ผมได้รับสารจากประธานมาว่า ชมรมกำลังขาดเงินในการดำเนินการ หากใครมีวิธีในการหารายได้เข้าชมรมก็ช่วยกันโพสต์กันมาหน่อยครับ จะขอบพระคุณยิ่ง ผมก็จะคิดแล้วมาโพสต์ไว้ด้วยครับ ส่วนความคิดจะดีไม่ดีไม่เป็นไรขอให้ช่วยกันระดมสมองก่อนคับ
10 ความเห็นบน “ช่วยกันคิดหาวิธีหารายได้เข้าชมรมกันหน่อยครับ”
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น
ช่วยบอกรายละเอียดหน่อยได้ไหมคะว่า ในการดำเนินการมีอะไรบ้าง ต้องใช้เงินทุนเท่าไหร่ เพื่อจะเป็นแนวทางในการไปหาทุนอีกทีน่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ
ขออนุญาติ พี่วรากิจ ลงข้อความของพี่ก่อนนะครับ
ต้องยอมรับว่าบล็อกของชมรมยังมีผู้เข้าไปอ่านน้อยครับ เพราะไซ-ไฟบ้านเรายังไม่ค่อยได้รับความสนใจจากนักอ่านมากนักโดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ที่ชอบแนวแฟนตาซีมากกว่า อีกอย่างสนามสำหรับเรื่องไซ-ไฟในสื่อสิ่งพิมพ์ก็มีน้อยเต็มทีครับ ส่วนข้อสุดท้ายที่ว่าชมรมขาดงบประมาณนั้น ถูกต้องที่สุดครับทำให้เราทำกิจกรรมได้ลำบากมาก ต้องยอมรับว่าหาเงินไม่ค่อยเก่งครับอยากได้คนช่วย ไม่เหมือนสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยซึ่งนายกสมาคมกว้างขวางในวงการต่างๆทำให้หาสปอนเซอร์ได้มาก สามารถจัดงานใหญ่ๆได้ และตอนนี้ตัวผมเองต้องทำงานต่างจังหวัดและมีเวลาว่างที่ไม่แน่นอนครับ
ผมขอแบ่ง กิจกรรมที่ใช้เงินน้อย กับต้องใช้เงินเยอะก่อนละกัน
กิจกรรมที่สามารถทำได้โดยใช้เงินน้อยก็อย่างเช่นการประกวดเขียนเรื่องสั้นอบรมการเขียนเรื่องสั้น ออกรายการทีวี ที่ทางชมรมได้ดำเนินการไปแล้วครับ กิจกรรมอื่นๆเท่าที่พอจะนึกได้ ก็เช่น ไปขอประชาสัมพันธ์กับโรงหนัง เวลามีหนัง ไซไฟ เข้าฉาย อย่างที่น้อง maze ได้กล่าวถึงหนังไซไฟ ที่คนจะนิยม เราอาจจะพ่วงกระแสนิยมจากหนังไซไฟ (ที่ไม่ได้สร้างเอง) ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมที่ใช้เงินมากหน่อย ที่เห็นชมรมทำไปแล้วก็คือทำจุลสารครับ ในการทำกิจกรรมที่ต้องใช้เงิน ก็ต้องหาเงิน เช่นหา สปอนเซอร์
ผมคิดว่าการกระตุ้นแต่นักเขียนให้เขียนเรื่องนิยายวิทยาศาสตร์นั้นหากไม่มีพื้นที่หน้ากระดาษแล้วในที่สุด คนเขียนก็จะทะยอยไปเขียนแนวอื่นตามหลัก demand supply สิ่งหนึ่งที่น่าจะทำคือเจรจาให้นิตยสารอื่นๆ นอกจาก update ให้ช่วยพิจารณารับเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์บ้าง เพื่อให้คนที่ไม่เคยอ่านจะได้อ่านเป็นการขยายวงออกไปนะครับ
ผมเชื่อในการทำงานครับ เสนอว่าน่าจะลองรวบรวมงานเขียนในเว็บไปพิมพ์ครับ (แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมไม่มีความรู้เลยว่างานเขียน Sci-fi fiction ช่วงหลังนี้มียอดจำหน่ายอย่างไรบ้าง) คัดเลือกที่เด่น ๆ สักจำนวนหนึ่งแล้วเสนอสำนักพิมพ์ จั่วหัวให้รู้สึกฮีกเหิม เช่น “รวมเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์สัญชาติไทย” หรือ “รวมเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์จากนักเขียนรุ่นใหม่”
เชื่อว่าน่าจะมีเรื่องที่ถึงเกณฑ์อยู่พอสมควรนะครับ
ส่วนค่าลิขสิทธิ์ก็คงจะต้องใช้วิธีขอเอาจากผู้เขียน หรือหักเปอร์เซนต์ แล้วแต่จะตกลงกัน แต่ถ้าขอเป็นค่าเริ่มต้นในการต่อทุนสำหรับกิจกรรมอื่น ผมว่าหลาย ๆ ท่านน่าจะ OK ครับ
พวกเราเองก็เป็นบรรณาธิการกันก่อน ดูกันเอง-คัดกันเองก่อน แล้วเอาไปให้ผู้มีประสบการณ์+อาวุโส เช่นพี่วรากิจ/อ.ชัยวัฒน์ ช่วยคัดเลือกที่เด่น ๆ แล้วค่อยไปเสนอ สนพ. ในที่สุด เชื่อว่าผ่านการกลั่นกรองสามชั้นแบบนี้ งานน่าจะขายได้บ้างตามสมควร กำไรที่ได้ก็เอาไปจัดกิจกรรมต่อเนื่องกันไปครับ
** คิดไว้อีกเรื่องหนึ่งคืออาจเอาเรื่องแปลเก่า ๆ ที่ขึ้นหิ้งแล้วมาพิมพ์ใหม่ แต่ดูแล้วความเสี่ยงสูง เก็บไว้ตอนที่ทุนหนา ๆ กว่านี้จะดีกว่าครับ
เห็นด้วยกับคุณzhivago ที่ให้ลองรวบรวมงานเขียนไปตีพิมพ์ค่ะ เป็นวิธีการหาทุนที่ดีและจะได้ประชาสัมพันธ์ชมรมไปด้วยในตัว
ผมเห็นด้วยกับพี่ zhivago กับพี่ Indarin ครับผมว่าการตีพิมพ์นอกจากจะหาทุนได้แล้วยังได้พื้นที่การนำเสนอข้อมูลของทางชมรมได้ดีเลยครับ และผมก็เชื่อว่ามีนักเขียนหลานท่าน ยอมช่วยเหลือกันแน่ๆ
เอาซิครับ ก็เริ่มกันเลย ขอเรื่องจากพี่วรากิจมาซักเรื่องหนึ่งด้วย เอาไว้เป็นจุดขายด้วยครับ
วันนี้ผมได้คุยกับรุ่นพี่ที่เป็นนักเขียน และเป็นญาติกับ นพดล เวชสวัสดิ์ เขาให้ความเห็นไว้ดังนี้ครับ
เรื่องที่เคยเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ตมาแล้วทางสำนักพิมพ์จะให้ความสนใจน้อยลง
ถึงแม้ว่าโควต้าสำนักพิมพ์เต็มแล้ว แต่ถ้าเรื่องดังกล่าวมโอกาสทำกำไรได้ก็สามารถพิมพ์ได้
ผมเริ่มที่คำถามก่อนดีกว่าครับ
1. ถามพี่วรากิจครับว่าหากจะพิมพ์ในนามชมรมพี่จะอนุญาติไหมครับ
2. ต้องการเรื่องสั้นจากในเวปก่อน หรือจะแต่งกันใหม่
3. ต้องมีคณะกรรมการซัก 1 ชุดเพื่อคัดกรองงานเขียน ต้องการอาสาสมัครครับ
4. จะวางคอนเซ็ปของหนังสือชุดนี้ไว้อย่างไร
5. ต้องการข้อสรุปในการแบ่งรายได้กับชมรมควรจะอยู่ที่เท่าไหร่ครับ
6. ต้องมีคนคอยทำหน้าที่ประสานงานกับสำนักพิมพ์และทำบัญชีรายรับรายจ่าย ขออาสาสมัคร
ส่วนงานประกวดตอนนี้หยุดไปก่อนหรือจะทำกันต่อครับ
ผมคิดแบบนี้ครับ
โรงเรียนมัธยมและมหาวิทยาลัยหลายแห่ง สามารถเข้าไปรณรงค์ ส่งเสริม ให้มีชมรม นิยายวิทยาศาสตร์ ได้ แต่พวกเราคงต้องออกแรงเดินทางไปให้ความรู้ กระตุ้น ทำกิจกรรม ร่วมกับนักเรียน นิสิต นักศึกษา กันสักหน่อย จัดประกวดเรื่องสั้นนิยายวิทยาศาสตร์ ในที่สุด อาจจะสามารถจัดทัวร์นาเม้นท์ แข่งขันกันระหว่างสถาบันได้
เราจะช่วยสร้างเด็กรุ่นใหม่ ที่มีใจรักในนิยายวิทยาศาสตร์ได้ด้วย (หวังว่าอย่างนั้น)
มีรางวัลมอบให้เด็กๆ เหล่านี้จากชมรม นำเรื่องสั้นของพวกเขาขึ้นตีพิมพ์ในเว็บ และในที่สุด มีการรวมเล่มตีพิมพ์ออกจำหน่าย
ขอความร่วมมือไปยังรายการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ต่างๆ ในโทรทัศน์เพื่อโปรโมต (จะได้หรือเปล่าหนอ) ทั้งหนังสือ ทั้งกิจกรรมของชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ของดรงเรียนและมหาวิทยาลัยเหล่านั้น
รายได้ส่วนหนึ่งจากการขายหนังสือเข้ามาเป็นรายได้ของชมรม
มันอาจจะไปรอด ผมคิดแบบนั้นนะครับ