Conflict ในตัวละครหลักกับปัญหา Problem ที่ตัวละครต้องเจอ

ผมสงสัยอยู่อย่างนึงครับ

Conflict ในตัวละครหลักกับปัญหา Problem ที่ตัวละครต้องเจอมันอันเดียวกันไหม?

จำเป็นไหมที่ทุกครั้ง เรื่องจะต้องมีปัญหาให้ตัวละครแก้

รบกวนยกตัวอย่างให้หน่อยครับ ขอบคุณครับ

 

ยูเรนัส

สร้างภาพ ฉาก แอ็คชั่นของตัวละครในความคิด ละเอียดแค่ไหนก่อนเขียนออกมา?

วันนี้ตั้งประเด็นคุยเรื่องเบาๆครับ

เคยสังเกตมั้ยครับว่า เวลาตัวเองเขียนเรื่องสั้นไซไฟหรือนิยายไซไฟ ได้ใช้จินตนาการสร้างภาพรายละเอียดในความคิดให้เห็นภาพทุกรายละเอียดได้มากแค่ไหนก่อนจะเขียนบรรยายสิ่งที่อยู่ในความคิดออกมา

การเขียนลงรายละเอียดเกินไปอาจจะทำลายจินตนาการของคนอ่าน? คิดว่าจริงมั้ยครับ

ขอบคุณสำหรับทุกความเห็นครับ

เขียนอย่างไรให้ได้ “อารมณ์” ในนิยายไซไฟ?

ขออนุญาตเปิดประเด็นในหัวข้อ เขียนอย่างไรให้ได้”อารมณ์”ในนิยายไซไฟ ครับ

เคยสังเกตมั้ยครับว่า นิยายหรือเรื่องสั้นบางเรื่อง อ่านแล้วสนุกวางไม่ลง ลื่นไหล ได้อารมณ์มากๆ (อารมณ์สนุกนะครับ ไม่รวมอารมณ์อย่างอื่น แหะๆ)

ขณะเดียวกันก็มีนิยายไซไฟ หรือเรื่องสั้นไซไฟบางเรื่อง อ่านแล้วจืดชืดสิ้นดี เหมือนกินก๋วยเตี๋ยวแต่ขาดเครื่องปรุงอะไรประมาณนั้น แต่แก่นของเรื่องหรือ idea ที่ผู้เขียนนำเสนอสุดเจ๋งเอามากๆจนทึ่งว่า เขาคิดได้ยังไง

ผมจะไม่กล่าวถึงองค์ประกอบเรื่องอื่นนะครับนอกจาก”ภาษา”ที่นักเขียนนำมาใช้

ถ้าเรามองในตัวภาษา… เราต้องเลือกคำมาเขียนให้คนอ่านได้อารมณ์ร่วมไปด้วย? แล้วเจ้าคำที่ว่านี่ในความคิดของเพื่อนๆ น้องๆ จำเป็นมั้ยครับว่า ต้องเป็น”คำที่แสดงความรู้สึกของตัวละครเพียงอย่างเดียว” หรือต้องบรรยายแอ็คชั่นตัวละครเยอะๆ ใช้ภาษาที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวขึ้นในความคิด จินตนาการของคนอ่าน หรือมีคำชนิดอื่นๆด้วย? คิดเห็นอย่างไรครับ

โดยส่วนตัวผมคิดว่าเรื่องนี้สำคัญมากๆครับ ต่อให้เรื่อง plot ดีหรือ idea เจ๋งแค่ไหน ถ้าอ่านแล้วแห้งๆ โอกาสที่คนอ่านจะวางงานเรา (เอาไว้ก่อน) ทิ้งเพื่อรออ่านต่อนี่สูงมากๆ

ถาม คคห. จากเวปมาสเตอร์, ท่านประธานชมรม ,คุณ หูโน, Zhivago, คุณนิราจ และเพื่อนๆท่านอื่นด้วยครับ มาแชร์ไอเดียกัน

 

จิตนาการกับความคิดสร้างสรรค์

คุณHooNo2000 หยอดประเด็นไว้
ผมเลยขอเปิดเป็น post ใหม่เลย เพราะน่าจะมีประเด็นถกเถียงกันได้เยอะ

ผมมองว่า คนที่จะมี จิตนาการกับความคิดสร้างสรรค์ ได้ ต้องเป็นคนที่สามารถ “ตั้งคำถาม” ได้
ยิ่งชอบถาม ยิ่งสร้างจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์

จะเห็นว่า
วลีที่นิยมใช้สร้างนิยายวิทยาศาสตร์ ก็เป็นคำถาม นั่นคือ what if… นั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม “จิตนาการกับความคิดสร้างสรรค์”

คู่มือการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์(1): วิทยาศาสตร์ในนิยายวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ในนิยายวิทยาศาสตร์
โดย รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล

นิยายวิทยาศาสตร์: จินตนาการไม่จำกัด
1. อะไรจะเกิดขึ้น/ถ้า…
2. ถ้าเพียงแต่…
3. ถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นต่อๆไป…
อ่านเพิ่มเติม “คู่มือการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์(1): วิทยาศาสตร์ในนิยายวิทยาศาสตร์”

คู่มือการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์(2): พัฒนาการและแนวเรื่องของนิยายวิทยาศาสตร์

พัฒนาการและแนวเรื่องของนิยายวิทยาศาสตร์
โดย รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล

(คัดลอกจากส่วนหนึ่งของบทความเรื่อง “พัฒนาการและแนวเรื่องของนิยายวิทยาศาสตร์ นิตยสารอัพเดท ฉบับที่ 151 เดือนมีนาคม พศ.2543)

พัฒนาการของนิยายวิทยาศาสตร์โลก
นิยายวิทยาศาสตร์แบ่งโดยทั่วๆไปออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ คือ นิยายวิทยาศาสตร์เชิงแฟนตาซี หรือ science fantasy และนิยายวิทยาศาสตร์จริงๆ หรือ science fiction ซึ่งมักจะเรียกกันสั้นๆเพียงนิยายวิทยาศาสตร์
ในส่วนของนิยายวิทยาศาสตร์จริงๆหรือ science fiction ยังแบ่งออกได้เป็นอีกสองประเภทใหญ่ๆ คือ hard science fiction และ soft science fiction

นิยายวิทยาศาสตร์เชิงแฟนตาซีเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่ผู้เขียนสามารถจินตนาการได้อย่างไม่มีขีดจำกัด เช่น การสร้างโลก สร้างจักรวาล สร้างมนุษย์ สร้างสัตว์ สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งวิทยาศาสตร์ได้ตามใจชอบ ที่มีกันมากคือ เรื่องเชิงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เหนือธรรมชาติ เรื่องของเทพเจ้า เรื่องของสัตว์ประหลาด ดังเช่น มังกรและอาวุธวิเศษในตำนานหรือเทพนิยาย เรื่องการผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์ เรื่องของอำนาจเหนือธรรมชาติ (ที่ไม่ใช่ไสยศาสตร์บริสุทธิ์)

นิยายวิทยาศาสตร์ประเภท hard science fiction เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่อ้างอิงกฎเกณฑ์และหลักการต่างๆของวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ ส่วนนิยายวิทยาศาสตร์ประเภท soft science fiction เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่ไม่เน้นกฎเกณฑ์และหลักการต่างๆของวิทยาศาสตร์จริงๆ ดังเช่น hard science fiction แต่เน้นบทบาทและผลกระทบของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อมนุษย์
อ่านเพิ่มเติม “คู่มือการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์(2): พัฒนาการและแนวเรื่องของนิยายวิทยาศาสตร์”

เรื่องสั้นคืออะไร


เรื่องสั้น
เป็นวรรณกรรมประเภทหนึ่ง ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกมีความยาวประมาณ 1000-10000 คำ ส่วนไทยเราก็กำหนดความยาวของเรื่องว่าประมาณ 5 ถึง 8 หน้า อาจจะสั้นกว่าหรือยาวกว่านั้น ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องสั้นอยู่ เช่น บางเรื่องอาจยาวเพียง 1 หน้ากระดาษฟูลสแก๊ป เรียกว่าเป็นเรื่องสั้นขนาดสั้น ถ้าเรื่องยาวมากถึงขนาด 4 ตอนจบ ก็เรียกว่าเรื่องสั้นขนาดยาว ผู้เขียนเขียนขึ้นโดยใช้จินตนาการของตนเองอย่างสมจริงสมจัง มีขนาดสั้น ตัวละครไม่มาก ดำเนินเรื่องด้วยความรวดเร็วและมีจุดมุ่งหมายเดียวโดยอาศัยศิลปะการเขียนที่ ชวนให้น่าอ่านและมีคติธรรมแทรก มีลักษณะพิเศษเฉพาะที่น่าสนใจเพราะมีศิลปะการแต่งผิดไปจากเรียง ความ ประเภทอื่น คือเรื่องสั้นจะมีจุดหมายซึ่งแสดงความคิดอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงข้อเดียว
อ่านเพิ่มเติม “เรื่องสั้นคืออะไร”