ขอถามหน่อยครับ

นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ไทยมีน้อยคนนับนิ้วได้ ทีนี้ผมอยากทราบว่าแล้วผู้อ่านยังมีความต้องการเสพนิยายวิทยาศาสตร์ไทยมากน้อยแค่ไหน มีนิตสารอะไรที่ตีพิมพ์นิยายวิทยาศาสตร์ไทยบ้างนอกจาก update ครับ ขอบคุณครับ

13 ความเห็นบน “ขอถามหน่อยครับ”

  1. ความต้องการเสพนิยายวิทยาศาสตร์ไทย: ยังมีอยู่ครับ

    ปัญหาหนึ่งก็คือกระแสนิยายแฟนตาซีตอนนี้มาแรงมากจนเบียดกระแสนิยายวิืทยาศาสตร์ตกลงไปมาก กระแสที่ตกลงไปอ่านมีมาก่อนการ “บูม” ของนิยายแฟนตาีซีก็เป็นได้ แต่ถึงที่สุด ในชั้นหนังสือตอนนี้มีแต่นิยายแฟนตาซีเสียเป็นส่วนใหญ่

    อีกปัญหาหนึ่งก็ืคือผู้อ่านส่วนหนึ่งเลือกอ่านเฉพาะนิยายวิทยาศาสตร์แต่จะไม่อ่านนิายนแฟนตาซี (ผมคนหนึ่งครับ) ยิ่งงานเขียน(ของไทย) ที่เห็นกันอยู่ว่ามีน้อยมาก งานแปลยิ่งมีน้อยลงไปอีก ยิ่งงานรุ่นใหม่ก็หาอ่านได้ยากขึ้นทุกที แฟนที่ติดตามอ่านส่วนหนึ่งก็ขยับขยายไปอ่านหนังสือแนวอื่น (ผมด้วย)

    …ขออนุญาตไปส่งลูกก่อน เดี๋ยวมา post ต่อครับ

  2. จุดเด่นของนิยายวิทยาศาสตร์คืออะไร?
    ทำไมเราถึงชอบมัน?
    จริงๆแล้วผมไม่เคยตั้งคำถามนี้กับตัวเองเลยนะ

    ตอนแรกที่ผมเริ่มอ่าน(แล้วติด) น่าจะมาจากการหักมุม
    แล้วเป็นการหักมุมแบบที่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์รองรับด้วย
    (ไม่ใช่การหักมุมแบบที่ผู้เขียนนึกจะให้เป็นอะไรก็เป็น … เฉยๆแบบนั้น)
    อ่านแล้วมันเปิด มุมมอง หรือ วิธีคิดอะไรใหม่ๆ บางอย่าง
    หรือแม้แต่การสร้างข้อโต้แย้งบางอย่าง
    จริงๆแล้ว นิยาย ในระดับ วรรณกรรม มักมีแนวคิดทางปรัชญา แฝงอยู่ด้วย อยู่แล้ว (เกี่ยวอะไรด้วยหว่า)

    นิยายแฟนตาซี สร้าง จินตนาการ แต่ไม่ค่อยสร้างเหตุผล (อะไรก็เกิดขึ้นได้)
    นิยายทั่วๆไป ใช้ จินตาการของผู้เขียน สร้าง ประสบการณ์บางอย่างให้แก่ ผู้อ่าน
    ให้ จินตนาการ ได้ระดับหนึ่ง (สภานที่ที่ไม่เคยไป ประสบการณ์ที่ไม่เคยเจอ) ให้เหตุผลได้ระดับหนึ่ง

    นิยายวิทยาศาสตร์
    ให้ จินตนาการ (สถานที่ที่ไม่มีใครเคยไปมาก่อน)
    ให้เหตุผล (เพราะต้องอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ ถึงแม้จะดูไม่น่าเป็นไปได้ก็ตาม)

    นิยายวิทยาศาสตร์ ปัจจุบัน พูดถึง อนาคต ที่สั้นลงเรื่อยๆ
    อาจจะเป็นเพราะเราเริ่มนึกกันไม่ค่อยออกแล้วว่า สิ่งที่เป็นไปไม่ได้อะไร ที่ยังหลงเหลืออยู่

    ว้า เริ่มเพ้อเจ้อ

    สรุปว่า ชอบงานที่กระตุ้นความคิดมากๆ (ทั้งเหตุการณ์ และ เหตุผล)
    กลุ่มที่ชอบงานเหล่านี้ มีมากน้อยแค่ไหน และ ทำไม
    อันนี้ ผมถามตัวเอง

    รู้สึกจะยังไม่ได้ตอบ คุณHooNo2000 เลยนะ 😛

    สรุป(อีกที)
    นิยายที่ดี ก็อยากอ่านครับ
    นิยายวิทยาศาสตร์ที่ดี ก็อยากอ่านครับ
    มากน้อยแค่ไหน -> ไม่ทราบครับ
    นิตสารอะไรที่ตีพิมพ์นิยายวิทยาศาสตร์ไทยบ้าง -> ไม่ทราบครับ
    เพราะผมเข้าใจเอาเองว่า บางครั้ง นิยายวิทยาศาสตร์ แฝงตัวอยู่ในงานเขียนที่ไม่ได้ลงใน นิตสารที่ตีพิมพ์นิยายวิทยาศาสตร์ โดยตรง
    (งานของคุณอะไรจำไม่ได้แล้ว เป็น dj และ พิธีกรหญิง เขียนหนังสือหลายเล่มเหมือนกัน ผมอ่านงานของเธอใน เปรียว เป็นเรื่องเกี่ยวกับ มนุษย์โคลน และการฆาตกรรม ซึ่งผมชอบมาก)

    ตัดจบดื้อๆแบบนี้แหล่ะ

  3. ที่ผมตั้งกระทู้แบบนี้เพราะว่าสงสัยในพันธะกิจของชมรม ตลาดนิยายวิทยาศาสตร์ในบ้านเรา หรือทั่วโลกก็เป็นได้(ตามที่ ดร.ชัยคุปต์กล่าว) หดตัวลงเรื่อยๆ และตามที่ คุณหมอ Zhivago กับ คุณนิราศ(ใช่ไหมครับ) กล่าว จากที่ผมดูกระทู้เก่าๆ ชมรมมักเน้นกิจกรรมกระตุ้นการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์มากกว่าซึ่งดูจะสวนทางกับตลาดที่หดตัวลง ทำให้มีนักเขียนบางท่านเลิกเขียนนิยายแนวนี้ไปตามที่ท่าน U กล่าวไว้

    http://thaiscifi.izzisoft.com/?p=1073&cpage=1#comment-473

    มีผลวิจัยของกสิกรไทยว่า ในอนาคตกระดาษจะใช้ลงลดเนื่องจากใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกมากขึ้น (แม้จะมีการใช้ในบรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้นก็ตาม) ในตลาดเห็นแต่ update ที่ยังยืนหยัดอยู่บนแผงได้(ไม่รวมวารสารจากคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ + กระทรวงวิทยาศาสตร์)แต่ไม่รู้จะอยู่ได้อีกนานแค่ไหน (ขอถามท่าน U และท่านจัตวาลักษณ์ด้วยครับเนื่องจากใกล้ชิดกับกองบก.)

    อีกทั้งหลังยุคสงครามเย็น องค์การนาซ่าก็ได้รับงบประมาณน้อยลง ยิ่งเจอวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ยิ่งได้รับงบน้อยลงทำให้ข่าวที่น่าสนใจในอวกาศและวิทยาศาสตร์น้อยลงไปด้วย

    ข่าวเกี่ยวกับ IT ดูจะเข้ามากลบข่าววิทยาศาสตร์ไปเกือบหมด

    ฤา เมืองไทยจะเลิกสนับสนุนวิทยาศาสตร์ เพราะเห็นแต่โรงเรียนสองภาษา สามภาษา เกิดเยอะมาก

    และสุดท้ายนักเขียนอาชีพจะมีพื้นที่ยื่นหรือไม่ หรือจะเหลือแต่นักเขียนสมัครเล่นที่เขียนแบบไม่หวังผลตอบแทน เขียนลงประปรายตามเว็ปต่างๆ

    ในความรู้สึกลึกๆ รู้สึกว่า ที่ส่งประกวดกันก็มีแค่เท่าที่ประกาศออกมานั่นจริงไหม เพราะไม่เห็นคนตกรอบมาคุยกันบ้างเลย และกรรมการที่ตัดสินเหลือแต่พี่วรากิจคนเดียวหรือเปล่า ฮา

    อยากจะขอเรียนถามท่านพี่ วรากิจ จะพอสละเวลาลงมาไขข้อข้องใจเล็กๆต่อทิศทางชมรมได้ไหมครับว่าจะเดินหน้าไปทางใด ขอบคุณล่วงหน้าครับ

  4. คุณ NiRaj ครับ ถูกใจอย่างแรงเช่นกันครับ

    อย่างน้อยก็มีนิตยสารเปรียวเล่มหนึ่งนอกจาก update ใช่ไหมครับที่รับลงเรื่องสั้น นิยายวิทยาศาสตร์ ขอบคุณครับ

  5. ผมไม่ยักทราบว่่า “เปรียว” รับนิยายแนววิทยาศาสตร์ลงด้วย เป็นความรู้ใหม่ครับ

    นิยายวิทยาศาสตร์ เห็นด้วยกับทุกๆ คนครับ ต่างกรรมต่างวาระกัน กล่าวคือ

    มันยากครับ เพราะมันต้องใช้เหตุผลบวกกับจินตนาการ เด็กไทยไม่ค่อยถูกสอนให้ใช้เหตุผล สอนแต่ท่องจำ แล้วให้เชื่อผู้ใหญ่ “ห้ามเถียง” ทำๆ ไปเถอะ ไม่ต้องคิด อะไรประมาณนั้น เด็กไทยจึงเรียนเก่งครับ เพราะจำได้ดี จำได้แม่น ไปแข่งขันโอลิมปิกวิทยาศาสตร์อะไรก็ได้เหรียญทอง

    แต่ถ้าต้องให้คิดเชิงประยุกต์ แถมใช้เหตุผลแบบวิทยาศาสตร๋ น่าจะไม่รอด

    ไปอ่านแฟนตาซีดีกว่าครับ สนุกดี บ้าให้สุดๆ ไปเลย เหตุผลรองรับอะไรไม่ต้องมีมากเท่าไร ขอให้เชื่อเอาไว้ก่อนว่า มีหินวิเศษก้อนหนึ่งที่… อะไรแบบนี้ อ่านแล้วก็เข้าใจง่ายด้วย ไม่ต้องใช้ความพยายามมากเท่าไรก็เสพได้ รับได้แล้ว

    นิยายวิทยาศาสตร์ก้เลยหดตัวลง มันก็กระแสของทั้งโลก แต่กับเด็กไทยนี่อาจจะมากหน่อย อ้าว…ตลาดคนอ่านหดตัวลง สำนัหพิมพ์ที่ไหนจะพิมพ์งานนิยายวิทยาศาสตร์ออกมาขายกันล่ะ ขาดทุนตาย ไม่พิมพ์ดีกว่า

    สำนักพิมพ์ไม่พิมพ์งาน ก็ไม่มีงานให้เสพ รวมพลังกับเด็กรุ่นใหม่ก็ไม่ชอบเสพ ก็เรียบร้อยครับ คนเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ก็เลยหาที่ “ปล่อยแสง” ไม่ได้ คนไม่รู้จัก ขายงานไม่ได้ ก็จนครับ จนแล้วก็เครียด ก็เลยเลิกเขียนดีก่า…

    ตายกันไปก่อนที่จะคิดว่า จะสร้างสรรค์งานนิยายวิทยาศาสตร์ให้กลายเป็นงาน “วรรณกรรม” ได้อย่างไรเสียอีกครับ

    แลกเปลี่ยนความเห็นกันนะครับ อย่าซีเรียส…

  6. จน เครียด เขียนนิยายวิทยาศาสตร์ จน เครียด เขียนนิยายวิทยาศาสตร์ จน เครียด ….

    ชอบครับ เสียดสีได้ดีจริงๆครับ ท่านจัตวาลักษณ์

    อ่านแล้วเข้าใจเลย ว่าอยู่ที่การศึกษา จากที่ ท่าน Zhivago กับ ท่าน NiRaj กล่าวไว้ นิยายวิทยาศาสตร์สนุกที่ได้คิดไปกับมันแล้วตอนจบต้องอุทาน “เหวอ คิดได้ไง” แต่กับเด็กสมัยนี้ ไม่คิดครับ คิดไม่เป็นแล้ว เลยอ่านไม่สนุก อ่านอย่างไรก็ไม่สนุก มีแต่ปวดหัวๆหนึบๆ เอามันออกไปห่างๆ เอามันออกไปจากแผงเดี๋ยวนี้

    ถ้าตราบใดการศึกษาไทยยังนกแก้วนกขุนทองก็เป็นอย่างนี้แหละ ว่าแล้วก็คิดถึงตอนเป็นเด็ก เวลาสอบวิชาพวกสังคมประวัติศาสตร์ทำไมได้คะแนนน้อยทุกที เพราะข้อสอบมันออกมาทำนอง สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสระภาพในวันที่เท่าไหร่ เราก็ไม่อยากเป็นพจนานุกรมเคลื่อนที่ก็ไม่ยอมจำ คิดแต่ว่าทำไมข้อสอบไม่ออกทำนองวิเคราะห์ประวัติศาสตร์แทน

    คนเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ก็เลยหาที่ “ปล่อยแสง” ไม่ได้ <— เด็ดมาก

    ผมว่า aday น่าจะรับด้วยนะครับ

    ไม่เฉพาะไซ-ไฟ ไทยหรอกนะ แต่เป็นไซ-ไฟทั้งโลก ที่พร้อมใจกันค่อยๆ ลดพื้นที่ไปจากเวที “วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์” บรรณาธิการ และคอลัมนิสต์แห่งอะเดย์ ระบุว่า ความเป็นไปของนิยายวิทยาศาสตร์ สะท้อนความสนใจของคนในยุคที่หมดความสนใจโลกอวกาศ แต่หันมาสนใจกับเรื่องเล็กๆ ใกล้ตัว คือ นาโน และไซเบอร์สเปซ นิยายวิทยาศาสตร์ยุคนี้จึงไม่ค่อยออกไปนอกโลก ไซ-ไฟกลายเป็นนิยายตกขอบ ส่วนเทรนด์ที่กำลังมาคือ แฟนตาซี-โรมานซ์ ผลพวงจากแวมไพร์ (รูปหล่อ) ในทไวไลต์นั่นเอง

    จากหนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์

    วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

    เป็นว่าคนรุ่นเก่ายังชอบอ่านกันหลายคนใช่ไหมครับ แต่คนรุ่นใหม่คงจะน้อย ต้องถามเจ้า maze ซะหน่อยเพราะเป็นคนรุ่นใหม่

    คนเขียนหนังสือไม่ว่าจะอาชีพหรือสมัครเล่นย่อมใฝ่ฝันจะได้รับรางวัลหรือมีผลงานตีพิมพ์ทั้งนั้น แต่เวทีไม่มีที่ยืน หนังสือไม่โควต้า ไซไฟไทย โดนหลุมดำเล่นงานซะแล้ว

  7. กรณี เปรียว นี่ ผมเข้าใจว่าเขาลงเพราะคนเขียนครับ (จำชื่อไม่ได้จริงๆ รู้แต่ว่าเป็นผู้หญิง)
    editor คงไม่สนใจหรอกว่ามันเป็นนิยายวิทยาศาสตร์หรือเปล่า
    แล้วมันก็นานมากแล้วด้วย ครับ
    (ปัจจุบันเป็นเช่นไรไม่ทราบแล้ว)

    คือผมมองว่า “นิยายวิทยาศาสตร์” มันแฝงตัวอยู่ได้นะครับ
    doraemon เป็นต้น
    มังงะ ยังมีนิยายวิทยาศาสตร์อยู่มาก

    โดยส่วนตัว
    ผลักดัน เท่าที่จะผลักดันได้
    และ สนุกกับมัน ครับ
    ไม่งั้นเครียดตายเลย
    (ทำไมเป็นอย่างนั้น ทำไมไม่เป็นอย่างนี้ … ช่างมันเหอะ)

    ความเห็นส่วนตัว ครับ

    อ้อ ตลาดเมืองไทยแคบครับ
    ถ้าอยากเลี้ยงตัวด้วยงานเขียน ผมว่าควรเขียนเป็นภาษาอังกฤษครับ

  8. อยากให้มี “วงใหญ่” จัดประกวดครับ เช่น…
    รางวัลจันตรี ฯ เป็นต้น รู้สึกว่าจะมีครั้งเดียว
    ของ nation ก็มาสิ้นสุดที่คร้งที่สาม

    สองงานนั้นผมไม่ได้ส่งทั้งคู่ จังหวะลูกเล็กบวกงานยุ่ง เลยได้แต่นั่งเอ่านเอาครับ
    การจัดประกวดที่น้อยลงก็เป็นสัญญาณหนึ่งที่บอกว่าแวดวงนี้แคบลงจริง

    ทำอย่างไรให้วงนี้กว้างขึ้น
    สำหรับผมแล้วที่ทำได้ง่ายที่สุดคือช่วยกันอ่าน ช่วยกันเขียน ช่วยกันวิจารณ์ครับ

    อันดับแรกต้องเริ่มจากการอ่านก่อน

    Stephen King นักเขียนนิยายสยองขวัญเคยบอกไว้ว่า “ถ้าไม่อ่าน ก็ไม่มีอะไรจะเขียน”
    If you don’t have time to read,
    you don’t have the time (or the tools) to write. Simple as that.
    (King ก็เขียนนิยายวิทยาศาสตร์นะครับ แต่ไม่มากเท่าเรื่องสยองขวัญ)

    อ่านแล้วก็เขียน แล้วก็ช่วยกันวิจารณ์ วงนี้ก็จะกว้างขึ้น
    ผมยังเชื่อว่าคนอ่านในเว็บชมรมยังมีมากกว่านี้มาก แต่ส่วนหนึ่งไม่แสดงตัว
    อาจจะไม่กล้า หรืออาย หรือกลัวถูกวิจารณ์
    ดูอย่างการประกวดครั้งแรกของชมรม มีสมาชิกที่ไม่เคยได้ยินชื่อส่งเข้าประกวด(และได้รางวัล)หลายท่าน

    เรื่องกลัวถูกวิจารณ์นั้นต้องยอมครับถ้าอยากจะเขียน ไม่ว่าจะเขียนเป็นอาชีพหรือเขียนสมัครเล่น

  9. สวัสดีครับคุณ NiRaj ผมได้ข้อมูลเปรียวนิดหน่อยครับ

    “Megalodon” นวนิยายไซ – ไฟ ซี่งตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร “เปรียว” เมื่อฉบับที่ 534 ปักษ์แรกตุลาคม 2547 ก่อนเกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์ “สึนามิ” ไม่น่าเชื่อว่าเนื้อหาในนิยายเล่มนี้ซึ่งเกิดจากจินตนาการของ ดร. ธรณ์ จะกลายเป็นความจริงที่โหดร้ายในไม่กี่เดือนต่อมา และสถานที่ในเรื่องก็ใกล้เคียงกับสถานที่จริงที่เกิดเหตุจนน่าตกใจ…นอกจาก เรื่องคลื่นยักษ์ในจินตนาการของ ดร. ธรณ์ ยังกล่าวถึง MEGALODON ฉลามยักษ์ซึ่งเชื่อกันว่าสูญพันธุ์ไปกว่าหลายล้านปีแล้วนั้น จะมีอยู่จริงหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ต้องรอการพิสูจน์กันต่อไป แต่ MAGALODON ในเรื่องจะเกี่ยวข้องหรือไม่กับคลื่นยักษ์อันนี้ต่างหากที่น่าติตตามและอย่า พลาดที่จะหาคำตอบในเล่มนะคะ

    สวัสดีครัีบท่านZhivago คิงเคยกล่าวแบบนี้จริงๆด้วยครับ

    ขอบคุณทุกท่านครับที่สละเวลามาตอบ

  10. สวัสดีครับพี่ๆ
    สำหรับนินยายวิทยาศาสตร์สมัยนี้ที่ผมติดตามได้ส่วนใหญ่จะเป็นนิยายวิทยาศาสตร์รุ่นดึกที่เอามา ตีพิมพ์ใหม่ไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ ผมชอบนะเพราะบางเรื่องที่ไม่เคยอ่านก็ได้อ่านกับเค้าซะที แต่ส่วนมากแล้วสมัยนี้สื่อเปลี่ยนไปในรูปภาพยนต์ซะมากกว่า โดยเฉพาะ HoolyWood นี่มีหนังไซ-ไฟออกมาตลอด ทำให้คนสมัยใหม่หันไปเสพสื่อภาพยนตืมากกว่า(อย่างที่มีคนเคยสำรวจไว้ว่าวัยรุ่นไทยอ่านหนังสือน้อยกว่าดูโทรทัศน์)ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจ ที่นิยายวิทยาศาสตร์ไทยคงไม่เดินหน้า ถ้ายังไม่มีละครซีรียืวิทยาศาสตร์หรือหนังภาพยนต์มาซะก่อน
    ในความคิดของผมหนังสือมีเสน่ห์มากกว่าเพราะเราไปเปิดอ่านที่ไหนก็ได้ แอบสุนทรียืจะตาย แต่ถ้าเราจะลองเผยแผ่นิยายวิทยาศาสตร์ดู ผมว่าเราลองแต่งนิยายวิทยาศาสตร์เป็นบทละครทีวีหรือหนังซักเรื่องเพื่อให้คนรุ่นใหม่รู้จักไซ-ไฟไทยก็น่าจะดีนะครับ เพราะผมคิดว่ายังไงถ้าคนดูรุ่นใหม่ชอบมันจะเป็นการจุดประกายความคิดที่ติดแล้วจะไม่ดับแน่นอน

  11. สวัสดีครับน้อง mazw พี่หูโน่ว่าหนังสือก็มีเสน่ห์ของมันนะ เพราะกลวิธีในการนำเสนอที่แตกต่างกันกับภาพยนต์ เวลาอ่านหนังสือเราจะต้องใช้จินตนาการที่มากกว่าการดูหนังที่ผู้สร้างสร้างภาพให้เราเห็นกันแบบไม่ต้องเหลือจินตนาการอะไรให้ต้องสงสัย ในบางครั้งผู้สร้างสรรคบทประพันธ์ก็ใช้กลวิธีในเชิงวรรณศิลป์หลอกผู้อ่านให้หลงกลโดยที่ภาพยนต์ไม่อาจทำได้ ในความเห็นของพี่คิดว่าหนังสือยังขายได้แต่อาจจะย้ายไปอยู่ในโลก online แต่ก็ยังเป็นหนังสืออยู่ดีมิใช่ภาพยนต์ หนังสือยังมีกระแส ดูจากแฮรี่ก็ได้ครับ ในช่วงที่แฮรี่ดังก็ฉุดกระแสนิยายวิทยศาสตร์ขึ้นมาด้วยนิดหนึ่ง แต่แล้วก็ดูกระแสนิยายวิทยาศาสตร์จะตกลงไปอีก อาจเป็นเพราะขาดนักเขียนชั้นครู หรือข้อมูลอาจจะหมด หรืองบประมาณด้านวิทยาศษสตร์น้อยลง ทำให้ค้นพบวิทยาการใหม่ๆที่จะเป็นวัตถุดิบในการเขียนน้อยลงด้วยเช่นกัน

    ถ้าทำ series sci-fi มันต้องลงทุนสูง ผู้จัดไม่ค่อยนิยม เมื่อก่อนมี ศรีษะมาร จากบทประพันธ์ของ จิตวีวิวัฒน์ น้องสาวที่เสียชีวิตแล้วของเฮียต่วย ลุงต่วยตูน series ไทยเลยมีแต่ตบตีเพราะต้นทุนถูก ขายได้

    แต่ในส่วนภาพยนต์ น้อง maze จะเห็นว่าปัจจุบันภาพยนต์ในโรงจะมีอยู่ไม่กี่แนว เนื่องด้วยภาพยนต์มีคู่แข่งเป็น cd dvd blu ray ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มี VDO ก่อนหน้านั้นอีกก็คือ TV. แนวภาพยนต์ในโรงจึงต้องปรับตัวเพื่อต่อสู้กับ โฮมเธียร์เตอร์ทั้งหลาย โดยใช้ข้อได้เปรียบในเรื่องขนาด ดังนั้นหนังแนวดราม่า แนวตลกจึงตกขอบจอไป เหลือแต่แนว แฟนตาซี ไซไฟ super hero animation action เพราตื่นตาตื่นใจกว่าเวลาดูในโรง แนวที่มาแรงคือแนว 3d

    แต่ในเมืองไทยการสร้างหนังแนว ไซไฟ ต้องลงทุนมากทีเดียว และคนอาจไม่ดูเพราะดุแล้วไม่เนียนเท่า Hollywood ก็จะข้ามไปดู Hollywood ไปเลย หนังไทยเลยยังทำแนวโรแมนซ์ วัยรุ่น ตลกคาเฟ่ เพราะลงทุนไม่แพง ขายได้ (เพราะสามารถเข้าถึงคนไทยได้มากกว่า) แต่หนังไทยแนวแอ็คชั่นก็น่าดูไม่น้อย

ใส่ความเห็น