บทความวัตถุที่มีความผิดปกติ(SCPs Object)ที่เขียนโดย Bonneneige [อาจมีการอัปเดตเรื่อยๆ]

สถาบัน SCP
ที่มา: http://scp-th.wikidot.com/

ข้อมูลจากสถาบัน SCP ในเรื่องนี้ได้เผยแพร่อย่างถูกต้องภายใต้ Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License (แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน)

———————————————————————————————–

นักเขียนมาลงตามสัญญาที่บอกว่าจะลงหน้าที่รวมลิงก์บทความวัตถุ SCPs เฉพาะที่นักเขียนแต่งมาในสายไซไฟแล้วนะคะ

บทความโดยรวมของนักเขียนจะจัดได้ว่าเป็น soft-scifi และแสดงความเป็นไซไฟได้ในระดับปานกลาง-น้อย สำหรับแบบที่ในระดับน้อยก็จะเป็นอันที่ไม่ได้เขียนถึงผลการทดลองด้วยโดยเฉพาะ แม้ว่าจริง ๆ แล้วในเนื้อเรื่องปกตินั้นนักวิทย์ฯ กับนักวิจัยกำลังทำการทดลองเพื่อหาคำอธิบายทางด้านวิทย์จากความผิดปกติอยู่ค่ะ

จุดประสงค์ที่นักเขียนอยากลงผลงานเขียนในนี้ด้วย(ไม่นับเรื่องแยกประเภท hard หรือ soft แล้ว)ก็คือ นักเขียนอยากทราบว่ามีตรงไหนที่นักเขียนดึงศัพท์วิทย์ฯ มาใช้ในแบบที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ ถ้ามีก็ขอรบกวนอธิบายพร้อมยกตัวอย่างที่ถูกต้องด้วยนะคะ

นอกเหนือจากนี้ เช่น ลักษณะการเขียนบทความของนักเขียน ก็สามารถวิจารณ์ได้เช่นกันค่ะ
อนึ่ง หากสงสัยว่าทำไมเขียนเหมือนเอกสารราชการ นั่นก็เพราะว่ารูปแบบของบทความจัดมาให้ดูคล้าย ๆ เอกสารราชการอยู่แล้ว และก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของ SCP ด้วยค่ะ หุหุหุ

อ่านเพิ่มเติม “บทความวัตถุที่มีความผิดปกติ(SCPs Object)ที่เขียนโดย Bonneneige [อาจมีการอัปเดตเรื่อยๆ]”

วิวัฒนาการหุ่นยนต์

ผมเขียน ร็อบบี้ เรื่องสั้นเกี่ยวกับหุ่นยนต์เรื่องแรกขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม ปีค.ศ.1939 ตอนนั้นผมมีอายุเพียงแค่ 19 ปีเท่านั้น

เพื่อที่ทำให้มันแตกต่างจากเรื่องเกี่ยวกับหุ่นยนต์เรื่องอื่นๆ ซึ่งถูกเขียนขึ้นก่อนหน้านี้  ผมตั้งใจสร้างหุ่นยนต์ในแบบของผมเอง   พวกเขาจะไม่มีลักษณะที่จะทำให้มนุษย์โกรธแค้น  พวกเขาไม่ใช่ตัวอย่างของความพยายามของมนุษย์ที่จะล่วงล้ำเข้าไปในงานของพระเจ้า  พวกเขาจะไม่กลายเป็นหอคอยแห่งบาเบลแห่งใหม่ที่ต้องถูกสำเร็จโทษในภายหลัง

ไม่แม้แต่จะมองให้หุ่นยนต์เป็นเพียงชนชั้นสอง   พวกเขาจะไม่ใช่สิ่งที่น่าสงสารซึ่งถูกสร้างขึ้นมาแล้วก็ถูกประหัตประหารอย่างไร้ซึ่งความยุติธรรม  เฉกเช่นเรื่องของอีสปที่เขียนถึงพวกยิว คนดำหรือชนชั้นอื่นๆ ในสังคม

 —ไอแซค อาซิมอฟ—
บางตอน จาก “My Robots”

อ่านเพิ่มเติม “วิวัฒนาการหุ่นยนต์”

แนวคิดในการสร้างเรื่อง โดยคุณเชิงชัย ไพรินทร์

การสร้างเรื่อง

ขอขอบคุณ คุณเชิงชัย ไพรินทร์ มา ณ ที่นี้ด้วย ครับ

การสร้างแรงบันดาลใจ โดย คุณเชิงชัย ไพรินทร์

การสร้างแรงบันดาลใจ

ขอขอบคุณ คุณเชิงชัย ไพรินทร์ มา ณ ที่นี้ด้วย ครับ

เรื่องสั้นไซไฟ…คิดยังไงกับการมาก่อนของ”ธีม”และ”plot เรื่อง”

วันนี้เกิดคำถามขึ้นมาครับ ว่า อะไรมาก่อนระหว่าง”ธีม”และ”plot เรื่อง”?

ไม่แน่ใจว่า ท่านที่เขียนนิยาย เรื่องสั้นไซไฟ คิดธีมก่อนแล้วค่อยคิด plot ตัวละคร ฉาก หรือ คิด plot ออกมาก่อนแล้วค่อยจับธีมเข้าใส่

ขอ scope down ในแง่เรื่องสั้นไซไฟนะครับ สำหรับผม ไม่แน่เสมอไปครับ บางทีธีมจะมาก่อน แล้ว plot ตาม แต่ส่วนใหญ่ plot จะนำโด่ง แต่บางทีพอ plot นำก็หาธีมไม่เจอ ต้องด้นจนเอาธีมยัดลงไปใน plot วุ่นวายพอดู

คิดเห็นเช่นไร มากล่าว แชร์กันครับ

การพัฒนาเรื่อง

โดยคุณเชิงชัย ไพรินทร์
พี่ชาลี ทำมาให้เป็น PDF file นะครับ
โดยอนุญาตให้ เผยแพร่โดยไม่มีวัตถุประสงค์ทางการค้า และกรุณาอ้างอิงผู้เขียนและแหล่งที่มา ด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ

การพัฒนาเรื่อง

— webmaster@thai sci-fi —

วิทยาศาสตร์ในนิยายวิทยาศาสตร์

โดยคุณเชิงชัย ไพรินทร์
พี่ชาลี ทำมาให้เป็น PDF file นะครับ
โดยอนุญาตให้ เผยแพร่โดยไม่มีวัตถุประสงค์ทางการค้า และกรุณาอ้างอิงผู้เขียนและแหล่งที่มา ด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ

วิทยาศาสตร์ในนิยายวิทยาศาสตร์

— webmaster@thai sci-fi —

การสร้าง DL 44 เฮฟวี่บลาสเตอร์

เคยแนะนำเรื่องการ ทำปืน DL44 หรือ เลเซอร์บลาสเตอร์ของฮัน โซโลไปครั้งหนึ่งแล้วในบล็อกของผม
ปรากฏว่าน้ำท่วมบ้านพิพิธภัณฑ์ ปืนที่ทำไว้แสดงก็พลอยเสียหายไปด้วย

ทิ้งไว้ด้วยความขี้เกียจอยู่เกือบครบปีจนน้ำจะท่วมรอบสอง พอดีรับงานของชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทยไว้ว่า ปลายปีนี้จะจัดงานฉายภาพยนตร์ สตาร์เทร็ค (หนังทีวีชุดเก่า ยุค 2510)

และมีการเสวนากัน จึงคิดว่าต้องมีของอะไรไปแสดงในงานบ้าง เลยจับเอาปืนมาซ่อมให้ดูดีกว่าเก่า พร้อมกับมีเซอร์ไพร้ซใหม่ ตั้งใจว่าจะทำให้มันยิงแสงสว่างได้ด้วย

วิธีการสร้างอย่างย่อๆมีดังนี้
อ่านเพิ่มเติม “การสร้าง DL 44 เฮฟวี่บลาสเตอร์”

Star Trek, Fiction to Reality

Star Trek (http://www.startrek.com/)ผ่านมากว่าหลายทศวรรษนับตั้งแต่ออกอากาศทางทีวีครั้งแรก(1966) พร้อมทั้งภาพยนต์ นิยาย และเหตุการณ์สืบเนื่องมากมาย
wiki – en
wiki – ไทย

มีแฟนคลับและกลุ่มคนที่หลงไหลเรื่องราวของเหล่านักเดินทางเหล่านี้อย่างหนาแน่น (Trekkie)
ไม่เพียงเท่านั้น Star Trek ยังสร้างแรงบันดาลใจและความท้าทายต่อความจริงทางวิทยาศาสตร์ในหลายๆเรื่องเช่นกัน

Reality check for ‘Trek’ tech

Star Trek-like tricorder set for test in space

ทำให้ผมเกิดคำถามว่า Star Trek มีการรับรู้ในประเทศไทยแค่ไหน? และมีกลุ่มแฟนๆในบ้านเรา หนาแน่น เข้มข้น มากน้อยเพียงไร?

gallery ทั้งของจริง ของล้อเลียน และ fan pic.

Galaxy Quest
หนังตลกล้อเลียนที่ดูสนุกไม่แพ้กัน

โดยกลุ่ม เทร็คกี้-ไทย (trekkie-thai)

เรื่องของ ภาษาสละสลวย ในโลกของงานเขียนนิยายและเรื่องสั้นไซไฟ

ในโลกวรรณกรรม ถ้าไม่จำกัดแนวเรื่องที่เขียน การใช้ภาษาในการเขียนนิยายหรือเรื่องสั้นมักถูกนำมาพิจารณาบ่อยว่า ผู้เขียนใช้ภาษาดี อ่านง่ายแค่ไหน

ภาษาอาจจะเป็นแค่สื่อที่ใช้สำหรับนำเสนอสารออกไปให้คนอ่าน?

สำหรับนิยายวิทยาศาสตร์จำเป็นไหมที่ภาษาต้องสละสลวยเพื่อจะได้อ่านง่าย หรือเพียงแค่เอาให้อ่านรู้เรื่องก็พอแต่ไปเน้นเรื่องไอเดีย แนวคิดทางวิทยาศาสตร์แทนครับ เพื่อนๆคิดเห็นยังไงบ้าง?

(ผมเคยอ่านงานไซไฟในเวปdek-d.com คนเขียนเป็นเด็กที่มีวัยในช่วงประมาณม.ปลาย – มหาวิทยาลัย) ภาษาที่เขาใช้จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน แต่ไอเดียกับเนื้อเรื่องนี่ต้องยกนิ้วโป้งให้สิบนิ้วเลยครับ จากนั้นไม่นานเรื่องที่ผมอ้างถึงนี้ก็ได้พิมพ์เป็นเล่มออกมา

การหาเรื่องหรือไอเดียมาเขียนโดยถามคำถาม what…if หรืออะไรจะเกิดขึ้นถ้า

การหาเรื่องมาเขียนโดยถามคำถาม what…if หรืออะไรจะเกิดขึ้นถ้า

มีนักอยากเขียนท่านหนึ่งถามผมทางหน้าเวปแห่งหนึ่งว่า ถ้าถาม what if เสร็จแล้ว จากนั้นจะพัฒนา plot หรือ story line สำหรับเขียนเรื่องสั้นไซไฟสักเรื่องยังไงต่อ คำถามน่าคิดต่อ

เช่น เราตั้งคำถามว่า “อะไรจะเกิดขึ้นถ้า เชื้อแบคทีเรียทีถูกมนุษย์ดาวอังคารกักเก็บไว้ในโดมขนาดใหญ่แห่งหนึ่งถูกปล่อยให้ออกมาโดยมนุษย์โลกกลุ่มแรกที่ไปเหยียบดาวอังคาร?”

ถาม what if ดูเหมือนไม่ยากนักแต่ถ้าจะเอาไอ้ที่ถามพัฒนาเป็นโครงเรื่องหรือสตอรี่เพื่อเขียนออกมา (เรื่องสั้น) เราจะคิดต่อยังไง? จะจบลงตรงไหน?

วรรณกรรม ศักยภาพแห่งสุดยอดงานศิลปะ

ไม่เกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์โดยตรงหรอกนะครับ
แต่เกี่ยวกันในแง่ความเป็นนิยาย(วรรณกรรม) และเป็นประเด็นที่นึกขึ้นมาได้แล้วอยากเขียนเก็บไว้เท่านั้น
ครับ
อ่านเพิ่มเติม “วรรณกรรม ศักยภาพแห่งสุดยอดงานศิลปะ”

นิยายเก่า-เล่าใหม่ : Rendezvous with Rama (ดุจดั่งอวตาร)

โดย เชิงชัย ไพรินทร์

Rendezvous with Rama ชื่อไทย ดุจดั่งอวตาร ตั้งโดย “บรรยงก์”
แปลและทำสำนวนโดย คุณ ธนพงษ์ สิงห์ประเสริฐ

(Rendezvous -แรนเดอวูส์-การนัดพบ สถานที่นัดพบ มักใช้กับหนุ่มสาวซึ่งไม่ได้มาพบกันเพื่อถกปัญหาโซมาเลียหรือเจรจาค่าเงินบาท ครั้นถึงยุคอวกาศก็รวมไปถึงจุดพบกันของอวกาศยานด้วย)

ประเภท Hard sci-fi
แนว ยานอวกาศ-เทคโนโลยี-ชีวิตต่างดาว

นิยายเก่า-เล่าใหม่ฉบับนี้ขอนำ Rendezvous with Rama ของคุณปู่ อาเธอร์ ซี คลาร์ก มาบรรณาการแด่ท่านผู้อ่าน เนื่องเรื่องนี้ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ 2001 Space Odyssey (ชื่อไทย 2001 พิชิตอวกาศ-ซึ่งอ่านแล้วน่าจะเป็นมนุษย์ถูกพิชิตในอวกาศมากกว่า) และที่น่าสนใจคือเรื่องนี้โกยรางวัลใส่กระบุงไปถึง 6 รางวัล แต่ยังไม่มีใครทำเป็นหนังให้ดูเสียอย่างนั้น
อ่านเพิ่มเติม “นิยายเก่า-เล่าใหม่ : Rendezvous with Rama (ดุจดั่งอวตาร)”

จิตนาการกับความคิดสร้างสรรค์

คุณHooNo2000 หยอดประเด็นไว้
ผมเลยขอเปิดเป็น post ใหม่เลย เพราะน่าจะมีประเด็นถกเถียงกันได้เยอะ

ผมมองว่า คนที่จะมี จิตนาการกับความคิดสร้างสรรค์ ได้ ต้องเป็นคนที่สามารถ “ตั้งคำถาม” ได้
ยิ่งชอบถาม ยิ่งสร้างจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์

จะเห็นว่า
วลีที่นิยมใช้สร้างนิยายวิทยาศาสตร์ ก็เป็นคำถาม นั่นคือ what if… นั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม “จิตนาการกับความคิดสร้างสรรค์”