เสวนาไซ-ไฟสัญจร กางเต๊นท์นอนดูดาว

ชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม “เสวนาไซ-ไฟสัญจร กางเต๊นท์นอนดูดาว” ณ.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต
(ท้องฟ้าจำลอง คลอง 6 รังสิต)
วันเสาร์ที่ 19- วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม 2558

ยืนยัน 19-20 ธันวาคม 2558 พบกันแน่นอนครับ
เวลา 13:00 ที่บริเวณ canteen ในศูนย์วิทยาศาสตร์รังสิต

ได้รับข่าวจากอาจารย์ชัยวัฒน์ คุประตกุล ว่าจะไปร่วม jam ด้วยครับ

http://thaiscifi.izzisoft.com/wp-content/uploads/2013/10/2.png
google map

กำหนดการ

19/12/2558
13.00 น. พบกันที่ ณ.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต
(ท้องฟ้าจำลอง คลอง 6 รังสิต หลังโรงเรียนนายอำเภอ)
13.00 น. ชมนิทรรศการวิทยาศาสตร์ภายในศูนย์วิทยาศาสตร์
15.00 น. เสวนา-แลกเปลี่ยนประสบการณ์
17.00 น. พักผ่อนส่วนตัว
18.00 น. รับประทานอาหารเย็น
19.00 น. เสวนา-แลกเปลี่ยนประสบการณ์
20.00 น. ดูดาว เล่านิทานดวงดาว
21.00 น. พักผ่อนส่วนตัว

20/12/2558
07.00 น. ทำกิจส่วนตัว
08.00 น. อาหารเช้า
09.00 น. ชมนิทรรศการ-ดูดาวในท้องฟ้าจำลอง
11.00 น. พักผ่อนส่วนตัว
12.00 น. เดินทางกลับ

งานนี้ เน้นพูดคุย สัพเพเหระ ทางชมรมฯอยากเป็นฝ่ายฟังมากกว่าพูด นะครับ

ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ 500บาทต่อคน(ไม่รวมค่าเดินทาง) ชำระเงินเมื่อไปถึงสถานที่จัดกิจกรรม
ผู้ร่วมเดินทางไม่เกิน 15ท่าน
เพื่อที่จะสามารถประเมินค่าใช้จ่ายในงานนี้ จึงขอให้ผู้สนใจส่งรายชื่อเข้ามาโดยด่วน(ก่อนวันที่ 10ธันวาคม) ทาง
webmaster@thaiscifi.izzisoft.com
ขอบคุณครับ

ผู้รับผิดชอบโครงการ
นายเชิงชัย ไพรินทร์
083-6052516

ด่วน!…ยกเลิกการอบรมเชิงปฏิบัติการ การเขียนนิยายวิทยาศาสตร์

ทางชมรมฯมีความจำเป็นที่จะต้องขอยกเลิกการอบรมเชิงปฏิบัติการณ์ การเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 3 และ 4 ตุลาคมนี้ จึงเรียนมาเพื่อทราบครับ

นิยายวิทยาศาสตร์ (Science Fiction) คืออะไร โดย วรากิจ

ตอบอย่างกำปั้นทุบดินก็คือ เรื่องแต่งอันเกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์นั่นเอง นิยายวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. Hard Sci-Fi ได้แก่นิยายวิทยาศาสตร์ที่อ้างอิงหลักการทางวิทยาศาสตร์อย่างเข้มข้น
2. Soft Sci-fi หรือ Sci-fi fantasy เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่เน้นผลกระทบของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อมนุษย์ โลก สิ่งมีชีวิตอื่นๆ และสภาพแวดล้อม
เราต้องเข้าใจว่า นิยายวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ตำราวิทยาศาสตร์ จึงไม่สามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในนิยายวิทยาศาสตร์ไปอ้างอิงทางวิชาการได้ เพราะู้วิทยาศาสตร์ในนิยายวิทยาศาสตร์มักจะผสมผสานกับจินตนาการด้วยเสมอ เราจึง่ต้องไม่กังวลกับข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์มากจนเกินไปจนขัดขวางจินตนาการของเรา เพียงแต่เราต้องมีหลักยึดอย่างถูกต้องในการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ คือ
1. อะไรที่เป็นข้อเท็จจริงที่พิสูจน์แล้วทางวิทยาศาสตร์และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้ว นิยายวิทยาศาสตร์จะบิดเบือนข้อเท็จจริงนั้นไม่ได้ เช่น แสงเดินทางเป็นเส้นตรงด้วยความเร็ว 186,000 ไมล์ต่อวินาที หรือดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลก 93 ล้านไมล์ นี่คือข้อเท็จจริงที่ไม่อาจบิดเบือนได้ ยกเว้นนิยายวิทยาศาสตร์จะแต่งให้มีปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลให้ข้อเท็จจริงนั้นเปลี่ยนไป เช่น มีพลังงานบางอย่างมาเบี่ยงเบนทิศทางของแสงไม่ให้เป็นเส้นตรงหรือมีความเร็วที่เปลี่ยนแปลงไป หรือมีดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลกจนระยะห่างจากดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงไป
2. อะไรที่วิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถพิสูจน์จนได้ข้อสรุปแน่ชัด นิยายวิทยาศาสตร์สามารถใช้จินตนาการได้อย่างเต็มที่ เช่น วิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า หากมียานอวกาศเข้าไปในหลุมดำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น นิยายวิทยาศาสตร์จึงสามารถจินตนาการได้อย่างกว้างขวาง เช่น ยานอวกาศถูกทำลายกลายเป็นผุยผง หรือ หลุมดำกลายเป็นทางลัดไปสู่อีกจักรวาลหนึ่ง หรือหลุมดำเป็นเครื่องเดินทางข้ามกาลเวลา
3. นิยายวิทยาศาสตร์สามารถบิดเบือนข้อเท็จจริงบางอย่างได้ เพื่ออรรถรสในการอ่านหรือการชม และเพื่อให้เนื้อเรื่องดำเนินต่อไปได้ เช่น หากมนุษย์ถูกแมงมุมกัด ก็คงไม่สามารถทำให้กลายเป็นมนุษย์ที่มีพลังอำนาจพิเศษเหมือน Spider man ได้ แต่นิยายวิทยาศาสตร์ก็เจตนาบิดเบือนให้มันเป็นไปได้เพื่อความสนุกสนาน แต่ทั้งนี้ การบิดเบือนข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์จะต้องเป็นไปโดยเจตนา ไม่ใช่โดยความไม่รู้

รวมเรื่องสั้นไซ-ไฟ โดย ชัยคุปต์

หนังสือรวมเรื่องสั้นไซ-ไฟ
สำหรับเยาวชน “อุโมงค์ทะลุมิติ” โดย ชัยคุปต์ สำนักพิมพ์ Bing Factory ราคา 200 บาท วางจำหน่ายแล้วครับ

ประธานชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทยให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอส.

วรากิต  เพชรน้ำเอก ประธานชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ให้สัมภาษณ์รายการ Sci-Fi Sci-Film ร่วมกับคุณมะเดี่ยว ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง เกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์และภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ในโครงการประกวดภาพยนตร์สั้นไซ-ไฟ ซึ่งจัดโดยสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส. จะออกอากาศในเดือนกันยายน วันเวลาที่แน่นอนจะแจ้งให้ทราบต่อไป
S__4866136 S__4866137

ผู้สนับสนุนกิจกรรมของชมรมฯ

ชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทยขอขอบพระคุณ คุณชัยกมล สมานวรวงศ์ ที่ได้บริจาคเงินจำนวน 5,000 บาท ผ่านคุณทีปนนท์ สมานวรวงศ์ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2558 เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของชมรมฯ

ขอเชิญร่วมกิจกรรม ไซ-ไฟ เดย์

ขอเชิญร่วมกิจกรรม ไซ-ไฟ เดย์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี ชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทย

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม เวลา 13.00 – 17.00 น. ณ ห้องประชุมกาลิเลโอ ศูนย์วิทยาศาสตร์จามจุรีสแควร์ ชั้น 4 ชมภาพยนตร์ชุด Star Trek ฉบับ Original ตอน Space Seed และร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหัวข้อ ภาพยนตร์ไซ-ไฟ และนิยายวิทยาศาสตร์ จากอดีตถึงปัจจุบัน และ 3 ภาพยนตร์ไซ-ไฟ และนิยายวิทยาศาสตร์ใดวงใจ โดย รศ.ดร.ชัยวัฒน์  คุประตกุล และวิทยากรของชมรมฯ (ไม่มีค่าใช้จ่าย) สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งได้ที่ วรากิต  เพชรน้ำเอก 094-991-7196

ขอเชิญชมละครไซ-ไฟ

กลุ่มหน้ากากเปลือยร่วมกับจตุรัสวิทยาศาสตร์และชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ ขอเชิญชม การแสดงละครไซ-ไฟ ณ ห้องประชุมกา ลิเลโอ จตุรัสวิทยาศาสตร์ จามจุรีสแควร์ ชั้น 4
วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม เวลา 14.00 น. ละครเรื่อง ดอกไม้สำหรับอาเซนนอล และ เด็กน้อยในโลกกว้าง
วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม เวลา 14.00น. ละครเรื่อง สถาบันสถาปนา

ขอเชิญฟังการเสวนาเรื่องสยองขวัญในนิยายวิทยาศาสตร์

ขอเชิญร่วมงานรับฟัง รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล  เรื่อง สยองขวัญในนิยายวิทยาศาสตร์ จัดโดยสนพ.สาระดี เปิดตัวหนังสือไซ-ไฟ เขียนโดย วิภาพ คันทัพ วันเสาร์ที่ 24 พ.ค. นี้ 13.00 น. โรงเรียนสวนกุหลาบ สะพานพุทธ ครับ

พบดาวเคราะห์เหมือนโลก

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 18 เม.ย.ว่า กล้องโทรทรรศน์ของนาซาได้ค้นพบดาวพระเคราะห์คล้ายโลก ที่อยู่ห่างจากโลกราว 500 ปีแสง โดยมีขนาดเท่าโลกและโคจรรอบดาวฤกษ์

 

 

 

รายงานระบุว่า ดาวพระเคราะห์ดังกล่าว ซึ่งถูกเรียกว่า”เคปเล่อร์ 186f” ถูกค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์โคจรในอวกาศ”เคปเล่อร์ของนาซา ถูกกล่าวขานว่าเป็นเหมือนดาวเคราะห์ลูกพี่ลูกน้องของโลก มีสภาพภูมิอากาศไม่ร้อนและไม่หนาวเย็นเกินไปสำหรับสิ่งมีชีวิต โคจรรอบกลุ่มดาวฤกษ์ Cygnus และมีขนาดใหญ่กว่าโลก 10 เปอร์เซนต์ และเชื่อว่าน่าจะมีของเหลวและน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิต โดยอาจมีทะเลสาบ แม่น้ำ หรือทะเล อยู่ในสภาพเป็นของเหลวที่ไม่แข็งตัวและไม่ร้อนระอุ แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับระบบชั้นบรรยากาศของดาวดวงนี้ แต่เชื่อว่ามันจะเป็นเป้าหมายในอนาคตของกล้องเคปเล่อร์ที่จะส่องสำรวจฐานสารเคมีที่อาจเชื่อมโยงกับสิ่งมีชีวิต

 

ด้านนักวิทยาศาสตร์ประจำศูนย์สมิธโซเนี่ยนด้านฟิสิกส์อวกาศ ประจำมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่า สิ่งนี้ถือเป็นสิ่งก้าวหน้ามากสำหรับการค้นหาดาวที่เหมือนโลก เพราะเป็นดาวพระเคราะห์ที่มีอุณหภูมิและขนาดเท่าโลก

 

รถถังสเตลท์ เหมือนหนังไซ-ไฟเข้าไปทุกที

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 1 มี.ค.ว่า บริษัท”Obrum”และ”BAE”ของโปแลนด์ ได้เปิดเผยต้นแบบรถถัง”สเตลท์”หรือรถถังพันธุ์ล่องหน ที่มีประสิทธิภาพสามารถพลางตัวเอง ให้มีลักษณะเหมือนกับรถยนต์ธรรมดา เพียงแค่สัมผัสปุ่มบังคับภายในเท่านั้น

 

 

 

รายงานระบุว่า ต้นแบบรถถังดังกล่าวมีน้ำหนัก 35 ตัน  สามารถจุคนได้ 3 คน ตัวถังเคลือบด้วยแผ่นตาข่ายความร้อนที่สามารถใช้ลวงสภาพตัวเอง ทำให้ดูเหมือนเป็นรถยนต์ธรรมดา นอกจากนี้ ยังมีศักยภาพสามารถหลบเลี่ยงขีปนาวุธระบบอินฟาเรด และสามารถลวงให้เป้าหมายหรือทหารมองเห็นรถถังนี้เป็นเหมือนคลื่นความร้อนด้วย

 

โดยต้นแบบรถถังนี้ ใช้แผ่นเคลือบความร้อนประเภทหกเหลี่ยม ซึ่งทำให้มีศักยภาพได้เหมือนการล่องหนหรือพรางตัว จากการหักเหของแสง นอกจากนี้ ยังสามารถปรับเซนเซอร์ ให้รถถังมีสภาพคล้ายรถยนต์ ได้ด้วย  รวมทั้งให้มีลักษณะคล้ายสภาพแวดล้อมที่อยู่เบื้องหลังได้ด้วย ทั้งนี้ คาดว่า รถถังนี้จะสามารถออกสู่ตลาดค้าอาวุธนานาชาติได้ในปี 2018

 

สตาร์วอร์ Episode VII เตรียมเปิดกล้อง (ข่าวมติชนออนไลน์)

สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า ภาพยนตร์ไซไฟแฟนตาซีฟอร์มยักษ์ Star Wars  ภาคล่าสุด จะเริ่มเปิดกล้องถ่ายทำที่โรงถ่าย Pinewood Studios กรุงลอนดอนของอังกฤษในเดือนพฤษภาคมนี้เป็นต้นไป  โดยมี เจเจ อับบรามส์   ผู้กำกับที่โด่งดังมาจากซีรีส์ Lost และภาพยนตร์ Star Trek สองภาคหลังสุด มาคุมการถ่ายทำ

 

 

 Star Wars  ที่ใกล้จะถ่ายทำนี้ ใช้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า Star Wars: Episode VII เรื่องราวจะเล่าถึงเหตุการณ์ต่อจาก  Star Wars: Episode VI – Return of the Jedi  ที่ต่อเนื่องมาอีกใน 30 ปี ซึ่งยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดข้อมูลต่างๆ รวมถึงนักแสดงในเรื่องให้ทราบมากนัก   แต่แย้มสั้นๆ ว่า  จะมีนักแสดงหน้าใหม่ แสดงร่วมกับดาราที่ทุกคน “คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี”
ซึ่งสอดคล้องกับ กระแสข่าว ที่ว่า   มาร์ค แฮมิล, แฮร์ริสัน ฟอร์ด และ แคร์รี ฟิเชอร์ จะได้รับมาร่วมงานกันอีกครั้งใน Episode VII ทั้งหมด  เช่นเดียวกับที่ข่าวลือว่า อดัม ไดรเวอร์ หนึ่งในนักแสดงนำของซีรีส์ฮิต Girls  จะมาสวมบทเป็นตัวร้าย เช่นเดียวกับ “ดาร์ธ เวเดอร์” ในภาคล่าสุดด้วย
ส่วน บ็อบ อีเกอร์ ผู้บริหารของ Disney   ผู้สร้าง Star Wars   เผยว่าหุ่นยนต์ R2-D2 ที่เคยรับภารกิจเดินทางไปขอความช่วยเหลือจาก โอบีวัน เคโนบี ในภาคแรกสุด   จะกลับมามีบทในหนังภาค VII ด้วยแน่นอน

ประกวดเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ รางวัลมติชน ปี3

จัดต่อเนื่องไม่ให้ขาดตอน การประกวดเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ รางวัลมติชน ปี3 เริ่มอีกแล้วครับท่าน หลังจากเพิ่งประกาศผลการประกวดของปี 2 ไปแหม็บๆ กติกามีดังนี้ครับ

1. เนื้อหาต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องวิทยาศาสตร์ทุกสาขาอย่างชัดเจน พิมพ์เป็นภาษาไทย ความยาวไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ A4

2. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานใหม่ ไม่ลอกเลียน แปล หรือดัดแปลงมาจากผู้อื่น รวมทั้งไม่เคยเผยแพร่ในสื่อรูปแบบใดมาก่อน

3. ไม่จำกัดคุณสมบัติผู้ส่งงานเข้าประกวด ทั้งอายุ วัย เพศ ระดับการศึกษา และภูมิลำเนา ผู้สั่งเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์เข้าประกวด สามารถส่งได้ไม่เกิน 1 คนต่อ 1 เรื่อง

4. รางวัลเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ ชนะเลิศ 50,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศ 30,000 บาท (2 รางวัล)

เปิดรับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2557 – 30 เมษายน 2557 ส่งได้ที่ กองบรรณาธิการมติชนสุดสัปดาห์ เลขที่ 12 ถ.เทศบาลนฤมาล หมู่บ้านประชานิเวศน์ 1  แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม.10900 หรือทางอีเมล์ : weekly_matichon@hotmail.com

เรื่องที่เข้ารอบจะเริ่มตีพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ธันวาคม 2557 และประกาศผลประมาณต้นปี 2558

นอกจากนั้น ยังมีการประกวดเรื่องสั้นทั่วไปและกวีนิพนธ์ด้วยครับผม อ่านรายละเอียดได้ทางหนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ฉบับวันที่21-27 กุมภาพันธ์ 2557 คอลัมน์ “ขอแสดงความนับถือ” หน้า 4 ครับ

 

ประกาศผลการประกวดเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ รางวัลมติชนปี2

นทธี ศศิวิมล จากเรื่อง ทรงจำ (ชนะเลิศ)

ธนเวศม์ สัญญานุจิต จากเรื่อง The Echoes of Silence เงียบงันกัมปนาท (รองชนะเลิศ)
วรพล จากเรื่อง เด็กพิเศษ (รองชนะเลิศ)
ชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทยขอแสดงความยินดีกับผู้ชนะการประกวดครับ