คณะนักวิทยาศาสตร์นานาชาติเปิดเผยวานนี้ (22 ก.ย.)ว่า ได้บันทึกการเคลื่อนที่ของอนุภาคนิวตริโน ซึ่งมีความเร็วเหนือความเร็วแสง ซึ่งอาจเป็นการค้นพบที่ล้มล้างหนึ่งในหลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยาของไอน์สไตน์ที่ได้รับการยอมรับมาช้านาน
นายแอนโตนิโอ อีเรดิตาโต โฆษกองค์การวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป (European Organisation for Nuclear Research) หรือเซิร์น (CERN) ตั้งอยู่บริเวณชายแดนฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ ให้สัมภาษณ์ต่อสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า การทดลองตลอดสามปีที่ผ่านมา โดยการยิงอนุภาคนิวตริโนจากเครื่องเร่งอนุภาคที่เมืองเจนีวา ถึงห้องทดลองใต้ดินที่เมืองแกรน ซาสโซ ในภาคกลางของอิตาลี ซึ่งอยู่ห่างออกไป 730 กิโลเมตร
ภาพ: OPERA
โฆษก CERN กล่าวแสดงความมั่นใจอย่างมากในผลการทดลอง เนื่องจากได้มีการทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่หลายครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีอะไรผิดพลาด และแสดงความต้องการให้คณะวิจัยอื่นๆ ได้ทำการทดลองเพื่อยืนยันผลการทดลองดังกล่าว
ถ้าหากผลการทดลองได้รับการยืนยัน การค้นพบนี้จะเปลี่ยนทฤษฏีสัมพันธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ ที่มีมาตั้งแต่ปี 1905 ซึ่งกล่าวไว้ว่า ความเร็วของแสงเป็นคุณสมบัติทางกายภาพ ซึ่งคงที่เพียงสิ่งเดียวในจักรวาล และในเมื่อความเร็งของแสงคงที่เสมอ ไม่ว่าผู้สังเกตจะเคลื่อนที่หรือไม่ก็ตาม ฉะนั้นคุณสมบัติอย่างอื่นๆทางกายภาพ สำหรับผู้ที่เดินทางไปในทิศที่ต่างกัน และด้วยความเร็วที่ต่างกัน ย่อมต้องแตกต่างกันไป และไม่มีวัตถุใดเดินทางได้เร็วเท่าแสง ซึ่งนี่ถือแนวคิดสำคัญที่ทำให้เกิดการวางรากฐานฟิสิกส์ยุคใหม่ จนเกิดทฤษฎีต่างๆ ออกมามากมายเช่น ทฤษฎีควอนตัม ทฤษฎีสตริง ไปจนถึงทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง
น่าสนใจจริงๆครับ
นั่นหมายความว่า ทฤษฎี สัมพันธภาพ ต้องมีเพิ่มเติม หรือเปล่า?
แบบว่า
กฎของนิวตั้น ใช้กับของขนาดทั่วไป ในความเร็วไม่ถึงความเร็วแสง
ทฤษฎีสัมพันธภาพ ใช้กับวัตถุขนาดเล็กที่เคลื่อนที่ ไม่เกินความเร็วแสง
และ ทฤษฎี ที่ใช้กับวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าแสง
อย่างนี้ แนวคิด time machine จะเปลี่ยนไปหรือไม่?
หรือผลการทดลองเกิดการบิดเบี้ยวของกาลอวกาศ
(เลยคำนวณความเร็วได้มากกว่าความเร็วแสง)
😀
ทฤษฎีสัมพัทธภาพเริ่มจาก common sense ว่าไม่มีอะไรวิ่งเร็วกว่าความเร็วแสงนี่
ในอนาคตฟิสิกส์คงกลายเป็นคณิตศาสตร์