สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 9 ต.ค.ว่า ผลศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัย”วอชเบิร์น”ในรัฐแคนซัสของสหรัฐ เปิดเผยว่า การดำรงอยู่ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตของโลก ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์การชนและระเบิดของดาวฤกษ์ 2 ดวง ที่จะก่อให้เกิดรังสีแกมม่า บริเวณนอกกาแล๊กซี่ โดยหากดาวฤกษ์ 2 ดวงดังกล่าวชนกันขึ้น ก็จะปล่อยรังสีแกมม่าพลังอานุภาพมหาศาลแรงหลายตันเข้าสู่จักรวาล และสามารถเข่นคร่ามนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ นอกจากนี้ การระเบิดดังกล่าวยังสามารถกลืนชั้นโอโซนของโลกได้ด้วย
นอกจากนี้ ผลศึกษายังชี้ว่า รังสีดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตของโลกในช่วงยุคดึกดำบรรพ์ด้วย
ศาสตราจารย์ไบรอัน โธมัน หนึ่งในผู้ศึกษาเปิดเผยว่า เขาได้พบการระเบิดของรังสีแกมม่า ซึ่งเป็นการระเบิดช่วงสั้น ที่มีอิทธิพลกว่าการระเบิดช่วงนานกว่า และนับเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ได้เชื่อมโยงช่วงเวลาการระเบิดของรังสีแกมม่ากับการสูญพันธุ์บนโลกมนุษย์ ที่อาจย้อนไปถึงยุคฟอสซิลด้วย โดยการระเบิดของรังสีแกมม่าช่วงสั้นจะมีอานุภาพรุนแรงกว่าการระเบิดของรังสีแกมม่าช่วงนานกว่า และหากการระเบิดนี้เกิดขึ้นภายในเส้นทางช้างเผือก ก็จะกระทบต่อโลกครอบคลุมเป็นเวลาระยะยาว
ทั้งนี้ สำหรับการชนของดาวฤกษ์ดังกล่าวประเมินว่า จะเกิดขึ้น 1 ครั้งในทุก 100 ล้านปีในห้วงกาแล๊กซี่