และเกียรติบัตร

อ่านเพิ่มเติม “ประกวดนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2567”

ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ประจำปี 2566

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล, สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด ขอเชิญ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ประจำปี 2566 ชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ และโอกาสได้ตีพิมพ์ผลงาน

คุณสมบัติผู้ส่งผลงานเข้าประกวด

  • รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ (สําหรับผู้อ่านทั่วไป)
    • รุ่นเยาวชน : อายุไม่เกิน 25 ปี (นับถึงวันที่ปิดรับสมัคร)
    • รุ่นประชาชนทั่วไป : ไม่จํากัดเพศ อายุ และ วุฒิการศึกษา
  • รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์สําหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี
    • ไม่จํากัดเพศ อายุ และ วุฒิการศึกษา
อ่านเพิ่มเติม “ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ประจำปี 2566”

ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 2565

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด ขอเชิญผู้สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 2565 ชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ เกียรติบัตร และโอกาสได้ตีพิมพ์ผลงาน

วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยและผู้สนใจ เกิดความตื่นตัวและสนใจในเรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์ สื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านงานเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผลงานเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ และสร้างเวทีเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ ได้มีโอกาสทำความเข้าใจและสร้างเสริมจินตนาการไปกับองค์ความรู้อันหลากหลายทางวิทยาศาสตร์ ได้แสดงความสามารถและสะท้อนออกมาเป็นเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์ในสื่อ “เรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์”

อ่านเพิ่มเติม “ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 2565”

โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 5

จัดโดย อพวช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด
โครงการประกอบด้วย

การอบรมพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์

โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 5 เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจและมีความต้องการพัฒนาทักษะการเขียนของตนเอง
ด้วย การอบรมพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการอบรม กำหนดจัดอบรม วันที่ 7 – 8 มีนาคม 2563 เวลา 09.00 น. – 17.00 น.
สถานที่จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง (รับสมัครผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป)

กติกาและใบสมัครการอบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์

หมดเขตสมัครเข้าอบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านเข้าอบรมฯ วันที่ 3 มีนาคม 2563 ทาง www.nsm.or.th

การประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์

  • (สามารถเข้าร่วมได้ทั้ง 2 กิจกรรมตามเกณฑ์การรับสมัคร)
    1. รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์
      1. รุ่นเยาวชน (อายุไม่เกิน 25 ปี) 
      2. รุ่นประชาชนทั่วไป (ไม่จำกัดเพศ อายุ และวุฒิการศึกษา) 
    2. รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์สำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี (ไม่จำกัดเพศ อายุ และวุฒิการศึกษา) 

ใบสมัครรางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 
ใบสมัครรางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์สำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี
กติกาการส่งผลงานเข้าประกวด 

อ้างอิงจาก: http://www.nsm.or.th/event/competition/science-short-story.html

ประกาศผลการตัดสินรางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3

ผลการประกวด PDF

ขอแสดงความยินดีกับทุกท่านด้วยครับ

อ่านเพิ่มเติม “ประกาศผลการตัดสินรางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3”

รอยวิบัติ (trace)

จักรกฤษณ์ยืนอย่างสงบนิ่งอยู่บนรถไฟฟ้าที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง เขากำลังเดินทางไปพบผู้ว่าจ้างของเขาโดยเลือกที่จะใช้เส้นทางซ่อมบำรุงที่ปราศจากแสงสี เพราะการใช้เส้นทางหลักในเมืองทำให้เขามีอาการเวียนศรีษะอยู่เสมอด้วยภาพทิวทัศน์ที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่ตลอดเวลาในระหว่างการเดินทาง เดี๋ยวก็เป็นทิวทัศน์ชายหาด เดี๋ยวก็เป็นภาพจากตึกสูง เดี๋ยวกลางวัน เดี๋ยวกลางคืน คงเนื่องจากความโหยหาธรรมชาติในตัวทุกผู้คน แต่เนื่องจากขนาดของอาคารที่ใหญ่โตกินบริเวณหลายพัันตารางกิโลเมตร ย่อมไม่สามารถให้พื้นที่สำหรับมุมมองภายนอกได้อีกแล้ว ทุกคนจึงต่างปรุงแต่ง ทิวทัศน์ มุมมอง ตามแต่ใจปรารถนา แต่นั่นคื่อสิ่งที่ทำให้คนที่ต้องเดินทางผ่านหลายๆสถานที่เกิดอาการหลงทิศ หลงทาง และคลื่นเหียนได้อย่างน่ารำคาญ มันเป็นอาการสามัญจนมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า อาการเมาตึก และ จักรกฤษณ์ก็ไม่อยากให้เกิดอาการแบบนั้นในขณะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่เขาต้องการใช้ความคิด

รถไฟฟ้าเคลื่อนผ่านผนังสีทึบไปตลอดเส้นทาง ระหว่างที่จักรกฤษณ์หวนรำลึกถึงตอนที่พบเจ้าของงานนี้เป็นครั้งแรก

“สามีของฉันหายตัวไป” หล่อนกล่าว…มีน้ำเสีงแหบพร่าเล็กๆในเสียงนั้น จักรกฤษณ์รู้สึกได้ถึงความไม่แน่ใจบางอย่าง หลังจากการทักทายกับหล่อนตามมารยาทของนักสืบทั่วไป “ทั้งหมดนี่คือข้อมูลของเขา” หล่อนยื่นแผ่นข้อมูลบางขนาดนามบัตร

จักรกฤษณ์วางมันลงบนโต๊ะ แล้วภาพแฟ้มข้อมูลทั้งหมด ก็แสดงขึ้นบนผนังห้องเบื้องหน้า
บุคคลที่หายตัวไป คือ ดร.วัชรพล เคฟเค่น ศารตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง ควอนตัมฟิสิกส์(quantum physic) ที่มีชื่อเสียง

“มีอะไรที่ผมควรรู้เป็นพิเศษไหม” จักรกฤษณ์เอ่ยถามขณะเคลื่อนมือไปบนโต๊ะ พลิกแฟ้มประวัติบนผนังไปมา “งานวิจัยที่กำลังทำอยู่, คู่แข่ง ศัตรู หรือ” เขาหยุดเล็กน้อยเหลือบมองหล่อน “ชู้รัก”

“ไม่มี” โดยปราศจากการลังเลหรือชะงักงัน ไม่แม้เพียงหนึ่งส่วนล้านของวินาที … อาจจะเร็วเกินไปเสียด้วยซ้ำ และดูเหมือนหล่อนเองก็จะจับอาการสงสัยนั้นได้ด้วยเช่นกัน “ถ้าคุณดูภาพที่ถูกบันทึกแล้วคุณจะเข้าใจ”

ภาพที่เขาเห็นยิ่งทำให้เขามึนงงยิ่งขึ้นไปอีก
มันเป็นภาพที่ถูกบันทึกโดยระบบ MAIDS ซึ่งแสดงภาพของ ดร.วัชรพลในห้องของเขา ขณะกำลังสาละวนกับงานเอกสารบนโต๊ะ ภาพแตกพร่าไปสักเสี้ยววินาทีเห็นจะได้ และหลังจากนั้นภาพทุกอย่างก็กลับคืนมา …
ทุกอย่าง ยกเว้น ดร.วัชรพล

ประเด็นแรกจึงไม่ใช่ว่า ใคร ทำไม หรือ จะเป็นตายร้ายดีประการได
ประเด็นแรกคือ “อย่างไร”

อ่านเพิ่มเติม “รอยวิบัติ (trace)”

เรื่องเก่าเล่าใหม่ : ปรากฎการณ์ที่ Tunguska

ในช่วงวัยเด็กเราได้รับข้อมูลมากมายเกี่ยวกับปรากฎการณ์ที่ไม่สามารถอธิบายได้ เช่น ความเที่ยงตรงในการสร้างปิรามิด รูปวาดบนที่ราบ Nazca สัตว์ประหลาดล๊อคเนส รูปสลักชาวมายัน ฯลฯ

หนึ่งในนั้นคือปรากฎการณ์ที่ Tunguska ที่ต้นไม่ล้มระเนระนาดกินพื้นที่กว่า 2,000 ตารางกิโลเมตร มีข่าวลือมากมายรวมไปจนถึงการโจมตีของมนุษย์ต่างดาว

wiki

http://www.tiewrussia.com/webboard/view_question.php?qno=80
(ข้อสรุปนี้น่าจะสมเหตุสมผลมากที่สุดในเวลานี้)

เมื่อเวลาผ่านไป ข้อมูลและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มาขึ้นทำให้เราได้ข้อสรุปต่างๆที่มีความเป็นไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ

ที่ผมเขียนถึงเรื่องนี้เพราะอดระลึกถึงไม่ได้ว่า ปริศนาเหล่านี้ที่ทำให้ผมสนใจใน วิทยาศาสตร์ และ นิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งนับวันดูเหมือนจะน้อยลงทุกที หรือเป็นเพราะเราผลักปริศนาทั้งหมดไปที่สองจุดใหญ่ๆ คือ ไม่สนใจ และ เวรกรรม+อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์

เดี๋ยวว่างๆจะขุด มายัน และ Nazca มาคุยกัน ครับ

รหัสสังหาร

แรงบันดาลใจจากเรื่อง ทรงจำ โดย นทธี ศศิวิมล เจ้าของรางวัลชนะเลิศการประกวดเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ รางวัลมติชนปีที่๒

………
ในห้องคอนกรีตเล็กคับแคบและเหม็นอับ ผนังกระจกเงาบานใหญ่สะท้อนภาพชายวัยกลางคนที่นั่งอยู่ที่โต๊ะโลหะฝั่งตรงข้าม เขานั่งเอนตัวมาข้างหน้าท่อนแขนวางอยู่บนโต๊ะและเฝ้ามองกระจกเงาบานนั้นด้วยสายตาที่แข็งกระด้างและเย็นเยียบพอๆกับผิวโต๊ะโลหะนั้น

เบื้องหลังกระจกเงา ชายสองคนในชุดสูทสีเข้มที่เฝ้าสังเกตุการณ์ยังอดรู้สึกเสียวสันหลังจากสายตาเขม็งเกร็งนั้นไม่ได้แม้ว่าจะผ่านงานตำรวจมากว่ายี่สิบปีและเจอฆาตกรโรคจิตมานักต่อนัก

“มันมองเหมือนมันเห็นพวกเรา” หมวดสุชาติเอ่ยปากด้วยความรู้สึกไม่แน่ใจ
หมวดมานะหัวเราะตอบ”ไม่เอาน่า… นี่อย่าบอกนะว่าหมอนั่นทำให้นายรู้สึกกลัว”

หมวดวีระพันธ์เดินเข้าห้องสอบสวนพร้อมแฟ้มปึกใหญ่ในมือ การปรากฎตัวของเขาช่วยลดความอึดอัดลงได้เล็กน้อย แต่ก็เป็นเพียงชั่วครู่
อ่านเพิ่มเติม “รหัสสังหาร”

แคนนอนพัฒนา ‘MR System’ สร้างมิติใหม่งานออกแบบ

อ้างอิงข้อมูล
http://www.thairath.co.th/content/tech/386709

น่าสนุกดีครับ น่าจะเป็นต้นแบบก่อนจะพัฒนาไปเป็นสิ่งที่เราเห็นใน iron man

2001: A Space Odyssey ณ โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา

เสาร์ที่ ๒๖ ตุลาคมนี้ ๑๕.๐๐ น. เป็นต้นไป
ณ โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา

“2001: A Space Odyssey” ภาพยนตร์ไซไฟคลาสสิกของ สแตนลีย์ คูบริก พร้อมสนทนากับโดม สุขวงศ์ ผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ ในรายการ “ดูหนังกับโดม” อ่านเพิ่มเติม “2001: A Space Odyssey ณ โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา”

Sci-Fi story & movie

เนื่องจากงาานสังสรรค์และเสวนาในวันที่ 25 สิงหาคม ที่ผ่านมา
ทั้งที่ผมรู้สึกว่า ภาพยนตร์ Sci-Fi ช่วงนี้มีออกมาอย่างต่อเนื่องและประสความสำเร็จเชิงรายได้ค่อนข้างมาก แต่กระแส Sci-Fi ในบ้านเรา กลับดูเหมือนไม่ได้เคลื่อนไหวไปได้มากสักเท่าไร ผมก็เลยกลับมานั่งนึกดูว่า เป็นเพราะอะไร

แล้วผมก็พบว่า สิ่งที่ส่งผลกระทบกับตัวผมเองในแง่ของงาน Sci-Fi จริงๆแล้วเป็นงานวรรณกรรม(หนังสือ) ไม่ใช่งานภาพยนตร์
อย่างเรื่องที่ฝังหัวผมจริงๆคือ The Cold Equations by Tom Godwin และ All the Troubles of the World by Isaac Asimov

แม้ว่าจะมีโอกาสได้ดู The Cold Equations ในตอนหนึ่งของ twilight zone (น่าจะเป็นช่วงปี 1985) แต่กลับไม่อยู่ในความทรงจำเท่ากับงานเขียน
อาจจะเป็นเพราะงานเขียนตอบสนองต่อจินตนาการได้ดีกว่า ตัวละครเศร้าเท่าที่คนอ่านเศร้าและสุขเท่าที่คนอ่านสุข

ก็เลยมาค้นดูว่ามีงาน Sci-Fi ทีกลายเป็น public domain แล้วงานไหนบ้าง แล้วมาช่วยๆกันเผยแพร่(แปล) น่าจะดี

เท่าที่ลอง check ดู น่าจะมีที่นี่ http://www.feedbooks.com/books?category=FBFIC028000&letter=u

ครับ

(ตอน๒)การแก้ไข

the thing that need to do

แล้วสิ่งที่เมธีเป็นกังวลก็เกิดขึ้นจริงๆ
บริเวณเขตที่สิบสอง พื้นที่ที่สาม กลายเป็นแหล่งกักกันโรคติดต่อไปโดยทันที
ไวรัสแพร่กระจายตัวและกลายพันธ์เร็วกว่าที่ทุกฝ่ายคาดการเอาไว้
อ่านเพิ่มเติม “(ตอน๒)การแก้ไข”

(ตอน๑)บ้านซึ่งสะอาดอยู่เป็นนิจฯ

the house that’s always clean

อัลวิน สูดลมหายใจลึกเข้าเต็มปอด หลังจากการวิ่งออกกำลังกายกว่าสิบกิโลเมตรที่สวนสาธารณะใกล้บ้าน
แต่เขากลับพบว่า อากาศในบ้านของเขากลับให้ความรู้ปลอดโปร่งและสะอาดสะอ้านมากกว่าอากาศในบริเวณสวนสาธารณะเสียอีก
ต้องขอบคุณเทคโนโลยีนาโนบอทที่ช่วยทำความสะอาดบ้านของเขาอยู่ตลอดเวลา
อ่านเพิ่มเติม “(ตอน๑)บ้านซึ่งสะอาดอยู่เป็นนิจฯ”

Gravity & Man of steel & Pacific Rim


งานนี้ Sandra Bullock คงต้องเหนื่อยหน่อย เพราะคงต้องแบกหนังทั้งเรื่องเอาไว้


เนื้อหาของเรื่องมากขนาดนี้จะแบกกันอย่างไรหนอ(หนังน่าจะยาวพอสมควร)


พี่เชิงชัยบอกว่าเกลียดหนังสัตว์ประหลาด แต่ผมล่ะอยากดูจริงๆ 😛