Sci fi day 2017 : 40ปี สตาร์วอร์ส

ขอแจ้งข่าวให้ทราบว่าทางชมรมจะจัดกิจกรรมวัน Sci fi day ขึ้นใน
วันเสาร์ที่6 พฤษภาคม 2560
เนื่องในโอกาส ฉลองครบรอบ 40ปี ภาพยนตร์สตาร์วอร์ส
ณ ห้องประชุมกาลิเลโอ จตุรัสวิทยาศาสตร์ จามจุรีสแควร์ ชั้น4 สามย่าน
งานจะเริ่มตั้งแต่เวลาเที่ยงครึ่ง ถึงบ่าย4โมง

แต่ถึงแม้จะจัดงานในคราวนี้เพื่อร่วมฉลอง ครบรอบปีที่40ของภาพยนตร์เรื่อง สตาร์วอร์ส แต่เรื่องหลักๆที่พวกเรามาพบปะพูดคุยกัน ก็ยังอยู่ในนประเด็นการส่งเสริมและพัฒนาวงการเขียนการอ่าน นิยายวิทยาศาสตร์ของไทย

ดังนั้นทางชมรมจึงขอเรียนเชิญนักเขียนทั้งนวนิยาย เรื่องสั้นเรื่องยาว นิยายภาพ นักทำอะนิเมชัน ทำภาพยนตร์ ทั้งมืออาชีพมือสมัครเล่น โปรแกรมเมอร์ เกมเมอร์ นำผลงานมาโชว์ มาเล่าสู่กันฟัง

ในงานจะมีของสะสม ของที่ระลึกและหนังสือราคาไม่แพง มาจำหน่าย โดยแฟนคลับกลุ่มต่างๆ ของชมรม

สำหรับท่านผู้ที่มีผลงานหนังสือนิยายวิทยาศาสตร์ซึ่งพิมพ์ออกมาจำหน่ายแล้ว ทางชมรมก็ขอเรียนเชิญ นำผลงานของท่านมาวางจำหน่าย มาประชาสัมพันธ์ในงานนี้ได้

ส่วนนักเขียนรับเชิญ อาจารย์ชัยวัฒน คุประตะกุล (ชัยคุปต์) ก็รับปากจะแวะมาร่วมสนุกด้วยแน่นอน

อ่านเพิ่มเติม “Sci fi day 2017 : 40ปี สตาร์วอร์ส”

ประชุมกรรมการชมรมฯ และวันครบรอบ 11ปี ชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทย

วันที่ 27สิงหาคม ที่ผ่านมา
ณ ศูนย์การค้า สุพรีม คอมเพล็กซ์ สามเสน

ถือเป็นการประชุมกรรมการ ติดตามความคืบหน้าโครงการต่างๆ และ เลี้ยงวันเกิดชมรมฯไปพร้อมกันเลยทีเดียว

Juno : Countdown to Jupiter Orbit Insertion Maneuver

https://www.nasa.gov/mission_pages/juno/main/index.html

ยานอวกาศจูโน (อังกฤษ: Juno) เป็นภารกิจเขตแดนใหม่ของนาซา ไปยังดาวเคราะห์ดาวพฤหัสบดี จูโนถูกปล่อยขึ้นจากสถานีกองทัพอากาศเคปคานาเวอเรล ในวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2011 และจะไปถึงในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 2016(เวลา อเมริกา ) เป็นยานอวกาศที่จะอยู่ในวงโคจรขั้วโลก เพื่อศึกษาองค์ประกอบของดาวพฤหัสบดี ,สนามแรงโน้มถ่วง ,สนามแม่เหล็ก และแม็กนีโตสเฟียร์ขั้วโลก ยังค้นหาประเด็นเกี่ยวกับวิธีการที่มันเกิดขึ้น ,รวมถึงว่าดาวพฤหัสบดีที่มีแกนหิน , ปริมาณน้ำปัจจุบันในชั้นบรรยากาศที่ลึกลงไป และวิธีการที่มวลของมันกระจาย

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%99

เทพเจ้าจากบรรพกาล (เรื่องสั้นไซไฟ-แฟนตาซี)

ผมเขียนเรื่องนี้ไว้สักพักแล้วครับ เอาวางลงที่นี่ให้อ่านกัน อ่านแล้วคิดว่ามันดีหรือมีจุดที่ต้องปรับปรุงตรงไหนผมรบกวนขอคำวิจารณ์ด้วยครับ ไม่ต้องเกรงใจหรืออึดอัดที่จะแนะนำ ผมยินดีรับฟังทุกคำวิจารณ์แนะนำ

ขอบคุณครับ

0gravity

เทพเจ้าจากบรรพกาล

เสียงคำรามอย่างดุร้ายจนทำให้ผู้ที่ได้ยินหนาวยะเยือกไปถึงกระดูก ดังออกมาทางลำโพงตรงผนังห้องกระจกในตัวอาคารวิศวกรรมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของศูนย์พันธุวิศวกรรมศาสตร์แห่งโลก เสียงอันน่าสะพรึงกลัวนี้เป็นเสียงที่มาจากสิ่งมีชีวิต รูปร่างงดงาม ปราศจากอาภรณ์ใดๆ ซึ่งบัดนี้พวกมันนับพันตัวกำลังยืนแออัดยัดเยียด อลหม่านตรงลานกว้างด้านล่าง

เสียงดังกล่าวทำให้ด็อกเตอร์กัลลิเวอร์ รู้สึกขนหัวลุก เขากำลังยืนที่ตรงหน้าหน้ากระจกใสบานใหญ่ จ้องมองสิ่งมีชีวิตที่มีรยางค์สี่ชิ้นงอกจากลำตัว เขาคือคนที่ปลุกชีพพวกมันขึ้นมาด้วยเทคโนโลยีล้ำหน้าของโลก พวกมันถูกหมายมั่นให้เป็นความหวังสุดท้ายของมนุษยชาติ เพื่อการดำรงอยู่และสืบเผ่าพันธุ์

ผู้ที่ยืนอยู่ข้างๆด็อกเตอร์นักวิทยาศาสตร์พันธุวิศวกรรมคือชายร่างใหญ่ผู้มีอำนาจที่สุดในโลก เขาคือผู้ปกครองโลกที่มีหน้าควบคุมดูแลสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงนี้ในยุคสมัยหลังจากสงครามล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์

“ท่านจะให้เวลาผมอีกนานแค่ไหน” ด็อกเตอร์กัลลิเวอร์หันไปถามชายผู้เป็นผู้ปกครองโลก

“จนถึงอาทิตย์หน้า” ชายรูปร่างสูงใหญ่ราวกับยักษ์ตอบเสียงเข้ม ด้วยใบหน้าเรียบเฉย “เราเสียเวลามามากพอแล้ว บางทีสิ่งที่คุณสร้างขึ้นมามันอาจจะเป็นเพียงฝันลมๆแล้งๆที่ผลาญเวลาไปอย่างเปล่าประโยชน์ จริงๆแล้วเราสมควรยอมรับชะตากรรมของเราซะด้วยซ้ำ”

ด็อกเตอร์กัลลิเวอร์ไม่ต่อปากต่อคำ ดวงตายังคงมองทะลุกระจกใสไปยังภาพสิ่งมีชีวิตที่อยู่เบื้องล่าง เขาเงียบไปชั่วอึดใจก่อนจะพูดออกมา “ผมอยากจะลองดูอีกสักหน่อย ถ้าเราล้มเหลวจริงๆ ผมจะทำลายพวกมันทิ้งทั้งหมด”

นักวิทยาศาสตร์ผู้เก่งกาจไม่เคยคิดยอมแพ้ต่อชะตากรรม เขาเชื่อว่าเรื่องของเทพเจ้าที่มีเรือนร่างงดงามไม่ใช่เรื่องตำนานเล่าขานเฉยๆ แต่มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ในอดีตกาลบนโลกเรามีเทพเจ้าเดินดินอยู่จริงๆ

            ผู้ปกครองแห่งโลกพยักหน้าตอบรับสั้นๆ แล้วเดินออกไปจากห้อง

————————-

อ่านเพิ่มเติม “เทพเจ้าจากบรรพกาล (เรื่องสั้นไซไฟ-แฟนตาซี)”

ชวนคุยเขียนเรื่องไซไฟ: สร้างเรื่องจากไอเดียเปลี่ยนเป็นพล็อต มาแชร์กัน

สวัสดีครับ ไม่ได้เข้ามาคุยนานมาก วันนี้อากาศร้อน แสงแดดสว่างจ้ามากๆ มาชวนคุยเรื่องกลวิธีเขียนเรื่องไซไฟครับ ^^

การสร้างเรื่องจากไอเดียแล้วเปลี่ยนให้เป็น plot เพื่อเขียนเป็นเรื่องสั้นไซไฟ เพื่อนๆที่เขียนเรื่องสั้น นิยายไซไฟ เริ่มต้นอย่างไรกันบ้างครับ?

ได้ไอเดียก่อนแล้วหาตัวละคร จากนั้นก็โยนปัญหาให้ตัวละครซึ่งมีความสัมพันธ์กับไอเดีย แล้วก็เล่าๆ

เพื่อนๆ มีขั้นตอนที่ใช้อย่างอย่าไร มาแชร์กันครับ

ยกตัวอย่าง เช่น ไอเดีย อ่านข่าวนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามี multiverse อยู่จริงๆ แต่เราไม่สามารถข้ามไปที่นั่นได้เพราะเวลาในจักรวาลคู่ขนานกับเราเดินช้ากว่า 50 เท่าของเวลาในโลกเรา

จับตาการเปลี่ยนแปลง สนามแม่เหล็กโลก ขนลุก “อาจมีสลับขั้ว”

จากภาพ ฝูงดาวเทียมสวอร์มขององค์การอีซา ประกอบด้วยดาวเทียมสามดวง คอยตรวจวัดความเข้มและความเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กโลกด้วยความละเอียดแม่นยำสูง
(จาก ESA/ATG Medialab)

โลกเรามีสนามแม่เหล็กห่อหุ้มทั่วทั้งดวง สนามแม่เหล็กโลกมีบทบาทสำคัญในการเป็นเกราะปกป้องบรรยากาศของโลกจากลมสุริยะ
แต่สนามแม่เหล็กของโลกมิใช่สิ่งที่คงที่ถาวร บางครั้งอาจมีการสลับขั้วขึ้น จากขั้วเหนือเป็นขั้วใต้ จากขั้วใต้เป็นขั้วเหนือ นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานการสลับขั้วแม่เหล็กโลกในอดีตมาแล้วหลายครั้ง
อ่านเพิ่มเติม “จับตาการเปลี่ยนแปลง สนามแม่เหล็กโลก ขนลุก “อาจมีสลับขั้ว””

นิทรรศการ 3,000 ล้านปีของสิ่งมีชีวิต

ขอเชิญชวนร่วมนิทรรศการ 3,000 ล้านปีของสิ่งมีชีวิต
ณ ลานสานฝัน อุทยานการเรียนรู้ TK park
ระหว่างวันที่ 4 – 12 มิถุนายน 2559
11:00 – 17:00

นิทรรศการ 3,000 ล้านปีของสิ่งมีชีวิต

ค้นหาคำตอบถึงความมหัศจรรย์ของสิ่งมีชีวิตในโลกใบใหญ่ ปัจจัยของการกำเนิดโลก และสิ่งมีชีวิต วิวัรฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่น่าทึ่ง พร้อมพบกับสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ที่จะจุดประกายการเรียนรู้ให้กับทุกเพศทุกวัย
• ชมสิ่งมีชีวิตหลากสายพันธุ์ ที่มีพร้อมลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่หาดูได้ยาก
• สนุกไปกับเรื่องราวที่มาของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ที่มีวิวัฒนาการมายาวนานกว่าสามพันล้านปีก่อน
• พบความเชื่อมโยงของสิ่งมีชีวิตกับระบบนิเวศ ที่เชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก
นิทรรศการ3,000 ล้านปีของสิ่งมีชีวิต เน้นเรื่องราวของการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ตื่นตาไปกับตัวอย่างสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด จากนั้นจะมีการให้ข้อมูลเรื่องราวของความแตกต่างของสิ่งมีชีวิต เชื่อมโยงสู่เนื้อหาของการวิวัฒนาการ และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานในวันที่จัดงานจะมีการนำสิ่งมีชีวิตมาจัดแสดงแตกต่างกันตามแต่ละอาทิตย์โดยวันที่ 4-5 มิถุนายน 2559 จะเป็นกลุ่มสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกและสัตว์เลื้อยคลาน

ข้อมูล จาก มติชนออนไลน์ วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน 2559
อ้างอิง http://www.matichon.co.th/news/157832

“ปิดเทอมนี้ สนุกคิด สนุกเรียนรู้ สู่อนาคต” ยกทัพ 24 กิจกรรมโดนใจเยาวชนทั่วประเทศ

เห็นข่าวน่าสนใจดี เลยเอามาฝากครับ

ปิดเทอมนี้ สนุกคิด สนุกเรียนรู้ สู่อนาคต

gravitational wave

ลงข่าวย้อนหลัง ครับ

ฮือฮา! นักวิทย์พบ ‘คลื่นความโน้มถ่วง’ มีจริง พิสูจน์ทฤษฎี 100 ปี ของไอน์สไตน์

เปิดใจคนไทย 1 เดียวใน LIGO หอสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วง (ชมคลิป)

เจาะคำทำนาย 100 ปี ไอน์สไตน์ คลื่นความโน้มถ่วงคือ?

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดรับสมัครร่วมเวิร์คช็อปฟรี!กับนักเขียนรางวัลซีไรต์

เห็นว่า น่าสนใจดีครับ
เลยเอามาฝาก

ดั๊บเบิ้ล เอ กระดาษจากคันนา เชิญชวนน้อง ๆ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ร่วมกิจกรรม A to a เรียนรู้และเวิร์คช็อป “อาชีพนักเขียน” กับคุณวุฒิชาติ ชุ่มสนิท นามปากกา บินหลา สันกาลาคีรี นักเขียนรางวัลซีไรต์ เจ้าของผลงาน “เจ้าหงิญ” ในวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2558 ที่อาคารดั๊บเบิ้ล เอ บุ๊ค ทาวเวอร์ ถ.สาทร 12 เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยเขียนเรื่องสั้น ความยาวไม่เกิน 1 หน้า A4 ไม่จำกัดหัวข้อ เพื่อคัดเลือกผู้รับสิทธิ์อบรมฟรีจำนวน 30 คน หมดเขตส่งผลงานเรื่องสั้นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Facebook Double A Club หนึ่งในกิจกรรมดี ๆ จากโครงการ Double A Better Tomorrow ปลูกฝัน ปลูกปัญญา เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกหลานชาวนาและเยาวชน ก้าวสู่อาชีพในฝัน

http://www.doubleapaper.com/th/news-details/831-a-to-a-free-workshop-with-sea-write-writers

ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์

อพวช. จับมือ 3 หน่วยงาน เฟ้นหานักเขียนรุ่นใหม่หัวใจวิทย์ ชวนประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ เปิดตัวในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ 2558

17 พฤศจิกายน 2558 – อิมแพ็ค เมืองทองธานี / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย จัดโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ เปิดสมอง กระตุ้นจินตนาการสร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชน และสังคมไทยหันมาสนใจเรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านงานเขียน ชวนนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ส่งเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์เข้าประกวด หมดเขตรับสมัครผลงานภายในวันที่ 1 เมษายน 2559 และประกาศผลการตัดสิน วันที่ 1 กรกฏาคม 2559

อ่านเพิ่มเติม “ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์”

เสวนาไซ-ไฟสัญจร กางเต๊นท์นอนดูดาว

ชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม “เสวนาไซ-ไฟสัญจร กางเต๊นท์นอนดูดาว” ณ.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต
(ท้องฟ้าจำลอง คลอง 6 รังสิต)
วันเสาร์ที่ 19- วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม 2558

ยืนยัน 19-20 ธันวาคม 2558 พบกันแน่นอนครับ
เวลา 13:00 ที่บริเวณ canteen ในศูนย์วิทยาศาสตร์รังสิต

ได้รับข่าวจากอาจารย์ชัยวัฒน์ คุประตกุล ว่าจะไปร่วม jam ด้วยครับ

http://thaiscifi.izzisoft.com/wp-content/uploads/2013/10/2.png
google map

กำหนดการ

19/12/2558
13.00 น. พบกันที่ ณ.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต
(ท้องฟ้าจำลอง คลอง 6 รังสิต หลังโรงเรียนนายอำเภอ)
13.00 น. ชมนิทรรศการวิทยาศาสตร์ภายในศูนย์วิทยาศาสตร์
15.00 น. เสวนา-แลกเปลี่ยนประสบการณ์
17.00 น. พักผ่อนส่วนตัว
18.00 น. รับประทานอาหารเย็น
19.00 น. เสวนา-แลกเปลี่ยนประสบการณ์
20.00 น. ดูดาว เล่านิทานดวงดาว
21.00 น. พักผ่อนส่วนตัว

20/12/2558
07.00 น. ทำกิจส่วนตัว
08.00 น. อาหารเช้า
09.00 น. ชมนิทรรศการ-ดูดาวในท้องฟ้าจำลอง
11.00 น. พักผ่อนส่วนตัว
12.00 น. เดินทางกลับ

งานนี้ เน้นพูดคุย สัพเพเหระ ทางชมรมฯอยากเป็นฝ่ายฟังมากกว่าพูด นะครับ

ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ 500บาทต่อคน(ไม่รวมค่าเดินทาง) ชำระเงินเมื่อไปถึงสถานที่จัดกิจกรรม
ผู้ร่วมเดินทางไม่เกิน 15ท่าน
เพื่อที่จะสามารถประเมินค่าใช้จ่ายในงานนี้ จึงขอให้ผู้สนใจส่งรายชื่อเข้ามาโดยด่วน(ก่อนวันที่ 10ธันวาคม) ทาง
webmaster@thaiscifi.izzisoft.com
ขอบคุณครับ

ผู้รับผิดชอบโครงการ
นายเชิงชัย ไพรินทร์
083-6052516

ด่วน!…ยกเลิกการอบรมเชิงปฏิบัติการ การเขียนนิยายวิทยาศาสตร์

ทางชมรมฯมีความจำเป็นที่จะต้องขอยกเลิกการอบรมเชิงปฏิบัติการณ์ การเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 3 และ 4 ตุลาคมนี้ จึงเรียนมาเพื่อทราบครับ

นิยายวิทยาศาสตร์ (Science Fiction) คืออะไร โดย วรากิจ

ตอบอย่างกำปั้นทุบดินก็คือ เรื่องแต่งอันเกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์นั่นเอง นิยายวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. Hard Sci-Fi ได้แก่นิยายวิทยาศาสตร์ที่อ้างอิงหลักการทางวิทยาศาสตร์อย่างเข้มข้น
2. Soft Sci-fi หรือ Sci-fi fantasy เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่เน้นผลกระทบของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อมนุษย์ โลก สิ่งมีชีวิตอื่นๆ และสภาพแวดล้อม
เราต้องเข้าใจว่า นิยายวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ตำราวิทยาศาสตร์ จึงไม่สามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในนิยายวิทยาศาสตร์ไปอ้างอิงทางวิชาการได้ เพราะู้วิทยาศาสตร์ในนิยายวิทยาศาสตร์มักจะผสมผสานกับจินตนาการด้วยเสมอ เราจึง่ต้องไม่กังวลกับข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์มากจนเกินไปจนขัดขวางจินตนาการของเรา เพียงแต่เราต้องมีหลักยึดอย่างถูกต้องในการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ คือ
1. อะไรที่เป็นข้อเท็จจริงที่พิสูจน์แล้วทางวิทยาศาสตร์และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้ว นิยายวิทยาศาสตร์จะบิดเบือนข้อเท็จจริงนั้นไม่ได้ เช่น แสงเดินทางเป็นเส้นตรงด้วยความเร็ว 186,000 ไมล์ต่อวินาที หรือดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลก 93 ล้านไมล์ นี่คือข้อเท็จจริงที่ไม่อาจบิดเบือนได้ ยกเว้นนิยายวิทยาศาสตร์จะแต่งให้มีปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลให้ข้อเท็จจริงนั้นเปลี่ยนไป เช่น มีพลังงานบางอย่างมาเบี่ยงเบนทิศทางของแสงไม่ให้เป็นเส้นตรงหรือมีความเร็วที่เปลี่ยนแปลงไป หรือมีดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลกจนระยะห่างจากดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงไป
2. อะไรที่วิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถพิสูจน์จนได้ข้อสรุปแน่ชัด นิยายวิทยาศาสตร์สามารถใช้จินตนาการได้อย่างเต็มที่ เช่น วิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า หากมียานอวกาศเข้าไปในหลุมดำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น นิยายวิทยาศาสตร์จึงสามารถจินตนาการได้อย่างกว้างขวาง เช่น ยานอวกาศถูกทำลายกลายเป็นผุยผง หรือ หลุมดำกลายเป็นทางลัดไปสู่อีกจักรวาลหนึ่ง หรือหลุมดำเป็นเครื่องเดินทางข้ามกาลเวลา
3. นิยายวิทยาศาสตร์สามารถบิดเบือนข้อเท็จจริงบางอย่างได้ เพื่ออรรถรสในการอ่านหรือการชม และเพื่อให้เนื้อเรื่องดำเนินต่อไปได้ เช่น หากมนุษย์ถูกแมงมุมกัด ก็คงไม่สามารถทำให้กลายเป็นมนุษย์ที่มีพลังอำนาจพิเศษเหมือน Spider man ได้ แต่นิยายวิทยาศาสตร์ก็เจตนาบิดเบือนให้มันเป็นไปได้เพื่อความสนุกสนาน แต่ทั้งนี้ การบิดเบือนข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์จะต้องเป็นไปโดยเจตนา ไม่ใช่โดยความไม่รู้

รวมเรื่องสั้นไซ-ไฟ โดย ชัยคุปต์

หนังสือรวมเรื่องสั้นไซ-ไฟ
สำหรับเยาวชน “อุโมงค์ทะลุมิติ” โดย ชัยคุปต์ สำนักพิมพ์ Bing Factory ราคา 200 บาท วางจำหน่ายแล้วครับ