ประกาศผลการประกวดเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 1 หัวข้อ “พลังจิต”
คณะกรรมการเห็นสมควรว่า ยังไม่มีผลงานใดสมควรได้รับรางวัลชนะเลิศ
และมอบรางวัลชมเชยให้แก่ผลงานดังต่อไปนี้
ผู้ได้รับรางวัลทุกท่าน ทางชมรมฯจะจัดส่งของรางวัลพร้อมใบประกาศนียบัตรพร้อมลายเซ็น รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล ที่ปรึกษาชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทยให้ทางไปรษณีย์ภายใน 2 สัปดาห์ ส่วนผู้ที่ไม่ผ่านการคัดเลือก จะได้รับของที่ระลึกจากทางชมรมฯและใบประกาศที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมพร้อมลายเซ็นต์ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล ที่ปรึกษาชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทยเช่นเดียวกับผู้ได้รับรางวัล
มีบางเรื่อง ที่ผมชอบ แต่ไม่ใช่ นิยายวิทยาศาสตร์ !
บางเรื่องเขียนไม่จบ(อย่างจงใจ)
มีบางเรื่องดูเป็นแนวทดลองมากๆ แต่ผมพยายามอ่านให้เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ ก็กลับไม่ชัดเจน
บางเรื่อง ภาษาดีมากๆ(ชอบเป็นการส่วนตัว) แต่กลวิธีการเดินเรื่อง, ประเด็นของเรื่อง และ ความเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ ก็ดูไม่ค่อยชัดเจนสักเท่าไร
โดยส่วนตัว
ผมมองว่า “นิยายวิทยาศาสตร์” ไม่ใช่ “เขียนเรื่องอะไร?” แต่เป็น “เขียนอย่างไร?” มากกว่า
“เขียนอย่างไร?” ในความหมายของผมคือ
มีความเป็นเหตุเป็นผล(ของสิ่งที่เกิดขึ้น)มากน้อยเพียงไร และ มีคำอธิบาย(ทฤษฎี)เชิง วิทยาศาสตร์ หรือไม่
หรือหากเป็น sci-fi fantasy ก็คือการสร้างบริบท ที่ครบถ้วน รอบด้าน(ซึ่งผมมองว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ในงานเขียนเรื่องสั้น)
เหตุใดจึงไม่มีผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ
ก็คงเป็นเพราะว่า ความโดดเด่นของเนื้อหาอาจจะยังไม่มี นั่นเอง
ประเด็นใหม่ๆ หรือเรื่องที่”โดน” ไม่ว่าจะเป็นในแง่มุมใดก็ตาม
(คนเราอาจจะ”โดน”ได้หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น การเมือง,เศรษฐกิจ,สังคม,ปรัชญา,หรือแม้แต่ อารมณ์ขัน)
ฉะนั้น
ขอเป็นกำลังใจให้เหล่านักเขียนทุกท่าน สร้างสรรค์ ผลงานกันต่อไปนะครับ
ขอบคุณครับ
ขอเสริมครับ
นอกจากหลักการทางวิทยาศาสตร์แล้ว เรื่องสั้นเหล่านี้ ก็ยังคงเป็นวรรณกรรมประเภทหนึ่ง
ที่หนีไม่พ้นเรื่อง ของการใช้ภาษาที่ถูกต้อง สวยงาม ชัดเจน รวมถึงการการคุมอารมณ์
คุมสมดุล หรือโทนของเรื่อง
เด็กๆหลายคนเคยชินกับเรื่องสั้นแบบมังงะ หรือ การ์ตูนญี่ปุ่น เลยนำสไตล์นั้นบรรยายเสียง
“อ๊ากๆๆๆ” “บึ้มๆๆ” มาใช้ เรื่องสั้นที่เป็นตัวหนังสือนั้น การบรรยายเสียง จะมีความต่างจากเรื่องสั้น
ที่มีภาพประกอบแบบการ์ตูน หรือนิยายภาพ โดยจะใช้การบรรยายเปรียบเทียบลักษณะเสียงที่เกิด
ดังกล่าวด้วย
ที่ส่งไปให้ทุกท่านแล้วคือแผ่น ดีวีดี บันทึกภาพสแกนเรื่องสั้นจากนิตยสารยุค 2520
อันเป็นยุคทองของไซ-ไฟ ไทย บางเรื่องอาจจะดูเชยมากในสมัยนี้ เพราะแต่งกันมา
ตั้งแต่ยุคปี 2500 ที่ที่น่าสนใจคือวิธีการเล่าเรื่อง หรือการดำเนินเรื่อง การใช้ภาษา
บรรยายจินตนาการ ให้เราเห็นภาพในสมอง ก็ขอให้ทุกท่านลองศึกษาดู
จะได้ประโยชน์มากๆ
ประยูร สงวนไทร
ลองเข้าไปที่ ห้องไซ ไฟ ของพันทิพ ตามลิงค์นี้ เพราะผมเอาภาพสแกนเรื่องสั้นส่วนหนึ่งไปแจกที่นั่นด้วย
http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A10229981/A10229981.html
http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A10230182/A10230182.html
ขอบคุณครับ