โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 
และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด จัดทำ “โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4” ขึ้น เพื่อเป็นเวทีเปิดโอกาสให้ผู้ที่รักการเขียน และรักในวิทยาศาสตร์ใช้
จินตนาการถ่ายทอดงานเขียนแนววิทยาศาสตร์ในรูปแบบเรื่องสั้น และส่งเข้าร่วมประกวดใน “โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4” โดยท่านสามารถร่วม
กิจกรรมกับโครงการฯ ได้ 2 กิจกรรม ได้แก่ การอบรมพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสคร์ และ การประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 
(สามารถเข้าร่วมได้ทั้ง 2 กิจกรรมตามเกณฑ์การรับสมัคร)

ข้อมูลจาก http://www.nsm.or.th/event/competition/science-short-story.html

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ประเทศไทย ครั้งที่ 14

หัวข้อ การปฏิวัติอาหาร (Food Revolution)
วันที่ 10-30 พฤศจิกายน 2561
ณ โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา

เข้าสู่ช่วงเวลาของภาพยนตร์วิทยาศาสตร์อีกครั้ง กับเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ประเทศไทย ครั้งที่ 14 จัดขึ้นโดยสถาบันเกอเธ่ประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เป็นศูนย์จัดฉายในเขต จ.นครปฐม และมีโรงภาพยนตร์ศรีศาลายาเป็นสถานที่ในการจัดฉาย สำหรับหัวข้อในปีนี้ คือ “การปฏิวัติอาหาร (Food Revolution)” ซึ่งในเทศกาลจะมีทั้งภาพยนตร์ที่กล่าวถึงคุณค่าของอาหาร อาหารปลอดสารพิษ รวมถึงสำรวจประเด็นเกี่ยวกับโภชนาการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เราตระหนักถึงการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โดยจะจัดฉายควบคู่ไปกับนิทรรศการเกี่ยวกับการปฏิวัติอาหารที่หอภาพยนตร์จัดขึ้นเพื่อเพิ่มเติมความรู้ นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย

เทศกาลภาพยนตร์ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ประเทศไทย ครั้งที่ 14 ที่หอภาพยนตร์ จะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 10-30 พฤศจิกายน 2561 โดยทุกท่านสามารถรับชมภาพยนตร์ที่ได้รับการคัดเลือก รวม 21 เรื่อง จาก 7 ประเทศ ได้ตามโปรแกรมด้านล่างนี้ ในขณะที่คุณครูและนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ สามารถมาเข้าร่วมชมภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เหล่านี้พร้อมทั้งร่วมกิจกรรมสนุก ๆ จากทีมงานหอภาพยนตร์ ในช่วงวันจันทร์-ศุกร์ รอบเช้าและรอบบ่าย ตลอดเทศกาล หากทางโรงเรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและเช็กรอบเข้าชมได้ที่ 02 482 2013-14 ต่อ 110

รอบฉายเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ฯ ครั้งที่ 14 ณ โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา
(ภาพยนตร์ทุกเรื่องพากย์ภาษาไทย ยกเว้นเรื่อง ดิ่งสู่ดาวเสาร์ ภารกิจสุดท้ายของยานแคสสินี
ฉายในภาษาอังกฤษ มีคำบรรยายภาษาไทย)

โปรแกรมที่ ๑ (๘๒ นาที)
วันเสาร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ น.
วันอังคารที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๗.๓๐ น.

โปรแกรมที่ ๒ (๘๒ นาที)
วันเสาร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ น.
วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๗.๓๐ น.

โปรแกรมที่ ๓ (๘๐ นาที)
วันเสาร์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ น.
วันพุธที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๗.๓๐ น.

โปรแกรมที่ ๔ (๘๘ นาที)
วันเสาร์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๕.๐๐ น.
วันศุกร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๗.๓๐ น.

link รายละเอียด

อพวช. : โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 และ ขอเชิญผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรม “อบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์”

อพวช.(องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ) ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 และ “อบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์”

อบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์

โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 เปิดโอกาศให้ผู้ที่สนใจและมีความต้องการ
พัฒนาทักษะการเขียนของตนด้วย การอบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการอบรม
กำหนดจัดอบรม วันที่ 10 – 11 มีนาคม 2561 เวลา 10.00 น. – 17.30 ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช.
ชั้น 4 อาคารจัตุรัสจามจุรี ถ. พญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

หมดเขตสมัครเข้าอบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม 2561
รายละเอียดการอบรม
ใบสมัคร

จาก
http://www.nsm.or.th/index.php?option=com_k2&view=item&id=6661:2018-01-10-02-06-49&Itemid=167

และ

การประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด จัดทำ “โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3” ขึ้น เพื่อเป็นเวทีเปิดโอกาสให้ผู้ที่รักการเขียน และรักในวิทยาศาสตร์
ใช้จินตนาการ ถ่ายทอดงานเขียนแนววิทยาศาสตร์ในรูปแบบเรื่องสั้น และส่งเข้าร่วมประกวดในโครงการฯ

โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยและผู้สนใจ เกิดความตื่นตัวและสนใจในเรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์
และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านงานเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผลงานเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ
และสร้างเวทีเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจ ได้มีโอกาสทำความเข้าใจและสร้างเสริมจินตนาการไปกับองค์ความรู้อันหลากหลายทางวิทยาศาสตร์

การประกวดแบ่งออกป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ปรเภทเยาวชน (อายุตั้งแต่ 15 ปี แต่ไม่เกิน 25 ปี)
2. ประเภทประชาชนทั่วไป (ไม่จำกัดเพศ อายุ และวุฒิการศึกษา)
3. ประเภทกลุ่ม (2-3 คน นักเขียนร่วมกับนักวิทยาศาสตร์)

หมดเขตส่งผลงานเข้าประกวด วันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2561
กติกาการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3
ใบสมัครการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 ประเภทประชาชนทั่วไป
ใบสมัครการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 ประเภทเยาวชน
ใบสมัครการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 ประเภทกลุ่ม

จาก
http://www.nsm.or.th/index.php?option=com_k2&view=item&layout=item&id=6660&Itemid=423

NSTDA Academy : การนำปัญญาประดิษฐ์มาช่วยเสริมศักยภาพในการประกอบธุรกิจในยุคดิจิทัล

งานสัมมนา
“การนำปัญญาประดิษฐ์มาช่วยเสริมศักยภาพในการประกอบธุรกิจในยุคดิจิทัล :

Artificial Intelligence (AI) – Next move for the smarter business in the Digital Age.”

ไม่มีค่าใช้จ่าย
รับจำนวนจำกัด
ร่วมลุ้นรับรางวัล Lucky Draw ในช่วงสุดท้ายของงานสัมมนา !!!

Key Highlights
พบกับ ศ.ดร.ธนารักษ์ ธีระมั่นคง ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ซึ่งจะทำให้ท่านได้รู้จักกับ AI : Artificial Intelligence หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เพื่อให้มีความสามารถคล้ายกับมนุษย์ สามารถส่งเสริมกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ให้ได้ดียิ่งขึ้น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้จะถูกนำมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างชาญฉลาด ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่สำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล
ร่วมแบ่งปันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานและบริษัทชั้นนำที่ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุนการดำเนินงานรวมถึงการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและสามารถสร้างมูลค่าทางการตลาดได้อย่างน่าสนใจ อาทิ Amazon Web Services, Microsoft (Thailand) Limited, Ascend Corp, IBM (Thailand) Co.,Ltd., STelligence Co., Ltd.

กลุ่มเป้าหมาย
นักศึกษา นักวิชาการ บุคลากรภาคการศึกษา
บุคลากรและผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้สนใจทั่วไป

วันที่จัดสัมมนาฯ
วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2560 เวลา 9.00 – 16.30 น.

สถานที่จัดสัมมนาฯ
ห้องออดิทอเรียม CO113 ส่วนงานกลาง ชั้น 1 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

ค่าลงทะเบียน
ฟรี (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

หมายเหตุ
กรุณาลงทะเบียนภายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2560
ได้จัดเตรียมอาหารว่าง และอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมงานสัมมนาทุกท่าน
หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียนกรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างน้อย 3 วันทำการ ก่อนวันจัดงาน
ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง วิทยากรและกำหนดการตามความเหมาะสม
ขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกผู้เข้าร่วมงานสัมมนา

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Call Center: 0 2644 8150 ต่อ 81901 (คุณธนัท), 81902 (คุณสิริชุดา)
E-mail: itpe@nstda.or.th

ref : https://www.nstdaacademy.com/webnsa/index.php/integratedhrd/ait2017-1

Sci fi day 2017 : 40ปี สตาร์วอร์ส

ขอแจ้งข่าวให้ทราบว่าทางชมรมจะจัดกิจกรรมวัน Sci fi day ขึ้นใน
วันเสาร์ที่6 พฤษภาคม 2560
เนื่องในโอกาส ฉลองครบรอบ 40ปี ภาพยนตร์สตาร์วอร์ส
ณ ห้องประชุมกาลิเลโอ จตุรัสวิทยาศาสตร์ จามจุรีสแควร์ ชั้น4 สามย่าน
งานจะเริ่มตั้งแต่เวลาเที่ยงครึ่ง ถึงบ่าย4โมง

แต่ถึงแม้จะจัดงานในคราวนี้เพื่อร่วมฉลอง ครบรอบปีที่40ของภาพยนตร์เรื่อง สตาร์วอร์ส แต่เรื่องหลักๆที่พวกเรามาพบปะพูดคุยกัน ก็ยังอยู่ในนประเด็นการส่งเสริมและพัฒนาวงการเขียนการอ่าน นิยายวิทยาศาสตร์ของไทย

ดังนั้นทางชมรมจึงขอเรียนเชิญนักเขียนทั้งนวนิยาย เรื่องสั้นเรื่องยาว นิยายภาพ นักทำอะนิเมชัน ทำภาพยนตร์ ทั้งมืออาชีพมือสมัครเล่น โปรแกรมเมอร์ เกมเมอร์ นำผลงานมาโชว์ มาเล่าสู่กันฟัง

ในงานจะมีของสะสม ของที่ระลึกและหนังสือราคาไม่แพง มาจำหน่าย โดยแฟนคลับกลุ่มต่างๆ ของชมรม

สำหรับท่านผู้ที่มีผลงานหนังสือนิยายวิทยาศาสตร์ซึ่งพิมพ์ออกมาจำหน่ายแล้ว ทางชมรมก็ขอเรียนเชิญ นำผลงานของท่านมาวางจำหน่าย มาประชาสัมพันธ์ในงานนี้ได้

ส่วนนักเขียนรับเชิญ อาจารย์ชัยวัฒน คุประตะกุล (ชัยคุปต์) ก็รับปากจะแวะมาร่วมสนุกด้วยแน่นอน

อ่านเพิ่มเติม “Sci fi day 2017 : 40ปี สตาร์วอร์ส”

ประชุมกรรมการชมรมฯ และวันครบรอบ 11ปี ชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทย

วันที่ 27สิงหาคม ที่ผ่านมา
ณ ศูนย์การค้า สุพรีม คอมเพล็กซ์ สามเสน

ถือเป็นการประชุมกรรมการ ติดตามความคืบหน้าโครงการต่างๆ และ เลี้ยงวันเกิดชมรมฯไปพร้อมกันเลยทีเดียว

Juno : Countdown to Jupiter Orbit Insertion Maneuver

https://www.nasa.gov/mission_pages/juno/main/index.html

ยานอวกาศจูโน (อังกฤษ: Juno) เป็นภารกิจเขตแดนใหม่ของนาซา ไปยังดาวเคราะห์ดาวพฤหัสบดี จูโนถูกปล่อยขึ้นจากสถานีกองทัพอากาศเคปคานาเวอเรล ในวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2011 และจะไปถึงในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 2016(เวลา อเมริกา ) เป็นยานอวกาศที่จะอยู่ในวงโคจรขั้วโลก เพื่อศึกษาองค์ประกอบของดาวพฤหัสบดี ,สนามแรงโน้มถ่วง ,สนามแม่เหล็ก และแม็กนีโตสเฟียร์ขั้วโลก ยังค้นหาประเด็นเกี่ยวกับวิธีการที่มันเกิดขึ้น ,รวมถึงว่าดาวพฤหัสบดีที่มีแกนหิน , ปริมาณน้ำปัจจุบันในชั้นบรรยากาศที่ลึกลงไป และวิธีการที่มวลของมันกระจาย

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%99

จับตาการเปลี่ยนแปลง สนามแม่เหล็กโลก ขนลุก “อาจมีสลับขั้ว”

จากภาพ ฝูงดาวเทียมสวอร์มขององค์การอีซา ประกอบด้วยดาวเทียมสามดวง คอยตรวจวัดความเข้มและความเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กโลกด้วยความละเอียดแม่นยำสูง
(จาก ESA/ATG Medialab)

โลกเรามีสนามแม่เหล็กห่อหุ้มทั่วทั้งดวง สนามแม่เหล็กโลกมีบทบาทสำคัญในการเป็นเกราะปกป้องบรรยากาศของโลกจากลมสุริยะ
แต่สนามแม่เหล็กของโลกมิใช่สิ่งที่คงที่ถาวร บางครั้งอาจมีการสลับขั้วขึ้น จากขั้วเหนือเป็นขั้วใต้ จากขั้วใต้เป็นขั้วเหนือ นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานการสลับขั้วแม่เหล็กโลกในอดีตมาแล้วหลายครั้ง
อ่านเพิ่มเติม “จับตาการเปลี่ยนแปลง สนามแม่เหล็กโลก ขนลุก “อาจมีสลับขั้ว””

นิทรรศการ 3,000 ล้านปีของสิ่งมีชีวิต

ขอเชิญชวนร่วมนิทรรศการ 3,000 ล้านปีของสิ่งมีชีวิต
ณ ลานสานฝัน อุทยานการเรียนรู้ TK park
ระหว่างวันที่ 4 – 12 มิถุนายน 2559
11:00 – 17:00

นิทรรศการ 3,000 ล้านปีของสิ่งมีชีวิต

ค้นหาคำตอบถึงความมหัศจรรย์ของสิ่งมีชีวิตในโลกใบใหญ่ ปัจจัยของการกำเนิดโลก และสิ่งมีชีวิต วิวัรฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่น่าทึ่ง พร้อมพบกับสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ที่จะจุดประกายการเรียนรู้ให้กับทุกเพศทุกวัย
• ชมสิ่งมีชีวิตหลากสายพันธุ์ ที่มีพร้อมลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่หาดูได้ยาก
• สนุกไปกับเรื่องราวที่มาของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ที่มีวิวัฒนาการมายาวนานกว่าสามพันล้านปีก่อน
• พบความเชื่อมโยงของสิ่งมีชีวิตกับระบบนิเวศ ที่เชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก
นิทรรศการ3,000 ล้านปีของสิ่งมีชีวิต เน้นเรื่องราวของการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ตื่นตาไปกับตัวอย่างสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด จากนั้นจะมีการให้ข้อมูลเรื่องราวของความแตกต่างของสิ่งมีชีวิต เชื่อมโยงสู่เนื้อหาของการวิวัฒนาการ และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานในวันที่จัดงานจะมีการนำสิ่งมีชีวิตมาจัดแสดงแตกต่างกันตามแต่ละอาทิตย์โดยวันที่ 4-5 มิถุนายน 2559 จะเป็นกลุ่มสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกและสัตว์เลื้อยคลาน

ข้อมูล จาก มติชนออนไลน์ วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน 2559
อ้างอิง http://www.matichon.co.th/news/157832

“ปิดเทอมนี้ สนุกคิด สนุกเรียนรู้ สู่อนาคต” ยกทัพ 24 กิจกรรมโดนใจเยาวชนทั่วประเทศ

เห็นข่าวน่าสนใจดี เลยเอามาฝากครับ

ปิดเทอมนี้ สนุกคิด สนุกเรียนรู้ สู่อนาคต

gravitational wave

ลงข่าวย้อนหลัง ครับ

ฮือฮา! นักวิทย์พบ ‘คลื่นความโน้มถ่วง’ มีจริง พิสูจน์ทฤษฎี 100 ปี ของไอน์สไตน์

เปิดใจคนไทย 1 เดียวใน LIGO หอสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วง (ชมคลิป)

เจาะคำทำนาย 100 ปี ไอน์สไตน์ คลื่นความโน้มถ่วงคือ?

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดรับสมัครร่วมเวิร์คช็อปฟรี!กับนักเขียนรางวัลซีไรต์

เห็นว่า น่าสนใจดีครับ
เลยเอามาฝาก

ดั๊บเบิ้ล เอ กระดาษจากคันนา เชิญชวนน้อง ๆ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ร่วมกิจกรรม A to a เรียนรู้และเวิร์คช็อป “อาชีพนักเขียน” กับคุณวุฒิชาติ ชุ่มสนิท นามปากกา บินหลา สันกาลาคีรี นักเขียนรางวัลซีไรต์ เจ้าของผลงาน “เจ้าหงิญ” ในวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2558 ที่อาคารดั๊บเบิ้ล เอ บุ๊ค ทาวเวอร์ ถ.สาทร 12 เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยเขียนเรื่องสั้น ความยาวไม่เกิน 1 หน้า A4 ไม่จำกัดหัวข้อ เพื่อคัดเลือกผู้รับสิทธิ์อบรมฟรีจำนวน 30 คน หมดเขตส่งผลงานเรื่องสั้นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Facebook Double A Club หนึ่งในกิจกรรมดี ๆ จากโครงการ Double A Better Tomorrow ปลูกฝัน ปลูกปัญญา เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกหลานชาวนาและเยาวชน ก้าวสู่อาชีพในฝัน

http://www.doubleapaper.com/th/news-details/831-a-to-a-free-workshop-with-sea-write-writers

ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์

อพวช. จับมือ 3 หน่วยงาน เฟ้นหานักเขียนรุ่นใหม่หัวใจวิทย์ ชวนประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ เปิดตัวในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ 2558

17 พฤศจิกายน 2558 – อิมแพ็ค เมืองทองธานี / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย จัดโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ เปิดสมอง กระตุ้นจินตนาการสร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชน และสังคมไทยหันมาสนใจเรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านงานเขียน ชวนนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ส่งเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์เข้าประกวด หมดเขตรับสมัครผลงานภายในวันที่ 1 เมษายน 2559 และประกาศผลการตัดสิน วันที่ 1 กรกฏาคม 2559

อ่านเพิ่มเติม “ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์”

Bangkok Creative Writing Workshop 4 : Writing Dystopia

ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้ารับการฟังบรรยาย Bangkok Creative Writing Workshop 4
วันที่ : 10 กรกฎาคม – 11 กรกฎาคม 2558
สถานที่: ห้อง Friends of bacc ชั้น 6 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
แผนที่

ในวันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2558 บรรยายพิเศษในหัวข้อ “นิยายไซ-ไฟไทย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ชัยวัฒน์ คุประตกุล ในเวลา 15.00 – 16.30 น. ณ ห้อง Friends of bacc ชั้น 6
(เน้นที่อันนี้ครับ เพราะจะตรงกับหัวข้อ Sci-Fi โดยตรง ครับ)

และในวันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม 2558 บรรยายพิเศษในหัวข้อ “ศาสตร์เรื่องสั้น” โดย คุณจำลอง ฝั่งชลจิตร ในเวลา 13.00 – 14.30 น. ณ ห้อง Friends of bacc ชั้น 6

**ไม่มีค่าใช้จ่ายในการร่วมฟังบรรยาย**
** ไม่ต้องสำรองที่นั่ง**

สอบถามรายละเอียด โทร. 02 214 6630 ต่อ 530 –

(อ้างอิง)
http://www.bacc.or.th/event/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2-Bangkok-Creative-Writing-Workshop-4–Writing-Dystopia.html

โครงการประกวดภาพยนตร์สั้นวิทยาศาสตร์ “Short Science Film”

วันที่ : 14 กรกฎาคม 2558
สถานที่: ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
แผนที่

โดย อพวช.และไทยพีบีเอส
เวลา 12.30 – 16.00 น.

รายละเอียดกิจกรรม

12.30 – 13.00 น. ลงทะเบียนและร่วมกิจกรรม Mini Exhibition
13.00 – 13.30 น. พิธีกรกล่าวทักทายแนะนำโครงการฯ เชิญตัวแทนจาก อพวช. กล่าวถึงรายละเอียดโครงการฯ, VTR “Time Space Machine Monster”
13.30 – 14.30 น. เริ่มกิจกรรมเสวนา “Time Space Machine Monster 4 สิ่งพิศวงในหนังวิทยาศาสตร์”
14.30 – 15.30 น. Mini Workshop เทคนิคการคิดพล็อตหนังสั้นวิทยาศาสตร์ โดย คุณชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล (มะเดี่ยว)
15.30 – 16.00 น. ให้รายละเอียดการรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ

สนใจเข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ “Time Space Machine Monster 4 สิ่งพิศวงในภาพยนตร์วิทยาศาสตร์”
ลงทะเบียนผ่านทาง E-mail: ShortScienceFilm@Thaipbs.or.th
รับข้อมูลข่าวสารผ่านทาง Facebook: www.facebook.com/shortsciencefilm2015

– See more at: http://www.bacc.or.th/event/Short-Science-Film.html#sthash.rAg8wArJ.dpuf

อ้างอิง
http://www.bacc.or.th/event/Short-Science-Film.html