สนทนานิยายวิทยาศาสตร์กับชัยคุปต์

นิยายวิทยาศาสตร์ : วิทยาการสู่โลกจินตนาการ

รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล ได้มาแสดง ทัศนะเกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์
ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา
วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม 2550 เวลา 15.00-16.00 น. ณ เวทีกลาง บริเวณห้องโถงใหญ่

เริ่มต้นงาน เสวนาท่านได้เล่า ประวัติ การพบปะ กับ ปรมจารย์ นิยายวิทยาศาสตร์ อย่าง อาเธอร์ ซี คล๊าก และ ไอแซก อาซิมอฟ รวมทั้ง ได้นำหนังสือ ที่ลายเซนต์ของ ทั้งสองท่านมาอวดด้วย (น้ำลายหก)

ท่าน รศ.ดร.ชัยวัฒน์ ยังได้เล่าว่า แรงบันดาลใจ ที่ทำให้ท่าน สนใจ ที่จะเป็น นักวิทยาศาสตร์ นั้น มาจาก การอ่าน นิยายวิทยาศาสตร์ ของคนไทย คือ งานของ คุณ จันตรี ศิริบุญรอด นั่นเอง

ประเด็น หนึ่งที่ ท่าน พูดถึงคือ คนไทย มักติดอยู่กับ นิยายวิทยาศาสตร์ ที่พูดถึง มนุษย์ต่างดาว , ยานอวกาศ เป็นต้น แต่ท่านบอกว่า นิยายวิทยาศาสตร์ นั้น หลากหลาย และเปิดกว้างกว่านั้นมาก โดยท่านอ้างถึงงานอันหลากหลาย ของ เอช จี เวลส์

รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุลท่านยังได้แสดงความเห็นที่น่าสนใจว่า “การเขียน นิยายวิทยาศาสตร์ นั้น ไม่ยาก แต่การเขียน นิยายวิทยาศาสตร์ ที่ดี นั้น ยาก” ทั้งท่านยังได้ยกตัวอย่าง งานบางชิ้น ของ ไอแซก อาซิมอฟ ว่า งานของ อาซิมอฟ มี มากมายหลายชิ้น และ มีความหลากหลาย สูงมาก ทุกๆชิ้น เป็นงานที่อ่านสนุก แต่ก็มีบางชิ้น ที่ อาจจะไม่ได้ประเด็นที่หนักแน่นพอ (แต่มีประเด็นทุกเรื่องนะ ท่าน ย้ำ) ซึ่ง ไม่เหมือน กับ อาเธอร์ ซี คล๊าก ที่ มีงาน ไม่มากชิ้น แต่ว่า แต่ละชิ้น หนักแน่น จริงจังเสมอ

จากตรงนี้ทำให้ผมเห็นว่า นักเขียน นิยายวิทยาศาสตร์ อาจจะอาศัยแนวทางของ อาซิมอฟ ได้ คือ ไม่จำเป็นต้องหนักแน่น นัก (เป็น hard sci-fi ไปเสียทุกเรื่อง) แต่ เขียนออกมาบ่อยๆ ก็เป็น ไอแซก อาซิมอฟ ได้ นะครับ (แฮะ แฮะ)

link ที่น่าสนใจ

2 ความเห็นบน “สนทนานิยายวิทยาศาสตร์กับชัยคุปต์”

  1. คนดูช่วยอาจารย์ชัยวัฒน์สัมภาษณ์ น้อยมากครับ พอดีเป็นช่วงบ่ายนักเรียนทยอยกลับกันไปเยอะแล้ว น่าจะมีการบันทึกเป็นวีดีโอแล้วมา Post ลงในเว็บครับ เพราะมีประโยชน์มากทีเดียว

ใส่ความเห็น