ประกาศผลการตัดสิน การประกวดเรื่องสั้นในหัวข้อ “หุ่นยนต์”

รางวัลชนะเลิศ
KT’s diary โดย ขอบโลก

รางวัลชมเชย
ผิดเฉือนถูก โดย SnowLynx
A boy in the Lost Town โดย วรพร อุงอำรุง

ความคิดเห็นของคุณวรากิจ ต่อ KT’s diary
อ่านเพิ่มเติม “ประกาศผลการตัดสิน การประกวดเรื่องสั้นในหัวข้อ “หุ่นยนต์””

TOTAL RECALL – Official Trailer


หนัง re-make หนัง Sci-Fi ในชื่อเดียวกัน
Trailer ออกมาน่าดูกว่าที่คาดเอาไว้

ภาพยนตร์ ดัดแปลงจากเรื่องสั้น “We Can Remember It for You Wholesale”(1966) ของ “Philip K. Dick”

Jack at the Horizon บางส่วนจากคำนำ

ได้ทราบข่าวจากคุณ เชษฐา ว่า แจ๊ค ณ ขอบฟ้า กำลังจะได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ
และคุณเชษฐาได้ส่งหน้าคำนำของผู้แปลมาให้
ผมจึงตัดตอนบางส่วนมาให้อ่านกัน

มีความคืบหน้าประการใด จะรายงานให้ทราบในลำดับต่อไป ครับผม

Foreword by: Lynne Mallinson, MA, writer, editor, translator
Author: Chestha Suwannasa

Welcome to the world of Jack, a boy from Thailand who dreams great dreams and has amazing adventures. This is a children’s book from an exotic Asian country that conveys a timely message for young people all over the world. It was written by best-selling author Chestha Suwannasa and has received the official commendation of the princess of Thailand.
อ่านเพิ่มเติม “Jack at the Horizon บางส่วนจากคำนำ”

สร้างภาพ ฉาก แอ็คชั่นของตัวละครในความคิด ละเอียดแค่ไหนก่อนเขียนออกมา?

วันนี้ตั้งประเด็นคุยเรื่องเบาๆครับ

เคยสังเกตมั้ยครับว่า เวลาตัวเองเขียนเรื่องสั้นไซไฟหรือนิยายไซไฟ ได้ใช้จินตนาการสร้างภาพรายละเอียดในความคิดให้เห็นภาพทุกรายละเอียดได้มากแค่ไหนก่อนจะเขียนบรรยายสิ่งที่อยู่ในความคิดออกมา

การเขียนลงรายละเอียดเกินไปอาจจะทำลายจินตนาการของคนอ่าน? คิดว่าจริงมั้ยครับ

ขอบคุณสำหรับทุกความเห็นครับ

นิตยสารไซแอนซ์ อิลลัสเตรเต็ด ฉบับเดือน พฤษภาคม 2555


เนื้อหาที่น่าสนใจและอัดแน่นในฉบับเดือนพฤษภาคม 2555

เทคโนโลยี : นวัตกรรมเทคโนโลยีสุดล้้า “ไมโครชิป” ที่มีอยู่ทุกที่ ทั้งในโทรศัพท์มอถือ เครื่องช่วยฟัง
บัตรเครดิต คอมพิวเตอร์ ระบบน้้าประปา หรือแม้แต่การจราจรทางอากาศ คุณรู้หรือไม่…ภายในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขนาดจิ๋วนี้มีชิ้นส่วนอะไรประกอบอยู่บ้าง? แล้วคุณจะใช้ชีวิตอย่างไรหากไม่มีไมโครชิป?

การแพทย์ : รู้หรือไม่!! โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับ1ของประชากรซีกโลกตะวันตก
ตามติด 6 วิธีการรักษาของการแพทย์สมัยใหม่ที่จะท้าให้คุณไม่ต้องเสี่ยงกับโรคร้ายอีกต่อไป

ธรรมชาติ : ตรวจสุขภาพ ราชาแห่งขั้วโลกเหนือ
ประชากรหมีขั้วโลกใช้ชีวิตอย่างไรในยุคแห่งภาวะโลกร้อน?
ข้อมูลจากการตรวจสุขภาพจะสามารถช่วยเพิ่มประชากรหมีขั้วโลกได้จริงหรือ?

วัฒนธรรม : มหัศจรรย์ของฟอสซิล “รอยเท้าแห่งโบราณกาล”
ถอดรหัสปริศนาวิถีชีวิตของสัตว์ในโบราณกาลที่คุณไม่เคยรู้ผ่านฟอสซิลที่เป็นร่องรอยสัตว์สี่เท้าขึ้นบกเป็นครั้งแรกได้อย่างไร?
วานรหรือลิงไม่มีหางเดินสองขามาตั้งแต่เมื่อไร?
เทอโรซอรัสใช้ปีกเดินอย่างไร?

รอบรู้ รอบด้าน โลกวิทยาศาสตร์

นิยายเก่า-เล่าใหม่ : Rendezvous with Rama (ดุจดั่งอวตาร)

โดย เชิงชัย ไพรินทร์

Rendezvous with Rama ชื่อไทย ดุจดั่งอวตาร ตั้งโดย “บรรยงก์”
แปลและทำสำนวนโดย คุณ ธนพงษ์ สิงห์ประเสริฐ

(Rendezvous -แรนเดอวูส์-การนัดพบ สถานที่นัดพบ มักใช้กับหนุ่มสาวซึ่งไม่ได้มาพบกันเพื่อถกปัญหาโซมาเลียหรือเจรจาค่าเงินบาท ครั้นถึงยุคอวกาศก็รวมไปถึงจุดพบกันของอวกาศยานด้วย)

ประเภท Hard sci-fi
แนว ยานอวกาศ-เทคโนโลยี-ชีวิตต่างดาว

นิยายเก่า-เล่าใหม่ฉบับนี้ขอนำ Rendezvous with Rama ของคุณปู่ อาเธอร์ ซี คลาร์ก มาบรรณาการแด่ท่านผู้อ่าน เนื่องเรื่องนี้ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ 2001 Space Odyssey (ชื่อไทย 2001 พิชิตอวกาศ-ซึ่งอ่านแล้วน่าจะเป็นมนุษย์ถูกพิชิตในอวกาศมากกว่า) และที่น่าสนใจคือเรื่องนี้โกยรางวัลใส่กระบุงไปถึง 6 รางวัล แต่ยังไม่มีใครทำเป็นหนังให้ดูเสียอย่างนั้น
อ่านเพิ่มเติม “นิยายเก่า-เล่าใหม่ : Rendezvous with Rama (ดุจดั่งอวตาร)”

“เส้นทางสร้างนิยายวิทยาศาสตร์ไทย” คุยกับคุณวรากิจ เพชรน้ำเอกและนิรันด์ศักดิ์ บุญจันทร์ รายการ Mango Tv

รายการ Mango Tv นำ clips รายการ “เส้นทางสร้างนิยายวิทยาศาสตร์ไทย” คุยกับคุณวรากิจ  เพชรน้ำเอกและนิรันด์ศักดิ์  บุญจันทร์ มา post ลงเวปแล้วนะครับ มีสองตอนให้รับฟังรับชม เชิญตามลิงก์ที่แนบครับ

ตอนที่ 1

ตอนที่ 2

ฤาจะเป็นแนวทางใหม่ ของ SCI-FI Series

หลังจาก series sci-fi หลายๆเรื่องดูจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จ สักเท่าไร
(แม้แต่ Fringe เองยังเสียวๆ)
ก็มีกลุ่มที่ทำหนัง sci-fi จากการระดมทุนทาง internet

http://www.pioneerone.tv/ (official site)
http://vodo.net/pioneerone (ดู online)
http://www.imdb.com/title/tt1748166/ (คะแนน 6.7)
tagline: โครงการอวกาศที่ถูกลืมของรัสเซีย
(มีการทำ subtitle ด้วยแต่ยังไม่เห็นภาษาไทย)

http://www.l5-series.com/ (official site)
http://vodo.net/l5 (อ่าน plot แล้วก็ งงๆ กับภาษาอังกฤษ 😀 )
production น่าดูมาก
อ่านเพิ่มเติม “ฤาจะเป็นแนวทางใหม่ ของ SCI-FI Series”

เป็นไปได้ไหมครับ อยากให้เวปชมรมฯกลับไปใช้ logo เดิมที่เคยใช้ครับ

เป็นไปได้ไหมครับ อยากให้เวปชมรมฯกลับไปใช้ logo เดิมที่เคยใช้ครับ…ที่มีสีดำๆน้ำเงินๆ (ถ้าจำไม่ผิด) จริงๆแล้วผมกะว่าจะ post บอกตั้งนานแล้วครับ ตั้งแต่ถูกเปลี่ยนเป็นแบบต้นหญ้าเขียว

ผมชอบ logo เดิมครับเพราะมันดูเป็นไซไฟมากกว่าถ้าเทียบกับ logo ต้นหญ้าเขียวๆที่ใช้อยู่ตอนนี้ ( logo เดิมผมไม่ได้save ไว้ด้วยซิ แต่ถ้าเป็นสมาชิกท่านเก่าๆคงจะพอนึกออก )

อาจจะต้องฝากท่านประธานชมรมกับผู้ดูแลเวป (น่าจะเป็นคุณประยูร?) ช่วยพิจารณาด้วยครับ

หรือจะลงประกาศให้มีการออกแบบ logo ชมรมก็ได้ครับ (แบบไม่ต้องมีของรางวัลให้) ให้ให้เพื่อนๆสมาชิกโหวตเอาว่าแบบไหนดีที่สุด ขอบคุณครับ

ไม่สำคัญเท่าลงมือ

2 สัปดาห์ก่อนเห็นคุยกันว่าจะพิมพ์หนังสือแล้วไหงเงียบกันไปหมดครับ

แรงบัลดาลใจ 1

ท่านประธานบอกให้กันช่วยหาแรงบันดาลใจ ผมได้มาหนึ่ง เอามาแบ่งกันครับ

ข้อกล่าวหาเรื่องมนุษย์คนแรกเหยียบดวงจันทร์เป็นเรื่องลวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาพถ่ายโลก จากดวงจันทร์ภาพแรก

ผู้ ที่สนับสนุน ข้อกล่าวหาเรื่องการเหยียบดวงจันทร์ครั้งแรก เชื่อว่า การเหยียบดวงจันทร์ของ นีล อาร์มสตรอง ในโครงการอพอลโลขององค์การนาซานั้น เป็นเรื่องที่สร้างขึ้นในสตูดิโอถ่ายภาพยนตร์โดยมีการสนับสนุนจากซีไอเอ ข้อกล่าวหาดังกล่าวได้มีการพูดถึงในสหรัฐอเมริกาในช่วงสิบปีต่อมา และมีการพูดคุยกันอย่างมากในอินเทอร์เน็ตในช่วงที่อินเทอร์เน็ตเริ่มแพร่ หลายการลงจอดบนดวงจันทร์ของ อพอลโล 11 ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) มีการกล่าวอ้างว่าการถ่ายภาพ ไม่ได้กระทำบนดวงจันทร์ แต่ได้ถ่ายทำขึ้นในสตูดิโอภาพยนตร์บนโลก โดยความคิดนี้ได้เริ่มเป็นที่พูดคุย หลังจากภาพยนตร์เรื่อง แคปริคอร์นวัน (Capricorn One) ได้ออกฉาย ซึ่งในภาพยนตร์แสดงถึงองค์การนาซาได้หลอกชาวโลก โดยการสร้างภาพการลงจอดยานที่ดาวอังคารอย่างไรก็ตามมีข้อพิสูจน์หลายอย่าง ว่า ถึงแม้ว่าการสำรวจอวกาศของอพอลโล 11 จะเป็นเรื่องจริง แต่ภาพถ่ายของ นีล อาร์มสตรอง ถูกถ่ายทำขึ้นบนโลก โดยตามความคิดของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่า นีล อาร์มสตรองจะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ภาพถ่ายนี่จะออกมาต่อสื่อมวลชนเพื่อสร้างข่าวลือของความสำเร็จของสหรัฐ อเมริกา

ในปี พ.ศ. 2517 ได้มีหนังสือซึ่งเขียนขึ้นโดย บิลล์ เคย์ซิง (Bill Kaysing) ชื่อเรื่องว่า เราไม่เคยเหยียบดวงจันทร์ (We Never Went to the Moon) หรือ หนังสือของ ราล์ฟ มูน ในชื่อเรื่อง นาซาเหยียบสหรัฐอเมริกา (NASA Mooned America) ซึ่งเกี่ยวกับข่าวหลอกลวงที่นาซาสร้างขึ้น และมีมิวสิกวีดีโอเพลง อเมริกา (Amerika, ใช้ตัวอักษร k) ของ แรมม์ไสตน์ (Rammstein) เนื้อเพลงเกี่ยวกับการหลอกลวงในการลงจอดบนดวงจันทร์ ซึ่งนักร้องแต่งชุดเป็นนักบินอวกาศ และฉากหลังเป็นดวงจันทร์
อ่านเพิ่มเติม “แรงบัลดาลใจ 1”

ขอถามหน่อยครับ

นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ไทยมีน้อยคนนับนิ้วได้ ทีนี้ผมอยากทราบว่าแล้วผู้อ่านยังมีความต้องการเสพนิยายวิทยาศาสตร์ไทยมากน้อยแค่ไหน มีนิตสารอะไรที่ตีพิมพ์นิยายวิทยาศาสตร์ไทยบ้างนอกจาก update ครับ ขอบคุณครับ

มาเขียนเรื่องสั้นแนวไซไฟ (sci-fi)ใน 5 ขั้นตอน (ตอนที่ 2)

สวัสดีอีกครั้งครับ เพิ่งผ่านสงกรานต์มาหลายๆท่านคงได้พักผ่อนกันหนำใจ อากาศในช่วงสงกรานต์ร้อนมากๆ จนไม่อยากทำอะไรนอกจาก อาบน้ำ นอนเล่นอยู่กับบ้าน ส่วนผมก็ใช้เวลาช่วงหยุดยาวสงกรานต์เขียนนิยายที่ค้างอยู่ต่อ สิ่งหนึ่งที่ค้นพบคือเขียนในตอนที่อากาศร้อนนี่ไม่สนุกเลยครับ หัวสมองพาลจะคิดไม่ออกเอา เลยทำได้แต่เขียนไปหยุดไป ท้ายสุดแล้วก็เข็นออกมาได้อีกบทพร้อมส่ง สนพ.

จริงๆแล้วเคยอ่านคำแนะนำจากนักเขียนท่านหนึ่งผู้ชำชองอยู่กับวงการนักเขียน ท่านบอกไว้ว่า นักเขียนต้องสามารถเขียนได้ทุกสภาวะ ไม่ว่าอากาศจะร้อน หนาว รวมถึงไม่อิงเอาอารมณ์อยากเขียนเป็นที่ตั้ง ดังนั้น นักเขียนต้องเขียนทุกวัน ทำให้เป็นนิสัย นั่งโต๊ะตามเวลาเดิมที่วางไว้ ลงมือเขียนและเขียน แม้กระทั่ง ไม่รู้จะเขียนอะไรก็ต้องนั่งที่โต๊ะ พิมพ์มั่วๆเอาก็ได้ สักพักก็จะเขียนออกเอง

อ่านแล้วก็เหมือนจะง่าย แต่ในทางปฎิบัติก็แอบยากนิดนึงเพราะผมก็ยังอดคิดไม่ได้ว่า งานเขียนนิยาย เรื่องสั้น เป็นงานศิลปะแบบหนึ่ง ดังนั้นศิลปินผู้สร้างงานต้องอาศัยอารมณ์ร่วมในงานด้วยจึงจะทำให้เกิดความอ่อนช้อยและความมีชีวิตชีวาในผลงานเขียน

เอาล่ะ เอาล่ะ นอกเรื่องมานานแล้ว แหะๆ มาว่ากันต่อครับ คราวที่แล้วผมค้างไว้ตรง 5 ขั้นตอนในการเขียนเรื่องสั้นไซไฟ ดังนี้

ขั้นตอนการเขียนเรื่องสั้นไซไฟกันครับ

1) หาเรื่องมาเขียน จากการอ่านบทความ ข่าว สารคดี หรือข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์

2) สร้างเรื่องขึ้นมา จากข่าวหรือข้อมูลในข้อหนึ่งที่ได้มา มีวิธีครับ ไม่ยากเดี๋ยวคราวหน้ามาดูกัน

3) คิดโครงเรื่อง ตอนต้น ตอนกลาง และตอนจบ + จุดหักมุม

4) ลงมือเขียน เขียนและเขียน เขียนให้จบนะครับ ทำไมต้องเขียนให้จบ คราวหน้าผมจะมาเฉลย เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับคนที่อยากเป็นนักเขียน

5) ทิ้งไว้สักห้าวันหรือมากกว่านั้นแล้วค่อยเอามาอ่านดูเพื่อแก้ไข ปรับปรุง

สำหรับตอนที่ 2 นี้ จะคุยในหัวข้อที่ 1 ก่อนครับ

1) หาเรื่องมาเขียน จากการอ่านบทความ ข่าว สารคดี หรือข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์

ก่อนที่จะเขียนเรื่องสั้นแนวไซไฟหรือนิยายก็ตามที เราต้องมีเรื่องที่จะเขียนก่อน คำถามต่อมาคือ จะเขียนเรื่องอะไรดี ? คำถามนี้ตอบไม่ยากครับ แหล่งข้อมูลในการเขียนเรื่องมีอยู่รอบตัว ทั้งในหนังสือพิมพ์ หน้าข่าววิทยาศาตร์ ในอินเตอร์เน็ต วารสารแนววิทยาศาสตร์ (ในบ้านเราก็นิตยสาร Update ครับ เล่มนี้มีข้อมูลเยอะมากสำหรับเอาเป็นแหล่งวัตถุดิบในการสร้างเรื่อง) จากการพูดคุยกับเพื่อนๆหรือคนที่อาวุโสกว่า เราอาจจะลองถามเรื่องมันส์ๆเพื่อดูไอเดียของเพื่อนเราครับ เช่น นายรู้มั๊ยถ้าดวงจันทร์หายไป โลกของเราจะเป็นยังไง แรงดึดดูดจะเท่ากับ 9.8m/sec^2? นายคิดว่าไง … เราก็ปล่อยให้เพื่อนแสดงความคิดเห็นแล้วเราก็จำมาเพื่อเอามาต่อเติมเสริมจินตนาการของเราเข้าไป แค่นี้เราก็ะได้เรื่องมาเขียนแล้วครับ

แหล่งวัตถุดิบอื่นๆเช่น จากข่าวใน TV นิทรรศการวิทยาศาสตร์ของเด็กประถม มัธยม นี่ก็อย่ามองข้ามนะครับ ดูดีๆมีอะไรให้เอามาเขียนเพียบเลย

แล้วจะแปลงข้อเท็จจริง (fact) ที่เราอ่าน ดู ฟัง เป็นสิ่งที่เรียกว่า plot ได้ยังไง? อันนี้มีเทคนิคครับ ไม่ยากอีกนั่นแหล่ะ หลักการง่ายๆเราต้องระลึกถึงกฎเกณฑ์ของการเขียนที่สำคัญข้อหนึ่งครับ “นิยายหรือเรื่องสั้นเป็นเรื่องของตัวละคร อะไรเกิดกับตัวละครล่ะ?  ไม่ใช่เหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น” พูดง่ายๆคือ ตัวละครหลักในเรื่องจะเป็นผู้สร้างเรื่องให้เกิดขึ้นครับ แล้วเจ้าตัวละครหลักที่ว่าจะสร้างเรื่องอะไร? ตอบคำถามข้อนี้ ตัวละครหลักต้องการเปลี่ยนแปลงบางอย่างให้ดีขึ้นหรือเลวร้ายลงแต่อะไรๆมันไม่ง่ายเหมือนไปเซเว่นอีเลเว่น เพราะมันจะต้องมีอุปสรรคขัดขวางตัวละครหลักไม่ให้ทำสำเร็จ ดังนั้นตัวละครหลักของเราก็จะต้องสู้ยิบตาเพื่อให้บรรลุสิ่งที่ต้องการในตอนท้ายให้ได้ (อุปสรรค ไม่ว่าจะเป็น คนรอบกายตัวเอกคู่ปรับ เมีย กิ๊ก หรือคนขายปลาทูหรือความคิดสับสนของตัวเอกเอง สิ่งเหล่านี้เป็นศัตรูกับตัวเอกเราได้ครับ) อุปสรรคที่กล่าวถึงนี้จะทำให้เกิด “เรื่อง” ขึ้นมา ดังนั้นจึงทำให้เรามีเรื่องเล่า(โม้)และเขียน

ตัวละคร+ปัญหา=มีเรื่องให้นักเขียนเล่า ถ้าไม่มีปัญหาก็ไม่มีเรื่องให้เล่าให้อ่านสนุกจนวางไม่ลง

ไม่มีใครอยากอ่านเรื่องของตัวละครที่ประสบความสำเร็จทุกอย่าง ข้อนี้สำคัญครับ… เพราะมันไม่น่าสนใจและน่าเอาใจช่วย ยกตัวอย่างง่ายๆ ผมจะเขียนเรื่อง นายเอกเกิดมา เรียน สอบชิงทุนไปเรียนต่อต่างประเทศ กลับมาสร้างหุ่นยนต์ช่วยชาวนาไถนาได้สำเร็จ ได้ภรรยารวยล้นฟ้า แต่งงานและอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข จบ… น่าเบื่อไหมครับ ? ผมว่าโค ตะ ระ น่าเบื่อเลย

ถ้าคนเขียนเขียนแล้วไม่สนุกกับมันไม่ต้องพูดถึงคนอ่านเลยว่าจะรู้สึกยังไง ^^ เขียนเสร็จลองอ่านดูว่าสนุกไหม ถ้าเราสนุกก็เชื่อได้เลยว่าคนอ่านก็จะสนุก (คนอ่านคนแรกคือ บก. จัดว่าเป็นสิ่งมีชิวิตที่เอาใจและเข้าใจยาก รวมถึงโค ตะ ระเป็นคนละเอียดละออ…ดังนั้นท่าน บก. ต้องการอะไร ชอบแบบไหน บางทีเราก็ต้องตามใจท่าน)

คราวนี้เราจะมายกตัวอย่างจากของจริงกันครับ พอได้ข้อเท็จจริงหรือ facts แล้ว เราจะผูกเรื่องขึ้นมาได้ยังไง คราวหน้ามาต่อกัน ทิ้งท้ายก่อนปิด post ครับ ท่านใดมีวิธีเจ๋งๆก็มาแชร์กันได้ เพราะผมก็ไม่ใช่สุดยอดผู้เชี่ยวชาญอะไรมากนัก ส่วนใหญ่ก็อ่านและสอบถามจากผู้ที่เขียนมามากกว่าตัวผม (เช่นคุณวรากิจ ประธานชมรมของเรา) แล้วนำมาปรับ ประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับสไตล์ของตัวผมเอง ดังนั้นผมยินดีฟังทุก comment นะครับ

สวัสดีครับ 🙂

แนะนำเวป fan pages facebook สำหรับท่านที่ชื่นชอบหนัง หนังสือ แนวไซไฟครับ

สวัสดีครับ วันนี้เกิดไอเดียอยากสร้างเวปที่เป็นจุดนัดพบของผู้ที่ชื่นชอบหนังสือหรือภาพยนต์แนวไซไฟครับ ก็เลยได้เวปอย่างที่เห็นตาม link ข้างล่างนี้

มาแนะนำเวป fan pages facebook สำหรับท่านที่ชื่นชอบหนัง หนังสือแนวไซไฟครับ

Scifi-movies fan pages สำหรับผู้ที่ชอบภาพยนต์และหนังสือนิยาย เรื่องสั้นไซไฟ

ขอบคุณมากครับ

มาเขียนเรื่องสั้นแนวไซไฟ (sci-fi)ใน 5 ขั้นตอน (ตอนที่ 1)

ไหนๆก็มีการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ในเวปนี้แล้ว หลายๆคนอยากเขียนส่งแต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี ผมก็เลยขออาสาตัวเองมาแนะนำน้องๆนักเขียนหน้าใหม่เพื่อที่จะได้มีเทคนิคและความมั่นใจที่จะลงมือเขียนส่งประกวด

อยากให้เขียนงานแนวไซไฟเยอะๆครับ เพราะวงการหนังสือนิยาย เรื่องสั้นของเราขาดแคลนนักเขียนแนวนี้มากๆ

การเขียนเรื่องสั้นไซไฟมีเทคนิคการเขียนที่ไม่ต่างกับการเขียนนิยายหรือเรื่องสั้นแนวอื่นครับ จะต่างอยู่แต่เพียงในเรื่องสั้นไซไฟนั้นจะมีความรู้หรือข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์แทรกอยู่ด้วย ไม่มากก็น้อย เรื่องสั้นหรือนิยายไซไฟจะแบ่งออกเป็นสองประเภท

ไซไฟแฟนตาซี ประเภทนี้จะมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์แทรกอยู่ไม่เยอะ

ฮาร์ดไซไฟและซอฟท์ไซไฟ จะตรงข้ามกับประเภทแรก ผมจะถนัดเขียนประเภทหลังครับ งานของผมที่เป็นนิยายกับเรื่องสั้นที่ลงในนิตยสารก็จะเป็นแนวซอฟท์ไซไฟจะเป็นส่วนมาก

 

มาเข้าสู่ขั้นตอนการเขียนเรื่องสั้นไซไฟกันครับ

1) หาเรื่องมาเขียน จากการอ่านบทความ ข่าว สารคดี หรือข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์

2) สร้างเรื่องขึ้นมา จากข่าวหรือข้อมูลในข้อหนึ่งที่ได้มา มีวิธีครับ ไม่ยากเดี๋ยวคราวหน้ามาดูกัน

3) คิดโครงเรื่อง ตอนต้น ตอนกลาง และตอนจบ + จุดหักมุม

4) ลงมือเขียน เขียนและเขียน เขียนให้จบนะครับ ทำไมต้องเขียนให้จบ คราวหน้าผมจะมาเฉลย เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับคนที่อยากเป็นนักเขียน

5) ทิ้งไว้สักห้าวันหรือมากกว่านั้นแล้วค่อยเอามาอ่านดูเพื่อแก้ไข ปรับปรุง

 

ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ ห้าขั้นตอนก็สามารถเนรมิต เรื่องสั้นหรือนิยายไซไฟออกมาได้แล้ว คราวหน้าผมจะมาพูดถึงรายละเอียดในแต่ละข้อนะครับ พร้อมทั้งจะยกตัวอย่างให้ดูด้วย

อยากคุยเรื่องงานเขียนแนวนี้mail มาที่ผมได้ครับที่ cpcw123แอทฮอทเมล์.com ครับ (อย่าลืมเปลี่ยนคำว่า แอทฮอทเมล์ เป็นภาษาปะกิด ด้วยนะครับ)