ประกวดนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2567

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยามหิดล, สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย และ GDH ขอเชิญผู้สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2567 ชิงทุนส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงาน พร้อมโล่เกียรติยศ และเกียรติบัตร

อ่านเพิ่มเติม “ประกวดนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2567”

ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ประจำปี 2566

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล, สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด ขอเชิญ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ประจำปี 2566 ชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ และโอกาสได้ตีพิมพ์ผลงาน

คุณสมบัติผู้ส่งผลงานเข้าประกวด

  • รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ (สําหรับผู้อ่านทั่วไป)
    • รุ่นเยาวชน : อายุไม่เกิน 25 ปี (นับถึงวันที่ปิดรับสมัคร)
    • รุ่นประชาชนทั่วไป : ไม่จํากัดเพศ อายุ และ วุฒิการศึกษา
  • รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์สําหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี
    • ไม่จํากัดเพศ อายุ และ วุฒิการศึกษา
อ่านเพิ่มเติม “ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ประจำปี 2566”

ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 2565

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด ขอเชิญผู้สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 2565 ชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ เกียรติบัตร และโอกาสได้ตีพิมพ์ผลงาน

วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยและผู้สนใจ เกิดความตื่นตัวและสนใจในเรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์ สื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านงานเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผลงานเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ และสร้างเวทีเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ ได้มีโอกาสทำความเข้าใจและสร้างเสริมจินตนาการไปกับองค์ความรู้อันหลากหลายทางวิทยาศาสตร์ ได้แสดงความสามารถและสะท้อนออกมาเป็นเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์ในสื่อ “เรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์”

อ่านเพิ่มเติม “ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 2565”

มารวิทยา: อนุภาคลี้ลับ (Phasmoparticle)

เรื่องสั้นไซไฟ-ระทึกขวัญ/สยองขวัญเรื่องนี้ เป็นเรื่องแรกที่ผู้เขียนได้เขียนในบรรยากาศไสยศาสตร์แบบไทย ๆ อย่างจริง ๆ จัง ๆ และสอดแทรกประเด็นที่จะเสียดสีด้วยค่ะ

ยังไงก็สามารถติชมได้นะคะ


ยามตะวันลับขอบฟ้าเป็นสัญญาณให้สิ่งมีชีวิตยามทิวาเริ่มเข้าสู่การหลับใหล เว้นแต่สิ่งมีชีวิตยามราตรีที่ตื่นขึ้นมาดำเนินชีวิตท่ามกลางแสงจันทร์และมวลหมู่ดวงดารา สิ่งมีชีวิตยามราตรีเหล่านี้รวมถึงสิ่งมีชีวิตที่ผู้คนต่างหวาดกลัว มาตั้งแต่สมัยก่อนที่จะเกิดความเจริญรุ่งเรืองทางด้านเทคโนโลยีและการศึกษา

คฤหาสน์ไม้ทรงไทยโบราณตั้งตระหง่านหลังหมู่บ้านร้างบนเนินเขาแห่งหนึ่ง ณ ที่แห่งนี้ไม่มีผู้ใดกล้าเข้าไปแม้แต่เพียงผู้เดียว เพราะเป็นที่เล่าขานกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะกับบรรดาชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงว่า ทุกชีวิตที่อย่างกรายเข้าไปก็มักลงด้วยการสูญหาย…ทั้งทรัพย์สินและชีวิต…!

แสงจันทร์สาดส่องทางหน้าต่างรูปทรงไทยโบราณ เผยให้เห็นเรือนร่างของหญิงสาวในชุดไทยโบราณโทนสีแดงเข้ม ที่เข้ากับเครื่องประดับที่บ่งบอกถึงระดับชนชั้นอันสูงส่ง ดวงตาสีแดงเข้มจ้องมองวิวด้านนอกหน้าต่าง ราวกับกำลังเสพสมบรรยากาศธรรมชาติยามค่ำคืน

อ่านเพิ่มเติม “มารวิทยา: อนุภาคลี้ลับ (Phasmoparticle)”

มารวิทยา: ไมโครชิป ชิปแล้วหาย (Brain Enhancement Microchip)

สวัสดีค่ะ

กลับมาอีกครั้งกับเรื่องสั้นไซไฟ-ระทึกขวัญ/สยองขวัญ

เรื่องสั้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดรวมเรื่องสั้นมารวิทยา

ถ้าท่านเป็นผู้อ่านสายหักมุม ถ้าเป็นไปได้ก็อยากรบกวนบอกด้วยค่ะว่า เรื่องนี้จะหักมุมมากน้อยแค่ไหน

ส่วนผู้อ่านสายฮาสายโจ๊ก ก็ขอแน่ใจนะคะว่า เรื่องนี้จะเหมาะกับท่านจริง ๆ (ฮา)

แต่ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้อ่านไซไฟสายไหน ยังไงก็สามารถติชมได้นะคะ (เช่น เรื่องความเป็นธรรมชาติของบทสนทนา) เผื่อจะได้เป็นไอเดียในการต่อยอดเป็นนวนิยายไซไฟในอนาคตค่ะ


ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2136 ผู้คนที่นับว่าเป็นมนุษย์ชีวภาพและมนุษย์ชีวจักรกลที่มีสมองเป็นทางชีวภาพ สามารถเพิ่มขีดความสามารถของตนเองได้ด้วยการผ่าตัดฝังไมโครชิป Brain Enhancement ซึ่งไมโครชิปนี้มีประเภทที่สามารถเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ และการฟื้นฟูความทรงจำ

ไมโครชิป Brain Enhancement ประเภทเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ ช่วยให้ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดมีความสามารถในความรู้ทางด้านทฤษฎีสาขาต่าง ๆ ตามที่ต้องการ และเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ราคาของไมโครชิปประเภทนี้จะแตกต่างกันตามจำนวนสาขาของความรู้ที่ต้องการ และความสามารถในการเรียนรู้เพิ่มเติมจากความรู้ในสาขานั้น ๆ ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดสำหรับไมโครชิปประเภทนี้ ส่วนใหญ่นิยมใช้กับการเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองชอบ แต่ความสามารถ (ที่มีอยู่เดิมก่อนการผ่าตัดนั้น) ไม่ควบคู่กัน

ไมโครชิป Brain Enhancement ประเภทเพิ่มศักยภาพในการจำ ช่วยให้ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดมีความจำที่ดีในเรื่องต่าง ๆ ตามที่ประสบพบเจอ และสามารถฟื้นฟูความทรงจำที่สูญเสียไปได้ ราคาของไมโครชิปประเภทนี้จะแตกต่างกันตามระดับความสามารถที่ต้องการจำและฟื้นฟู ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดสำหรับไมโครชิปประเภทนี้ ส่วนใหญ่นิยมใช้กับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ และผู้ที่ใช้หรือได้รับผลข้างเคียงจากยาลบความทรงจำ

อ่านเพิ่มเติม “มารวิทยา: ไมโครชิป ชิปแล้วหาย (Brain Enhancement Microchip)”

โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 5

จัดโดย อพวช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด
โครงการประกอบด้วย

การอบรมพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์

โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 5 เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจและมีความต้องการพัฒนาทักษะการเขียนของตนเอง
ด้วย การอบรมพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการอบรม กำหนดจัดอบรม วันที่ 7 – 8 มีนาคม 2563 เวลา 09.00 น. – 17.00 น.
สถานที่จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง (รับสมัครผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป)

กติกาและใบสมัครการอบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์

หมดเขตสมัครเข้าอบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านเข้าอบรมฯ วันที่ 3 มีนาคม 2563 ทาง www.nsm.or.th

การประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์

  • (สามารถเข้าร่วมได้ทั้ง 2 กิจกรรมตามเกณฑ์การรับสมัคร)
    1. รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์
      1. รุ่นเยาวชน (อายุไม่เกิน 25 ปี) 
      2. รุ่นประชาชนทั่วไป (ไม่จำกัดเพศ อายุ และวุฒิการศึกษา) 
    2. รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์สำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี (ไม่จำกัดเพศ อายุ และวุฒิการศึกษา) 

ใบสมัครรางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 
ใบสมัครรางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์สำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี
กติกาการส่งผลงานเข้าประกวด 

อ้างอิงจาก: http://www.nsm.or.th/event/competition/science-short-story.html

โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 
และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด จัดทำ “โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4” ขึ้น เพื่อเป็นเวทีเปิดโอกาสให้ผู้ที่รักการเขียน และรักในวิทยาศาสตร์ใช้
จินตนาการถ่ายทอดงานเขียนแนววิทยาศาสตร์ในรูปแบบเรื่องสั้น และส่งเข้าร่วมประกวดใน “โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4” โดยท่านสามารถร่วม
กิจกรรมกับโครงการฯ ได้ 2 กิจกรรม ได้แก่ การอบรมพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสคร์ และ การประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 
(สามารถเข้าร่วมได้ทั้ง 2 กิจกรรมตามเกณฑ์การรับสมัคร)

ข้อมูลจาก http://www.nsm.or.th/event/competition/science-short-story.html

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ประเทศไทย ครั้งที่ 14

หัวข้อ การปฏิวัติอาหาร (Food Revolution)
วันที่ 10-30 พฤศจิกายน 2561
ณ โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา

เข้าสู่ช่วงเวลาของภาพยนตร์วิทยาศาสตร์อีกครั้ง กับเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ประเทศไทย ครั้งที่ 14 จัดขึ้นโดยสถาบันเกอเธ่ประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เป็นศูนย์จัดฉายในเขต จ.นครปฐม และมีโรงภาพยนตร์ศรีศาลายาเป็นสถานที่ในการจัดฉาย สำหรับหัวข้อในปีนี้ คือ “การปฏิวัติอาหาร (Food Revolution)” ซึ่งในเทศกาลจะมีทั้งภาพยนตร์ที่กล่าวถึงคุณค่าของอาหาร อาหารปลอดสารพิษ รวมถึงสำรวจประเด็นเกี่ยวกับโภชนาการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เราตระหนักถึงการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โดยจะจัดฉายควบคู่ไปกับนิทรรศการเกี่ยวกับการปฏิวัติอาหารที่หอภาพยนตร์จัดขึ้นเพื่อเพิ่มเติมความรู้ นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย

เทศกาลภาพยนตร์ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ประเทศไทย ครั้งที่ 14 ที่หอภาพยนตร์ จะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 10-30 พฤศจิกายน 2561 โดยทุกท่านสามารถรับชมภาพยนตร์ที่ได้รับการคัดเลือก รวม 21 เรื่อง จาก 7 ประเทศ ได้ตามโปรแกรมด้านล่างนี้ ในขณะที่คุณครูและนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ สามารถมาเข้าร่วมชมภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เหล่านี้พร้อมทั้งร่วมกิจกรรมสนุก ๆ จากทีมงานหอภาพยนตร์ ในช่วงวันจันทร์-ศุกร์ รอบเช้าและรอบบ่าย ตลอดเทศกาล หากทางโรงเรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและเช็กรอบเข้าชมได้ที่ 02 482 2013-14 ต่อ 110

รอบฉายเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ฯ ครั้งที่ 14 ณ โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา
(ภาพยนตร์ทุกเรื่องพากย์ภาษาไทย ยกเว้นเรื่อง ดิ่งสู่ดาวเสาร์ ภารกิจสุดท้ายของยานแคสสินี
ฉายในภาษาอังกฤษ มีคำบรรยายภาษาไทย)

โปรแกรมที่ ๑ (๘๒ นาที)
วันเสาร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ น.
วันอังคารที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๗.๓๐ น.

โปรแกรมที่ ๒ (๘๒ นาที)
วันเสาร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ น.
วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๗.๓๐ น.

โปรแกรมที่ ๓ (๘๐ นาที)
วันเสาร์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ น.
วันพุธที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๗.๓๐ น.

โปรแกรมที่ ๔ (๘๘ นาที)
วันเสาร์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๕.๐๐ น.
วันศุกร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๗.๓๐ น.

link รายละเอียด

บทความวัตถุที่มีความผิดปกติ(SCPs Object)ที่เขียนโดย Bonneneige [อาจมีการอัปเดตเรื่อยๆ]

สถาบัน SCP
ที่มา: http://scp-th.wikidot.com/

ข้อมูลจากสถาบัน SCP ในเรื่องนี้ได้เผยแพร่อย่างถูกต้องภายใต้ Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License (แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน)

———————————————————————————————–

นักเขียนมาลงตามสัญญาที่บอกว่าจะลงหน้าที่รวมลิงก์บทความวัตถุ SCPs เฉพาะที่นักเขียนแต่งมาในสายไซไฟแล้วนะคะ

บทความโดยรวมของนักเขียนจะจัดได้ว่าเป็น soft-scifi และแสดงความเป็นไซไฟได้ในระดับปานกลาง-น้อย สำหรับแบบที่ในระดับน้อยก็จะเป็นอันที่ไม่ได้เขียนถึงผลการทดลองด้วยโดยเฉพาะ แม้ว่าจริง ๆ แล้วในเนื้อเรื่องปกตินั้นนักวิทย์ฯ กับนักวิจัยกำลังทำการทดลองเพื่อหาคำอธิบายทางด้านวิทย์จากความผิดปกติอยู่ค่ะ

จุดประสงค์ที่นักเขียนอยากลงผลงานเขียนในนี้ด้วย(ไม่นับเรื่องแยกประเภท hard หรือ soft แล้ว)ก็คือ นักเขียนอยากทราบว่ามีตรงไหนที่นักเขียนดึงศัพท์วิทย์ฯ มาใช้ในแบบที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ ถ้ามีก็ขอรบกวนอธิบายพร้อมยกตัวอย่างที่ถูกต้องด้วยนะคะ

นอกเหนือจากนี้ เช่น ลักษณะการเขียนบทความของนักเขียน ก็สามารถวิจารณ์ได้เช่นกันค่ะ
อนึ่ง หากสงสัยว่าทำไมเขียนเหมือนเอกสารราชการ นั่นก็เพราะว่ารูปแบบของบทความจัดมาให้ดูคล้าย ๆ เอกสารราชการอยู่แล้ว และก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของ SCP ด้วยค่ะ หุหุหุ

อ่านเพิ่มเติม “บทความวัตถุที่มีความผิดปกติ(SCPs Object)ที่เขียนโดย Bonneneige [อาจมีการอัปเดตเรื่อยๆ]”

ประกาศผลการตัดสินรางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3

ผลการประกวด PDF

ขอแสดงความยินดีกับทุกท่านด้วยครับ

อ่านเพิ่มเติม “ประกาศผลการตัดสินรางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3”

สถาบัน SCP: ความฝันเสมือนจริง(Canon:สถาบันสยองขวัญ)

สวัสดีค่ะ

นักเขียนลงงานเขียนในเว็บนี้เป็นครั้งแรก ขออภัยด้วยค่ะถ้าดูแปลกๆ

นักเขียนคิดว่าจะลงผลงานเขียนลงในเว็บนี้ด้วยนอกจากที่ปกติแล้วจะลงใน Wikidot ไม่ว่าจะเป็นบทความของวัตถุ SCPs หรือว่านิยายก็ตาม เฉพาะเรื่องที่นักเขียนมั่นใจว่าเขียนมาในสายไซไฟนะคะ ถ้านักเขียนแต่งเรื่องสั้นไซไฟอีกเรื่อง เดี๋ยวนักเขียนจะลงหน้ารวมนิยายแล้วต่อลิงก์ไปที่ทาง Wikidot โดยตรงเพื่อไม่ให้เป็นการสแปมในเว็บนี้ค่ะ

ส่วนเรื่องที่นักเขียนจะใช้ในเชิงพาณิชย์ด้วย(โดยเฉพาะหน้าที่นักเขียนตั้งค่าให้ว่าต้องจ่ายเงินก่อน) นักเขียนจะลงแยกต่างหากไว้ที่ ReadAWrite และแน่นอนว่าต้องมีเครดิตที่มาของแหล่งอ้างอิงตามนโยบายของลิขสิทธิ์สถาบัน SCP กำกับไว้ด้วย

จุดประสงค์ที่นักเขียนอยากลงผลงานเขียนในนี้ด้วยก็คือ
1. นักเขียนอยากทราบว่างานเขียนเรื่องนี้ถือว่าเป็น Hard-Scifi หรือ Soft-Scifi
(สำหรับเรื่องนี้นักเขียนรู้ในใจแล้วว่าต้องเป็น Hard-Scifi แน่ๆ แต่เพื่อความแน่ใจค่ะ)
2. นักเขียนอยากทราบว่ามีตรงไหนที่นักเขียนดึงศัพท์วิทย์มาใช้ในแบบที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ ถ้ามีก็ขอรบกวนอธิบายพร้อมยกตัวอย่างที่ถูกต้องด้วยนะคะ

นอกเหนือจากนี้ เช่น ลักษณะการบรรยายเนื้อเรื่องของนักเขียน ก็สามารถวิจารณ์ได้เช่นกันค่ะ

เดี๋ยวคราวหน้านักเขียนจะลงหน้าที่รวมลิงก์บทความวัตถุ SCPs เฉพาะที่นักเขียนแต่งมาในสายไซไฟนะคะ

———————————————————————————————–

สถาบัน SCP
ที่มา: http://scp-th.wikidot.com/

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากสถาบัน SCP ในเรื่องนี้ได้เผยแพร่อย่างถูกต้องภายใต้ลิขสิทธิ์แบบ CC-BY-SA (Attribution-ShareAlike 3.0)(แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน)

อ่านเพิ่มเติม “สถาบัน SCP: ความฝันเสมือนจริง(Canon:สถาบันสยองขวัญ)”

รอยวิบัติ (trace)

จักรกฤษณ์ยืนอย่างสงบนิ่งอยู่บนรถไฟฟ้าที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง เขากำลังเดินทางไปพบผู้ว่าจ้างของเขาโดยเลือกที่จะใช้เส้นทางซ่อมบำรุงที่ปราศจากแสงสี เพราะการใช้เส้นทางหลักในเมืองทำให้เขามีอาการเวียนศรีษะอยู่เสมอด้วยภาพทิวทัศน์ที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่ตลอดเวลาในระหว่างการเดินทาง เดี๋ยวก็เป็นทิวทัศน์ชายหาด เดี๋ยวก็เป็นภาพจากตึกสูง เดี๋ยวกลางวัน เดี๋ยวกลางคืน คงเนื่องจากความโหยหาธรรมชาติในตัวทุกผู้คน แต่เนื่องจากขนาดของอาคารที่ใหญ่โตกินบริเวณหลายพัันตารางกิโลเมตร ย่อมไม่สามารถให้พื้นที่สำหรับมุมมองภายนอกได้อีกแล้ว ทุกคนจึงต่างปรุงแต่ง ทิวทัศน์ มุมมอง ตามแต่ใจปรารถนา แต่นั่นคื่อสิ่งที่ทำให้คนที่ต้องเดินทางผ่านหลายๆสถานที่เกิดอาการหลงทิศ หลงทาง และคลื่นเหียนได้อย่างน่ารำคาญ มันเป็นอาการสามัญจนมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า อาการเมาตึก และ จักรกฤษณ์ก็ไม่อยากให้เกิดอาการแบบนั้นในขณะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่เขาต้องการใช้ความคิด

รถไฟฟ้าเคลื่อนผ่านผนังสีทึบไปตลอดเส้นทาง ระหว่างที่จักรกฤษณ์หวนรำลึกถึงตอนที่พบเจ้าของงานนี้เป็นครั้งแรก

“สามีของฉันหายตัวไป” หล่อนกล่าว…มีน้ำเสีงแหบพร่าเล็กๆในเสียงนั้น จักรกฤษณ์รู้สึกได้ถึงความไม่แน่ใจบางอย่าง หลังจากการทักทายกับหล่อนตามมารยาทของนักสืบทั่วไป “ทั้งหมดนี่คือข้อมูลของเขา” หล่อนยื่นแผ่นข้อมูลบางขนาดนามบัตร

จักรกฤษณ์วางมันลงบนโต๊ะ แล้วภาพแฟ้มข้อมูลทั้งหมด ก็แสดงขึ้นบนผนังห้องเบื้องหน้า
บุคคลที่หายตัวไป คือ ดร.วัชรพล เคฟเค่น ศารตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง ควอนตัมฟิสิกส์(quantum physic) ที่มีชื่อเสียง

“มีอะไรที่ผมควรรู้เป็นพิเศษไหม” จักรกฤษณ์เอ่ยถามขณะเคลื่อนมือไปบนโต๊ะ พลิกแฟ้มประวัติบนผนังไปมา “งานวิจัยที่กำลังทำอยู่, คู่แข่ง ศัตรู หรือ” เขาหยุดเล็กน้อยเหลือบมองหล่อน “ชู้รัก”

“ไม่มี” โดยปราศจากการลังเลหรือชะงักงัน ไม่แม้เพียงหนึ่งส่วนล้านของวินาที … อาจจะเร็วเกินไปเสียด้วยซ้ำ และดูเหมือนหล่อนเองก็จะจับอาการสงสัยนั้นได้ด้วยเช่นกัน “ถ้าคุณดูภาพที่ถูกบันทึกแล้วคุณจะเข้าใจ”

ภาพที่เขาเห็นยิ่งทำให้เขามึนงงยิ่งขึ้นไปอีก
มันเป็นภาพที่ถูกบันทึกโดยระบบ MAIDS ซึ่งแสดงภาพของ ดร.วัชรพลในห้องของเขา ขณะกำลังสาละวนกับงานเอกสารบนโต๊ะ ภาพแตกพร่าไปสักเสี้ยววินาทีเห็นจะได้ และหลังจากนั้นภาพทุกอย่างก็กลับคืนมา …
ทุกอย่าง ยกเว้น ดร.วัชรพล

ประเด็นแรกจึงไม่ใช่ว่า ใคร ทำไม หรือ จะเป็นตายร้ายดีประการได
ประเด็นแรกคือ “อย่างไร”

อ่านเพิ่มเติม “รอยวิบัติ (trace)”

อพวช. : โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 และ ขอเชิญผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรม “อบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์”

อพวช.(องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ) ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 และ “อบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์”

อบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์

โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 เปิดโอกาศให้ผู้ที่สนใจและมีความต้องการ
พัฒนาทักษะการเขียนของตนด้วย การอบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการอบรม
กำหนดจัดอบรม วันที่ 10 – 11 มีนาคม 2561 เวลา 10.00 น. – 17.30 ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช.
ชั้น 4 อาคารจัตุรัสจามจุรี ถ. พญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

หมดเขตสมัครเข้าอบรมทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม 2561
รายละเอียดการอบรม
ใบสมัคร

จาก
http://www.nsm.or.th/index.php?option=com_k2&view=item&id=6661:2018-01-10-02-06-49&Itemid=167

และ

การประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด จัดทำ “โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3” ขึ้น เพื่อเป็นเวทีเปิดโอกาสให้ผู้ที่รักการเขียน และรักในวิทยาศาสตร์
ใช้จินตนาการ ถ่ายทอดงานเขียนแนววิทยาศาสตร์ในรูปแบบเรื่องสั้น และส่งเข้าร่วมประกวดในโครงการฯ

โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยและผู้สนใจ เกิดความตื่นตัวและสนใจในเรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์
และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านงานเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผลงานเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ
และสร้างเวทีเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจ ได้มีโอกาสทำความเข้าใจและสร้างเสริมจินตนาการไปกับองค์ความรู้อันหลากหลายทางวิทยาศาสตร์

การประกวดแบ่งออกป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ปรเภทเยาวชน (อายุตั้งแต่ 15 ปี แต่ไม่เกิน 25 ปี)
2. ประเภทประชาชนทั่วไป (ไม่จำกัดเพศ อายุ และวุฒิการศึกษา)
3. ประเภทกลุ่ม (2-3 คน นักเขียนร่วมกับนักวิทยาศาสตร์)

หมดเขตส่งผลงานเข้าประกวด วันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2561
กติกาการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3
ใบสมัครการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 ประเภทประชาชนทั่วไป
ใบสมัครการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 ประเภทเยาวชน
ใบสมัครการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 ประเภทกลุ่ม

จาก
http://www.nsm.or.th/index.php?option=com_k2&view=item&layout=item&id=6660&Itemid=423

การจุดระเบิดครั้งที่สอง

ลุงชัยนั่งมองสมุดเก่าคร่ำคร่าเล่มนั้นอยู่เป็นชั่วโมง พลิกกลับไปมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า หน้ากระดาษเหลืองกรอบเหมือนจะสลายเป็นผงได้ทุกเวลาถูกแกหยิบจับอย่างทะนุถนอม คัดลอกบางข้อความลงไปในสมุดเล่มเล็ก สุดท้ายแกก็ปิดมันแล้วนั่งหลับตาอยู่ครู่หนึ่งก่อนจะหันมาถามผมว่าได้มาจากไหน ผมตอบไปตามจริงว่าซื้อมาจากร้านหนังสือมือสอง

“ครั้งแรกว่ายากแล้ว ครั้งนี้ดีไม่ดีจะทำไม่สำเร็จเอา แต่ลุงว่ามันคุ้มค่าว่ะ”

ถัดไปไม่กี่วินาที อาคารรัฐสภาลอยผ่านไป เงาดำทอดบังหน้าต่างทำให้ห้องสลัวลง ด้วยขนาดที่ใหญ่เกินบรรยายเราจึงตกอยู่ในความมืดหลายนาที ลุงชัยถูกกลืนหายไปในจุดอับแสง และเมื่อตึกประหลาดหลังนั้นเคลื่อนผ่านไปผมถึงได้สังเกตเห็นว่าแววตาของแกส่องประกายระยับสุกสว่างเหมือนกับไอพ่นยานอวกาศ และผมก็หมายถึงไอพ่นยานอวกาศจริง ๆ

เวลาเจ็ดสิบกว่าปีทำให้ความจริงเรื่องหนึ่งขยายเป็นตำนานได้ไม่ยากเย็น คนที่เคยเห็นเหตุการณ์ครั้งนั้นบางคนไม่เชื่อจนวันตายว่ามันเคยเกิดขึ้น ที่ไปไกลกว่านั้นคือหลายคนกลับบอกว่ามันเป็นเรื่องหลอกลวง แต่ก็มีไม่น้อยที่ยืนยันว่าไม่ได้โกหก หลายคนยังเอาไปเล่าต่อแบบเพิ่มตรงนี้นิดตรงโน้นหน่อยจนไม่รู้ว่าส่วนไหนจริงส่วนไหนโม้จนทุกวันนี้

สมุดเล่มนี้จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าเรื่องเมื่อค่อนศตวรรษก่อนไม่ใช่แค่คำโกหกของพวกต่อต้าน อันที่จริงพวกต่อต้านส่วนหนึ่งยังเคลมว่าขบวนการของพวกเขาถือกำเนิดขึ้นจากเหตุนั้นด้วยซ้ำ

โดรนฝูงใหญ่บินตามอาคารรัฐสภาไปช้า ๆ ว่ากันว่ามันคอยตรวจจับทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่สัญญาณดิจิตอล คลื่นวิทยุ ไปจนถึงเสียงกระซิบแผ่วเบา ‘สักวันมันจะเจาะเข้าไปในความคิดของเรา’ ลุงชัยเคยบอก ผมได้แต่หวังว่าวันนี้มันคงจะยังทำไม่ได้ เพราะถ้ามันทำได้ อีกไม่ถึงห้านาทีจะมีทีมติดอาวุธมาถีบประตูหน้าแล้วจับเราทั้งคู่ไปเข้าค่ายปรับเปลี่ยนแนวคิด

ปิดท้ายด้วยโดรนประชาสัมพันธ์ประกาศเสียงดังก้อง “วรรณกรรมต้องห้ามของลัทธิฮิปสเตอร์ หนึ่งเก้าแปดสี่ ฟาเรนต์ไฮต์สี่ห้าหนึ่ง ฮังเกอร์เกม ผู้ดาวน์โหลดจะมีความผิดตามกฎหมาย”

สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือลุงชัยกำลังนั่งยิ้มโบกมือให้ฝูงโดรนพวกนั้น …พวกมันจะมาจับเราเพราะโบกมือให้พวกมันนี่แหละ

สิ่งแรกที่ผมทำหลังจากขบวนแห่ของอากาศยานพวกนั้นลับตาไปคือเกลี้ยกล่อมให้ลุงเปลี่ยนใจ พยายามมองหาช่องโหว่ในแผนการสุดระห่ำของแกเพื่อโต้แย้ง หาทางขยายช่องเหล่านั้นให้กว้างขึ้นแล้วผลักแกลงไป

“อ่านจบแล้วใช่ไหม” ลุงชัยยกสมุดเล่มนั้นขึ้นโบก ผมพยักหน้าตอบ
“ถ้าไม่สู้เราก็แพ้มันตั้งแต่ตอนนี้ แต่ถ้ายังสู้อยู่ ก็แปลว่ายังไม่แพ้”

จนปัญญาจะโต้ตอบคำพูดโบราณที่ผ่านวันเวลามาหลายร้อยปี รูปประโยคอาจมีผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่ใจความสำคัญไม่เคยเปลี่ยนไป เหมือนกับทุกตำนานที่ถูกเสกสรรปั้นแต่งให้ยิ่งใหญ่เกินจริงไปเรื่อย ๆ เรื่องเล่าของคำพูดนี้ที่คนเชื่อกันมากที่สุดคือมีมนุษย์ห้าคนจากดาวที่ผืนดินแห้งระแหงยืนหยัดต่อสู้ทั้งกองทัพอย่างไม่กลัวตาย คำพูดนี้มาจากหนึ่งในอัศวินห้าคนนั้น

“ที่ลุงจะทำนี่มันเหมือนหนีมากกว่าสู้นะลุง”
“เขาเรียกว่าการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์โว้ย”
“ว่าไงก็ว่าตามกัน” เวลานี้แววตาของผมคงเฉิดฉายเหมือนไอพ่นจรวดของลุงไปแล้ว

ภารกิจยิ่งใหญ่ของลุงชัยคือการจุดระเบิด “ครั้งที่สอง” ตอนที่มีคนทำครั้งแรกสำเร็จนั้นเขาคงไม่ได้ตั้งใจจะให้ใครทำมันครั้งที่สองหรอก นี่อาจเป็นเพียงเรื่องฝันเฟื่องของชายชราผู้ป่วยไข้ด้วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ หรือคนขับแท๊กซี่ปากเสียคนหนึ่งที่อยากประชดประชันใครสักคน บันทึกเล่มที่ลุงชัยถืออยู่บอกผมแค่ว่าเขาไม่ได้บ้า

ตำนานเรื่องนี้คือเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ในวันที่ดวงดาวตกอยู่ในทุรยุค อำนาจถูกเปลี่ยนมือไปสู่ท่านผู้นำเบ็ดเสร็จและตามมาด้วยการกวาดล้างฝ่ายตรงข้ามขนานใหญ่ อีกฝ่ายหากไม่ถูกจับไปเข้าค่ายปรับเปลี่ยนแนวคิดก็ถูกขับไล่ออกไปจากดวงดาว ทั้งที่รู้ว่าการหาตั๋วสักใบบินออกไปนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ในสภาวะเศรษฐกิจกลับหลังหันแล้วเดินหน้าลงคลองแบบนี้

‘จะแยกอำนาจออกเป็นส่วน ๆ ไปทำไม ในเมื่ออำนาจเบ็ดเสร็จสามารถเนรมิตรถนนทองคำให้ดาวทั้งดวงได้’ ท่านผู้นำเบ็ดเสร็จเคยประกาศเอาไว้ แต่ทุกวันนี้ขออย่าได้ถามท่านเชียว ‘หากใครไม่พอใจก็เชิญออกไปอาศัยอยู่ในอวกาศโน่น!’

‘ท่านก็ซื้อตั๋วเรือบินอวกาศให้ผมสักใบสิ’ ตาเฒ่าผู้กำลังจะกลายเป็นตำนานเคยบอกเอาไว้ ก่อนที่อยู่มาวันหนึ่งหลังคาบ้านของแกจะเปิดออกแล้วจรวดลำจิ๋วก็พุ่งทะยานออกไปสู่ความมืดมิดเบื้องบน ทิ้งควันพวยพุ่งเป็นสายเอาไว้เบื้องหลัง เหตุการณ์นี้เกิดเมื่อเจ็ดสิบสองปีก่อน

นั่นล่ะ ที่มาของเรื่องทั้งหมด

บางคนบอกว่ามันเป็นแค่เรื่องแหกตา แต่พอหลังจากวันนั้นก็ไม่มีใครเห็นเขาอีก ฝ่ายต่อต้านที่รวมตัวหลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มนับวันนั้นเป็นวันที่หนึ่งของศักราชใหม่ปีที่หนึ่ง แต่ฝ่ายต่อต้านก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องแหกตาไม่แพ้กัน ของจริงเพียงอย่างเดียวคือท่านผู้นำเบ็ดเสร็จยังมีชีวิตยืนยาวมาจนทุกวันนี้ ว่ากันว่าอวัยวะในร่างกายเกินครึ่งถูกเปลี่ยนเป็นของเทียม สมองถูกฉีดพ่นด้วยสเต็มเซลล์ให้คงความคิดสดใหม่ไว้ตลอดเวลา ดวงตาทั้งสองข้างถูกเปลี่ยนเป็นเลนส์พิเศษที่ว่ากันว่าสามารถมองทะลุลงไปถึงความกลัวในจิตใจคนอื่นได้

ลุงชัยจะทำเรื่องที่ว่าเป็นครั้งที่สองด้วยเทคโนโลยีที่ย้อนหลังไปเกือบศตวรรษ และผมกำลังจะกลายมาเป็นลูกมือของแก เหมือนขาแหย่เข้าไปในค่ายกักกันข้างหนึ่งไปแล้ว

“ข้อแรก ต้องไม่ให้โดนจับได้” ลุงชัยยกนิ้วชี้
แน่นอนครับลุง

“ข้อสอง ต้องทำให้สำเร็จ” แน่นอนอีกเช่นกันครับลุง ถ้าทำไม่สำเร็จก็จะโดนจับได้ ไม่ต้องมีข้อสองก็ได้ครับ

“ครั้งหนึ่งที่ดาวแม่ เมืองเจอมาเนียมถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่ง ฝั่งตะวันออกเป็นดินแดนอนุรักษ์นิยม ฝั่งตะวันตกเป็นฮิปสเตอร์ สองผัวเมียพยายามหนีจากฝั่งตะวันออกไปตะวันตกด้วยบอลลูนลมร้อน พวกนั้นค่อย ๆ ทยอยซื้อของที่จำเป็นทีละน้อยจากหลายแห่งมาประกอบเป็นยานบิน เราจะทำแบบนั้นเหมือนกัน ทีนี้ก็เริ่มจากทำบัญชีรายการของที่ต้องใช้ก่อน”

“แล้วเขาทำสำเร็จไหมลุง”
“น่าจะทำได้ ถ้าจำไม่ผิดนะ”

ลุงชัยให้จดทุกอย่างลงกระดาษ หลังจากทำเสร็จแต่ละขั้นตอนแล้วก็ให้เผาข้อมูลส่วนนั้นทิ้งในเตาขยะหลังบ้าน ไม่มีการค้นข้อมูลออนไลน์ ไม่ีการเก็บข้อมูลดิจิตอล ไม่มีการซื้อของทางเน็ต ทั้งหมดนั้นทำให้เสียเวลามากขึ้น แต่ลุงยืนยันว่ามันเป็นมาตรการความปลอดภัยที่จำเป็น

ทยอยถอนเงินจากธนาคาร ซื้อทุกอย่างด้วยเงินสด เปลี่ยนร้านซื้อของไปเรื่อย ลุงชัยทำงานโครงสร้าง ส่วนผมรับผิดชอบซอฟท์แวร์ มันเหมือนมีอะไรสะกิดใจผมมาตั้งแต่ต้น แต่ก็ไม่ได้เอะใจ ด้วยคิดว่ามันเป็นความเครียดจากงานใต้ดินที่พร้อมจะถูกจับได้ทุกเวลา ไอ้เรื่องเข้าค่ายปรับเปลี่ยนแนวคิดนั้นไม่เท่าไหร่หรอก ตอนกลับออกมานี่สิ บางคนตักข้าวใส่ปากยังไม่ตรงเลย มันน่ากลัวตรงนี้นี่แหละ

กำหนดการปล่อยยานใกล้เข้ามา ลุงชัยเลือกวันกลางอากาศหนาวที่คิดว่าท้องฟ้าจะโล่งโปร่งที่สุด จังหวะเหมาะคือตอนที่อาคารรัฐสภาลอยผ่านมาตามรอบ ปกติแล้วท่านผู้นำอาศัยอยู่ในนั้นเพื่อการรักษาความปลอดภัย หวังว่าคงจะมีใครสักคนชี้ให้เขาดูว่าเกิดอะไรขึ้นตอนที่จรวดของเราพุ่งผ่านหน้าไป

สุดท้ายเราได้จรวดทรงกระสวยป้อม ๆ มาลำหนึ่งในที่สุด ห้องโดยสารเล็กจนตอนที่เข้าไปสอนลุงแกบังคับเครื่องนั้นต้องนั่งเบียดกันจนแทบหายใจไม่ออก ผมฉุกคิดขึ้นมาได้ว่านี่มันเป็นยานอวกาศที่นั่งเดี่ยวนี่หว่า

“ก็ต้นแบบมันเขียนไว้แบบนี้” ลุงชัยตอบ หน้านิ่งเหมือนเพิ่งแย่งหลานกินขนมแล้วบอกว่าพรุ่งนี้จะหาให้ใหม่อีกลำ

หันกลับไปดูรอบตัว บ้านสองชั้นหลังเล็กตอนนี้มีแต่โครงข้างนอกเท่านั้นที่เป็นบ้านอยู่ ส่วนข้างในกลายเป็นแท่นปล่อยจรวดอัดแน่นจนบ้านแทบปริ ไม่ต้องคิดจะสร้างลำที่สองเลย

ลุงพาผมเข้าไปในห้องโดยสารแล้วชี้ให้ดูอุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง

“อันนี้เป็นเครื่องส่งสัญญาณ ใส่เพิ่มเข้ามาจากแปลนเดิม หลังจากพ้นชั้นบรรยากาศแล้วเราจะเปิดเครื่องนี้ ถ้าสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยรับสัญญาณได้ เขาจะส่งยานมาช่วยพาไปที่ปลอดภัย แท้งค์ข้างหลังคือไครโอแช่แข็ง เราจะอยู่ในนั้นได้หลายปีระหว่างรอความช่วยเหลือ ไอ้เครื่องนี้ก็ติดตั้งเพิ่มเหมือนกัน รอบที่แล้วตาเฒ่าแกตั้งใจบินออกไปตาย ไม่มีไครโอติดไปด้วย”

ปัญหาคือไครโอก็มีอยู่เครื่องเดียว

“เลือกเอาว่าจะอยู่หรือจะไป”
เฮ้ย เล่นกันอย่างนี้เลยเหรอลุง

“ใครอยู่ก็ไปเข้าค่าย คนไปก็เสี่ยงดวงเอา พระเจ้ากำเนิดเรามาเสรีโว้ยไอ้หลานรัก”

ให้มันได้อย่างนี้สิลุง
อาคารรัฐสภาลอยมาให้เห็นลิบ ๆ และผมต้องตัดสินใจ

NSTDA Academy : การนำปัญญาประดิษฐ์มาช่วยเสริมศักยภาพในการประกอบธุรกิจในยุคดิจิทัล

งานสัมมนา
“การนำปัญญาประดิษฐ์มาช่วยเสริมศักยภาพในการประกอบธุรกิจในยุคดิจิทัล :

Artificial Intelligence (AI) – Next move for the smarter business in the Digital Age.”

ไม่มีค่าใช้จ่าย
รับจำนวนจำกัด
ร่วมลุ้นรับรางวัล Lucky Draw ในช่วงสุดท้ายของงานสัมมนา !!!

Key Highlights
พบกับ ศ.ดร.ธนารักษ์ ธีระมั่นคง ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ซึ่งจะทำให้ท่านได้รู้จักกับ AI : Artificial Intelligence หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เพื่อให้มีความสามารถคล้ายกับมนุษย์ สามารถส่งเสริมกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ให้ได้ดียิ่งขึ้น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้จะถูกนำมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างชาญฉลาด ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่สำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล
ร่วมแบ่งปันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานและบริษัทชั้นนำที่ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุนการดำเนินงานรวมถึงการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและสามารถสร้างมูลค่าทางการตลาดได้อย่างน่าสนใจ อาทิ Amazon Web Services, Microsoft (Thailand) Limited, Ascend Corp, IBM (Thailand) Co.,Ltd., STelligence Co., Ltd.

กลุ่มเป้าหมาย
นักศึกษา นักวิชาการ บุคลากรภาคการศึกษา
บุคลากรและผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้สนใจทั่วไป

วันที่จัดสัมมนาฯ
วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2560 เวลา 9.00 – 16.30 น.

สถานที่จัดสัมมนาฯ
ห้องออดิทอเรียม CO113 ส่วนงานกลาง ชั้น 1 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

ค่าลงทะเบียน
ฟรี (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

หมายเหตุ
กรุณาลงทะเบียนภายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2560
ได้จัดเตรียมอาหารว่าง และอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมงานสัมมนาทุกท่าน
หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียนกรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างน้อย 3 วันทำการ ก่อนวันจัดงาน
ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง วิทยากรและกำหนดการตามความเหมาะสม
ขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกผู้เข้าร่วมงานสัมมนา

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Call Center: 0 2644 8150 ต่อ 81901 (คุณธนัท), 81902 (คุณสิริชุดา)
E-mail: itpe@nstda.or.th

ref : https://www.nstdaacademy.com/webnsa/index.php/integratedhrd/ait2017-1