ประกวดนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2567

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยามหิดล, สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย และ GDH ขอเชิญผู้สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2567 ชิงทุนส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงาน พร้อมโล่เกียรติยศ และเกียรติบัตร

อ่านเพิ่มเติม “ประกวดนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2567”

ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ประจำปี 2566

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล, สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด ขอเชิญ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ประจำปี 2566 ชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ และโอกาสได้ตีพิมพ์ผลงาน

คุณสมบัติผู้ส่งผลงานเข้าประกวด

  • รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ (สําหรับผู้อ่านทั่วไป)
    • รุ่นเยาวชน : อายุไม่เกิน 25 ปี (นับถึงวันที่ปิดรับสมัคร)
    • รุ่นประชาชนทั่วไป : ไม่จํากัดเพศ อายุ และ วุฒิการศึกษา
  • รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์สําหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี
    • ไม่จํากัดเพศ อายุ และ วุฒิการศึกษา
อ่านเพิ่มเติม “ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ประจำปี 2566”

ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 2565

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด ขอเชิญผู้สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 2565 ชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ เกียรติบัตร และโอกาสได้ตีพิมพ์ผลงาน

วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยและผู้สนใจ เกิดความตื่นตัวและสนใจในเรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์ สื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านงานเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผลงานเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ และสร้างเวทีเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ ได้มีโอกาสทำความเข้าใจและสร้างเสริมจินตนาการไปกับองค์ความรู้อันหลากหลายทางวิทยาศาสตร์ ได้แสดงความสามารถและสะท้อนออกมาเป็นเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์ในสื่อ “เรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์”

อ่านเพิ่มเติม “ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 2565”

มารวิทยา: อนุภาคลี้ลับ (Phasmoparticle)

เรื่องสั้นไซไฟ-ระทึกขวัญ/สยองขวัญเรื่องนี้ เป็นเรื่องแรกที่ผู้เขียนได้เขียนในบรรยากาศไสยศาสตร์แบบไทย ๆ อย่างจริง ๆ จัง ๆ และสอดแทรกประเด็นที่จะเสียดสีด้วยค่ะ

ยังไงก็สามารถติชมได้นะคะ


ยามตะวันลับขอบฟ้าเป็นสัญญาณให้สิ่งมีชีวิตยามทิวาเริ่มเข้าสู่การหลับใหล เว้นแต่สิ่งมีชีวิตยามราตรีที่ตื่นขึ้นมาดำเนินชีวิตท่ามกลางแสงจันทร์และมวลหมู่ดวงดารา สิ่งมีชีวิตยามราตรีเหล่านี้รวมถึงสิ่งมีชีวิตที่ผู้คนต่างหวาดกลัว มาตั้งแต่สมัยก่อนที่จะเกิดความเจริญรุ่งเรืองทางด้านเทคโนโลยีและการศึกษา

คฤหาสน์ไม้ทรงไทยโบราณตั้งตระหง่านหลังหมู่บ้านร้างบนเนินเขาแห่งหนึ่ง ณ ที่แห่งนี้ไม่มีผู้ใดกล้าเข้าไปแม้แต่เพียงผู้เดียว เพราะเป็นที่เล่าขานกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะกับบรรดาชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงว่า ทุกชีวิตที่อย่างกรายเข้าไปก็มักลงด้วยการสูญหาย…ทั้งทรัพย์สินและชีวิต…!

แสงจันทร์สาดส่องทางหน้าต่างรูปทรงไทยโบราณ เผยให้เห็นเรือนร่างของหญิงสาวในชุดไทยโบราณโทนสีแดงเข้ม ที่เข้ากับเครื่องประดับที่บ่งบอกถึงระดับชนชั้นอันสูงส่ง ดวงตาสีแดงเข้มจ้องมองวิวด้านนอกหน้าต่าง ราวกับกำลังเสพสมบรรยากาศธรรมชาติยามค่ำคืน

อ่านเพิ่มเติม “มารวิทยา: อนุภาคลี้ลับ (Phasmoparticle)”

มารวิทยา: ไมโครชิป ชิปแล้วหาย (Brain Enhancement Microchip)

สวัสดีค่ะ

กลับมาอีกครั้งกับเรื่องสั้นไซไฟ-ระทึกขวัญ/สยองขวัญ

เรื่องสั้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดรวมเรื่องสั้นมารวิทยา

ถ้าท่านเป็นผู้อ่านสายหักมุม ถ้าเป็นไปได้ก็อยากรบกวนบอกด้วยค่ะว่า เรื่องนี้จะหักมุมมากน้อยแค่ไหน

ส่วนผู้อ่านสายฮาสายโจ๊ก ก็ขอแน่ใจนะคะว่า เรื่องนี้จะเหมาะกับท่านจริง ๆ (ฮา)

แต่ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้อ่านไซไฟสายไหน ยังไงก็สามารถติชมได้นะคะ (เช่น เรื่องความเป็นธรรมชาติของบทสนทนา) เผื่อจะได้เป็นไอเดียในการต่อยอดเป็นนวนิยายไซไฟในอนาคตค่ะ


ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2136 ผู้คนที่นับว่าเป็นมนุษย์ชีวภาพและมนุษย์ชีวจักรกลที่มีสมองเป็นทางชีวภาพ สามารถเพิ่มขีดความสามารถของตนเองได้ด้วยการผ่าตัดฝังไมโครชิป Brain Enhancement ซึ่งไมโครชิปนี้มีประเภทที่สามารถเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ และการฟื้นฟูความทรงจำ

ไมโครชิป Brain Enhancement ประเภทเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ ช่วยให้ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดมีความสามารถในความรู้ทางด้านทฤษฎีสาขาต่าง ๆ ตามที่ต้องการ และเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ราคาของไมโครชิปประเภทนี้จะแตกต่างกันตามจำนวนสาขาของความรู้ที่ต้องการ และความสามารถในการเรียนรู้เพิ่มเติมจากความรู้ในสาขานั้น ๆ ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดสำหรับไมโครชิปประเภทนี้ ส่วนใหญ่นิยมใช้กับการเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองชอบ แต่ความสามารถ (ที่มีอยู่เดิมก่อนการผ่าตัดนั้น) ไม่ควบคู่กัน

ไมโครชิป Brain Enhancement ประเภทเพิ่มศักยภาพในการจำ ช่วยให้ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดมีความจำที่ดีในเรื่องต่าง ๆ ตามที่ประสบพบเจอ และสามารถฟื้นฟูความทรงจำที่สูญเสียไปได้ ราคาของไมโครชิปประเภทนี้จะแตกต่างกันตามระดับความสามารถที่ต้องการจำและฟื้นฟู ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดสำหรับไมโครชิปประเภทนี้ ส่วนใหญ่นิยมใช้กับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ และผู้ที่ใช้หรือได้รับผลข้างเคียงจากยาลบความทรงจำ

อ่านเพิ่มเติม “มารวิทยา: ไมโครชิป ชิปแล้วหาย (Brain Enhancement Microchip)”

โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 5

จัดโดย อพวช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด
โครงการประกอบด้วย

การอบรมพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์

โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 5 เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจและมีความต้องการพัฒนาทักษะการเขียนของตนเอง
ด้วย การอบรมพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการอบรม กำหนดจัดอบรม วันที่ 7 – 8 มีนาคม 2563 เวลา 09.00 น. – 17.00 น.
สถานที่จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง (รับสมัครผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป)

กติกาและใบสมัครการอบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์

หมดเขตสมัครเข้าอบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านเข้าอบรมฯ วันที่ 3 มีนาคม 2563 ทาง www.nsm.or.th

การประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์

  • (สามารถเข้าร่วมได้ทั้ง 2 กิจกรรมตามเกณฑ์การรับสมัคร)
    1. รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์
      1. รุ่นเยาวชน (อายุไม่เกิน 25 ปี) 
      2. รุ่นประชาชนทั่วไป (ไม่จำกัดเพศ อายุ และวุฒิการศึกษา) 
    2. รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์สำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี (ไม่จำกัดเพศ อายุ และวุฒิการศึกษา) 

ใบสมัครรางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 
ใบสมัครรางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์สำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี
กติกาการส่งผลงานเข้าประกวด 

อ้างอิงจาก: http://www.nsm.or.th/event/competition/science-short-story.html

โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 
และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด จัดทำ “โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4” ขึ้น เพื่อเป็นเวทีเปิดโอกาสให้ผู้ที่รักการเขียน และรักในวิทยาศาสตร์ใช้
จินตนาการถ่ายทอดงานเขียนแนววิทยาศาสตร์ในรูปแบบเรื่องสั้น และส่งเข้าร่วมประกวดใน “โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4” โดยท่านสามารถร่วม
กิจกรรมกับโครงการฯ ได้ 2 กิจกรรม ได้แก่ การอบรมพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสคร์ และ การประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 
(สามารถเข้าร่วมได้ทั้ง 2 กิจกรรมตามเกณฑ์การรับสมัคร)

ข้อมูลจาก http://www.nsm.or.th/event/competition/science-short-story.html

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ประเทศไทย ครั้งที่ 14

หัวข้อ การปฏิวัติอาหาร (Food Revolution)
วันที่ 10-30 พฤศจิกายน 2561
ณ โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา

เข้าสู่ช่วงเวลาของภาพยนตร์วิทยาศาสตร์อีกครั้ง กับเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ประเทศไทย ครั้งที่ 14 จัดขึ้นโดยสถาบันเกอเธ่ประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เป็นศูนย์จัดฉายในเขต จ.นครปฐม และมีโรงภาพยนตร์ศรีศาลายาเป็นสถานที่ในการจัดฉาย สำหรับหัวข้อในปีนี้ คือ “การปฏิวัติอาหาร (Food Revolution)” ซึ่งในเทศกาลจะมีทั้งภาพยนตร์ที่กล่าวถึงคุณค่าของอาหาร อาหารปลอดสารพิษ รวมถึงสำรวจประเด็นเกี่ยวกับโภชนาการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เราตระหนักถึงการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โดยจะจัดฉายควบคู่ไปกับนิทรรศการเกี่ยวกับการปฏิวัติอาหารที่หอภาพยนตร์จัดขึ้นเพื่อเพิ่มเติมความรู้ นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย

เทศกาลภาพยนตร์ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ประเทศไทย ครั้งที่ 14 ที่หอภาพยนตร์ จะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 10-30 พฤศจิกายน 2561 โดยทุกท่านสามารถรับชมภาพยนตร์ที่ได้รับการคัดเลือก รวม 21 เรื่อง จาก 7 ประเทศ ได้ตามโปรแกรมด้านล่างนี้ ในขณะที่คุณครูและนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ สามารถมาเข้าร่วมชมภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เหล่านี้พร้อมทั้งร่วมกิจกรรมสนุก ๆ จากทีมงานหอภาพยนตร์ ในช่วงวันจันทร์-ศุกร์ รอบเช้าและรอบบ่าย ตลอดเทศกาล หากทางโรงเรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและเช็กรอบเข้าชมได้ที่ 02 482 2013-14 ต่อ 110

รอบฉายเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ฯ ครั้งที่ 14 ณ โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา
(ภาพยนตร์ทุกเรื่องพากย์ภาษาไทย ยกเว้นเรื่อง ดิ่งสู่ดาวเสาร์ ภารกิจสุดท้ายของยานแคสสินี
ฉายในภาษาอังกฤษ มีคำบรรยายภาษาไทย)

โปรแกรมที่ ๑ (๘๒ นาที)
วันเสาร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ น.
วันอังคารที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๗.๓๐ น.

โปรแกรมที่ ๒ (๘๒ นาที)
วันเสาร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ น.
วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๗.๓๐ น.

โปรแกรมที่ ๓ (๘๐ นาที)
วันเสาร์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ น.
วันพุธที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๗.๓๐ น.

โปรแกรมที่ ๔ (๘๘ นาที)
วันเสาร์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๕.๐๐ น.
วันศุกร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๗.๓๐ น.

link รายละเอียด

บทความวัตถุที่มีความผิดปกติ(SCPs Object)ที่เขียนโดย Bonneneige [อาจมีการอัปเดตเรื่อยๆ]

สถาบัน SCP
ที่มา: http://scp-th.wikidot.com/

ข้อมูลจากสถาบัน SCP ในเรื่องนี้ได้เผยแพร่อย่างถูกต้องภายใต้ Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License (แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน)

———————————————————————————————–

นักเขียนมาลงตามสัญญาที่บอกว่าจะลงหน้าที่รวมลิงก์บทความวัตถุ SCPs เฉพาะที่นักเขียนแต่งมาในสายไซไฟแล้วนะคะ

บทความโดยรวมของนักเขียนจะจัดได้ว่าเป็น soft-scifi และแสดงความเป็นไซไฟได้ในระดับปานกลาง-น้อย สำหรับแบบที่ในระดับน้อยก็จะเป็นอันที่ไม่ได้เขียนถึงผลการทดลองด้วยโดยเฉพาะ แม้ว่าจริง ๆ แล้วในเนื้อเรื่องปกตินั้นนักวิทย์ฯ กับนักวิจัยกำลังทำการทดลองเพื่อหาคำอธิบายทางด้านวิทย์จากความผิดปกติอยู่ค่ะ

จุดประสงค์ที่นักเขียนอยากลงผลงานเขียนในนี้ด้วย(ไม่นับเรื่องแยกประเภท hard หรือ soft แล้ว)ก็คือ นักเขียนอยากทราบว่ามีตรงไหนที่นักเขียนดึงศัพท์วิทย์ฯ มาใช้ในแบบที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ ถ้ามีก็ขอรบกวนอธิบายพร้อมยกตัวอย่างที่ถูกต้องด้วยนะคะ

นอกเหนือจากนี้ เช่น ลักษณะการเขียนบทความของนักเขียน ก็สามารถวิจารณ์ได้เช่นกันค่ะ
อนึ่ง หากสงสัยว่าทำไมเขียนเหมือนเอกสารราชการ นั่นก็เพราะว่ารูปแบบของบทความจัดมาให้ดูคล้าย ๆ เอกสารราชการอยู่แล้ว และก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของ SCP ด้วยค่ะ หุหุหุ

อ่านเพิ่มเติม “บทความวัตถุที่มีความผิดปกติ(SCPs Object)ที่เขียนโดย Bonneneige [อาจมีการอัปเดตเรื่อยๆ]”

ประกาศผลการตัดสินรางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3

ผลการประกวด PDF

ขอแสดงความยินดีกับทุกท่านด้วยครับ

อ่านเพิ่มเติม “ประกาศผลการตัดสินรางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3”

สถาบัน SCP: ความฝันเสมือนจริง(Canon:สถาบันสยองขวัญ)

สวัสดีค่ะ

นักเขียนลงงานเขียนในเว็บนี้เป็นครั้งแรก ขออภัยด้วยค่ะถ้าดูแปลกๆ

นักเขียนคิดว่าจะลงผลงานเขียนลงในเว็บนี้ด้วยนอกจากที่ปกติแล้วจะลงใน Wikidot ไม่ว่าจะเป็นบทความของวัตถุ SCPs หรือว่านิยายก็ตาม เฉพาะเรื่องที่นักเขียนมั่นใจว่าเขียนมาในสายไซไฟนะคะ ถ้านักเขียนแต่งเรื่องสั้นไซไฟอีกเรื่อง เดี๋ยวนักเขียนจะลงหน้ารวมนิยายแล้วต่อลิงก์ไปที่ทาง Wikidot โดยตรงเพื่อไม่ให้เป็นการสแปมในเว็บนี้ค่ะ

ส่วนเรื่องที่นักเขียนจะใช้ในเชิงพาณิชย์ด้วย(โดยเฉพาะหน้าที่นักเขียนตั้งค่าให้ว่าต้องจ่ายเงินก่อน) นักเขียนจะลงแยกต่างหากไว้ที่ ReadAWrite และแน่นอนว่าต้องมีเครดิตที่มาของแหล่งอ้างอิงตามนโยบายของลิขสิทธิ์สถาบัน SCP กำกับไว้ด้วย

จุดประสงค์ที่นักเขียนอยากลงผลงานเขียนในนี้ด้วยก็คือ
1. นักเขียนอยากทราบว่างานเขียนเรื่องนี้ถือว่าเป็น Hard-Scifi หรือ Soft-Scifi
(สำหรับเรื่องนี้นักเขียนรู้ในใจแล้วว่าต้องเป็น Hard-Scifi แน่ๆ แต่เพื่อความแน่ใจค่ะ)
2. นักเขียนอยากทราบว่ามีตรงไหนที่นักเขียนดึงศัพท์วิทย์มาใช้ในแบบที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ ถ้ามีก็ขอรบกวนอธิบายพร้อมยกตัวอย่างที่ถูกต้องด้วยนะคะ

นอกเหนือจากนี้ เช่น ลักษณะการบรรยายเนื้อเรื่องของนักเขียน ก็สามารถวิจารณ์ได้เช่นกันค่ะ

เดี๋ยวคราวหน้านักเขียนจะลงหน้าที่รวมลิงก์บทความวัตถุ SCPs เฉพาะที่นักเขียนแต่งมาในสายไซไฟนะคะ

———————————————————————————————–

สถาบัน SCP
ที่มา: http://scp-th.wikidot.com/

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากสถาบัน SCP ในเรื่องนี้ได้เผยแพร่อย่างถูกต้องภายใต้ลิขสิทธิ์แบบ CC-BY-SA (Attribution-ShareAlike 3.0)(แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน)

อ่านเพิ่มเติม “สถาบัน SCP: ความฝันเสมือนจริง(Canon:สถาบันสยองขวัญ)”

Sci-Fi day 2018 : เสาร์ที่ 8 กย.นี้

วันที่ 08/09/2018
เวลา 10:30 - 17:00

กลับมาอีกครั้ง สำหรับช่วงเวลาดีๆกับเหล่าผองเพื่อน คอเดียวกัน

วันไซไฟเดย์ เสาร์ที่ 8 กย.นี้
ที่จัตตุรัสจามจุรี พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ชั้น4
เวลาเที่ยง เป็นต้นไป ณ ห้องประชุม กาลิเลโอ ( เข้าพิพิธภัณฑ์ แล้วขึ้นไปอีกชั้น )

เหล่า นักเขียน นักอ่าน นักวิชาการ นักสะสม นักทำของเล่น โมเดล นักชมภาพยนตร์ นักคอสเพลย์ เกมเมอร์ จะมารวมตัวกัน เพื่อความสุขสนุกสนาน อีกครั้ง

มีการเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ เทคโนโลยี ไซเบอร์เนติก

ต่อด้วยเหล่าแฟนพันธ์แท้ไรเด้อ จะมีเรื่องเล่าของความประทับใจต่อฮีโร่แปลงร่าง ของพวกเขา พร้อมทั้งนำสิ่งสะสมที่เป็น สิ่งพิมพ์ โมเดล ชุดแปลงร่าง มาจัดแสดง รวมถึงแปลงร่างจัดเต็มให้ผู้มาร่วมงานได้ถ่ายภาพ จะตีเข่า กอดคอ หอมแก้ม สุดแท้แต่ใจปราถนาของท่าน เพื่อเป็นที่ระลึก

ส่วนนักเขียน และ สำนักพิมพ์ หาท่านมีความประสงค์จะนำผลงานด้านไซไฟ หรือ สารคดีวิทยาศาสตร์ มานำเสนอหรือเปิดตัว เรายินดีต้อนรับทุกท่าน ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น เพราะเราเป็นเวที สาธารณะ จะขอรบกวนก็เพียงเรื่องเดียว คือให้ท่านช่วยซื้อขนมติดมือมานิดๆหน่อย เพื่อเลี้ยงผู้มาร่วมงานก็พอครับ

ขอบพระคุณทุกท่าน ที่เข้ามาอ่านครับ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2205512126401718&set=gm.2248888005123188&type=3

ภาพบรรยากาศภายในงาน

รอยวิบัติ (trace)

จักรกฤษณ์ยืนอย่างสงบนิ่งอยู่บนรถไฟฟ้าที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง เขากำลังเดินทางไปพบผู้ว่าจ้างของเขาโดยเลือกที่จะใช้เส้นทางซ่อมบำรุงที่ปราศจากแสงสี เพราะการใช้เส้นทางหลักในเมืองทำให้เขามีอาการเวียนศรีษะอยู่เสมอด้วยภาพทิวทัศน์ที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่ตลอดเวลาในระหว่างการเดินทาง เดี๋ยวก็เป็นทิวทัศน์ชายหาด เดี๋ยวก็เป็นภาพจากตึกสูง เดี๋ยวกลางวัน เดี๋ยวกลางคืน คงเนื่องจากความโหยหาธรรมชาติในตัวทุกผู้คน แต่เนื่องจากขนาดของอาคารที่ใหญ่โตกินบริเวณหลายพัันตารางกิโลเมตร ย่อมไม่สามารถให้พื้นที่สำหรับมุมมองภายนอกได้อีกแล้ว ทุกคนจึงต่างปรุงแต่ง ทิวทัศน์ มุมมอง ตามแต่ใจปรารถนา แต่นั่นคื่อสิ่งที่ทำให้คนที่ต้องเดินทางผ่านหลายๆสถานที่เกิดอาการหลงทิศ หลงทาง และคลื่นเหียนได้อย่างน่ารำคาญ มันเป็นอาการสามัญจนมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า อาการเมาตึก และ จักรกฤษณ์ก็ไม่อยากให้เกิดอาการแบบนั้นในขณะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่เขาต้องการใช้ความคิด

รถไฟฟ้าเคลื่อนผ่านผนังสีทึบไปตลอดเส้นทาง ระหว่างที่จักรกฤษณ์หวนรำลึกถึงตอนที่พบเจ้าของงานนี้เป็นครั้งแรก

“สามีของฉันหายตัวไป” หล่อนกล่าว…มีน้ำเสีงแหบพร่าเล็กๆในเสียงนั้น จักรกฤษณ์รู้สึกได้ถึงความไม่แน่ใจบางอย่าง หลังจากการทักทายกับหล่อนตามมารยาทของนักสืบทั่วไป “ทั้งหมดนี่คือข้อมูลของเขา” หล่อนยื่นแผ่นข้อมูลบางขนาดนามบัตร

จักรกฤษณ์วางมันลงบนโต๊ะ แล้วภาพแฟ้มข้อมูลทั้งหมด ก็แสดงขึ้นบนผนังห้องเบื้องหน้า
บุคคลที่หายตัวไป คือ ดร.วัชรพล เคฟเค่น ศารตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง ควอนตัมฟิสิกส์(quantum physic) ที่มีชื่อเสียง

“มีอะไรที่ผมควรรู้เป็นพิเศษไหม” จักรกฤษณ์เอ่ยถามขณะเคลื่อนมือไปบนโต๊ะ พลิกแฟ้มประวัติบนผนังไปมา “งานวิจัยที่กำลังทำอยู่, คู่แข่ง ศัตรู หรือ” เขาหยุดเล็กน้อยเหลือบมองหล่อน “ชู้รัก”

“ไม่มี” โดยปราศจากการลังเลหรือชะงักงัน ไม่แม้เพียงหนึ่งส่วนล้านของวินาที … อาจจะเร็วเกินไปเสียด้วยซ้ำ และดูเหมือนหล่อนเองก็จะจับอาการสงสัยนั้นได้ด้วยเช่นกัน “ถ้าคุณดูภาพที่ถูกบันทึกแล้วคุณจะเข้าใจ”

ภาพที่เขาเห็นยิ่งทำให้เขามึนงงยิ่งขึ้นไปอีก
มันเป็นภาพที่ถูกบันทึกโดยระบบ MAIDS ซึ่งแสดงภาพของ ดร.วัชรพลในห้องของเขา ขณะกำลังสาละวนกับงานเอกสารบนโต๊ะ ภาพแตกพร่าไปสักเสี้ยววินาทีเห็นจะได้ และหลังจากนั้นภาพทุกอย่างก็กลับคืนมา …
ทุกอย่าง ยกเว้น ดร.วัชรพล

ประเด็นแรกจึงไม่ใช่ว่า ใคร ทำไม หรือ จะเป็นตายร้ายดีประการได
ประเด็นแรกคือ “อย่างไร”

อ่านเพิ่มเติม “รอยวิบัติ (trace)”

อพวช. : โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 และ ขอเชิญผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรม “อบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์”

อพวช.(องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ) ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 และ “อบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์”

อบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์

โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 เปิดโอกาศให้ผู้ที่สนใจและมีความต้องการ
พัฒนาทักษะการเขียนของตนด้วย การอบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการอบรม
กำหนดจัดอบรม วันที่ 10 – 11 มีนาคม 2561 เวลา 10.00 น. – 17.30 ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช.
ชั้น 4 อาคารจัตุรัสจามจุรี ถ. พญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

หมดเขตสมัครเข้าอบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม 2561
รายละเอียดการอบรม
ใบสมัคร

จาก
http://www.nsm.or.th/index.php?option=com_k2&view=item&id=6661:2018-01-10-02-06-49&Itemid=167

และ

การประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด จัดทำ “โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3” ขึ้น เพื่อเป็นเวทีเปิดโอกาสให้ผู้ที่รักการเขียน และรักในวิทยาศาสตร์
ใช้จินตนาการ ถ่ายทอดงานเขียนแนววิทยาศาสตร์ในรูปแบบเรื่องสั้น และส่งเข้าร่วมประกวดในโครงการฯ

โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยและผู้สนใจ เกิดความตื่นตัวและสนใจในเรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์
และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านงานเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผลงานเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ
และสร้างเวทีเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจ ได้มีโอกาสทำความเข้าใจและสร้างเสริมจินตนาการไปกับองค์ความรู้อันหลากหลายทางวิทยาศาสตร์

การประกวดแบ่งออกป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ปรเภทเยาวชน (อายุตั้งแต่ 15 ปี แต่ไม่เกิน 25 ปี)
2. ประเภทประชาชนทั่วไป (ไม่จำกัดเพศ อายุ และวุฒิการศึกษา)
3. ประเภทกลุ่ม (2-3 คน นักเขียนร่วมกับนักวิทยาศาสตร์)

หมดเขตส่งผลงานเข้าประกวด วันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2561
กติกาการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3
ใบสมัครการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 ประเภทประชาชนทั่วไป
ใบสมัครการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 ประเภทเยาวชน
ใบสมัครการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 ประเภทกลุ่ม

จาก
http://www.nsm.or.th/index.php?option=com_k2&view=item&layout=item&id=6660&Itemid=423