ผมสงสัยอยู่อย่างนึงครับ
Conflict ในตัวละครหลักกับปัญหา Problem ที่ตัวละครต้องเจอมันอันเดียวกันไหม?
จำเป็นไหมที่ทุกครั้ง เรื่องจะต้องมีปัญหาให้ตัวละครแก้
รบกวนยกตัวอย่างให้หน่อยครับ ขอบคุณครับ
ยูเรนัส
ผมสงสัยอยู่อย่างนึงครับ
Conflict ในตัวละครหลักกับปัญหา Problem ที่ตัวละครต้องเจอมันอันเดียวกันไหม?
จำเป็นไหมที่ทุกครั้ง เรื่องจะต้องมีปัญหาให้ตัวละครแก้
รบกวนยกตัวอย่างให้หน่อยครับ ขอบคุณครับ
ยูเรนัส
ตัวกินยูเรเนียม (เรื่องสั้นๆ)
อาร์ดีสามสองแปดเดินทางกลับมายังอดีต ปรากฎตัวขึ้นหลังจากยานเวลาจอดสนิท เขาเข้าไปในห้องแยกยูเรเนียม ห้องหัวใจหลักของเครื่องจักรกลบินได้ที่ใหญ่ที่สุดที่มนุษย์สร้างขึ้น ที่นั่นช่างเทคนิคกะกลางคืนกำลังนั่งควบคุมเครื่องปั่นยูเรเนียม 238 อยู่
……..
วันนี้ตั้งประเด็นคุยเรื่องเบาๆครับ
เคยสังเกตมั้ยครับว่า เวลาตัวเองเขียนเรื่องสั้นไซไฟหรือนิยายไซไฟ ได้ใช้จินตนาการสร้างภาพรายละเอียดในความคิดให้เห็นภาพทุกรายละเอียดได้มากแค่ไหนก่อนจะเขียนบรรยายสิ่งที่อยู่ในความคิดออกมา
การเขียนลงรายละเอียดเกินไปอาจจะทำลายจินตนาการของคนอ่าน? คิดว่าจริงมั้ยครับ
ขอบคุณสำหรับทุกความเห็นครับ
ขออนุญาตเปิดประเด็นในหัวข้อ เขียนอย่างไรให้ได้”อารมณ์”ในนิยายไซไฟ ครับ
เคยสังเกตมั้ยครับว่า นิยายหรือเรื่องสั้นบางเรื่อง อ่านแล้วสนุกวางไม่ลง ลื่นไหล ได้อารมณ์มากๆ (อารมณ์สนุกนะครับ ไม่รวมอารมณ์อย่างอื่น แหะๆ)
ขณะเดียวกันก็มีนิยายไซไฟ หรือเรื่องสั้นไซไฟบางเรื่อง อ่านแล้วจืดชืดสิ้นดี เหมือนกินก๋วยเตี๋ยวแต่ขาดเครื่องปรุงอะไรประมาณนั้น แต่แก่นของเรื่องหรือ idea ที่ผู้เขียนนำเสนอสุดเจ๋งเอามากๆจนทึ่งว่า เขาคิดได้ยังไง
ผมจะไม่กล่าวถึงองค์ประกอบเรื่องอื่นนะครับนอกจาก”ภาษา”ที่นักเขียนนำมาใช้
ถ้าเรามองในตัวภาษา… เราต้องเลือกคำมาเขียนให้คนอ่านได้อารมณ์ร่วมไปด้วย? แล้วเจ้าคำที่ว่านี่ในความคิดของเพื่อนๆ น้องๆ จำเป็นมั้ยครับว่า ต้องเป็น”คำที่แสดงความรู้สึกของตัวละครเพียงอย่างเดียว” หรือต้องบรรยายแอ็คชั่นตัวละครเยอะๆ ใช้ภาษาที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวขึ้นในความคิด จินตนาการของคนอ่าน หรือมีคำชนิดอื่นๆด้วย? คิดเห็นอย่างไรครับ
โดยส่วนตัวผมคิดว่าเรื่องนี้สำคัญมากๆครับ ต่อให้เรื่อง plot ดีหรือ idea เจ๋งแค่ไหน ถ้าอ่านแล้วแห้งๆ โอกาสที่คนอ่านจะวางงานเรา (เอาไว้ก่อน) ทิ้งเพื่อรออ่านต่อนี่สูงมากๆ
ถาม คคห. จากเวปมาสเตอร์, ท่านประธานชมรม ,คุณ หูโน, Zhivago, คุณนิราจ และเพื่อนๆท่านอื่นด้วยครับ มาแชร์ไอเดียกัน
เป็นไปได้ไหมครับ อยากให้เวปชมรมฯกลับไปใช้ logo เดิมที่เคยใช้ครับ…ที่มีสีดำๆน้ำเงินๆ (ถ้าจำไม่ผิด) จริงๆแล้วผมกะว่าจะ post บอกตั้งนานแล้วครับ ตั้งแต่ถูกเปลี่ยนเป็นแบบต้นหญ้าเขียว
ผมชอบ logo เดิมครับเพราะมันดูเป็นไซไฟมากกว่าถ้าเทียบกับ logo ต้นหญ้าเขียวๆที่ใช้อยู่ตอนนี้ ( logo เดิมผมไม่ได้save ไว้ด้วยซิ แต่ถ้าเป็นสมาชิกท่านเก่าๆคงจะพอนึกออก )
อาจจะต้องฝากท่านประธานชมรมกับผู้ดูแลเวป (น่าจะเป็นคุณประยูร?) ช่วยพิจารณาด้วยครับ
หรือจะลงประกาศให้มีการออกแบบ logo ชมรมก็ได้ครับ (แบบไม่ต้องมีของรางวัลให้) ให้ให้เพื่อนๆสมาชิกโหวตเอาว่าแบบไหนดีที่สุด ขอบคุณครับ
สวัสดีอีกครั้งครับ เพิ่งผ่านสงกรานต์มาหลายๆท่านคงได้พักผ่อนกันหนำใจ อากาศในช่วงสงกรานต์ร้อนมากๆ จนไม่อยากทำอะไรนอกจาก อาบน้ำ นอนเล่นอยู่กับบ้าน ส่วนผมก็ใช้เวลาช่วงหยุดยาวสงกรานต์เขียนนิยายที่ค้างอยู่ต่อ สิ่งหนึ่งที่ค้นพบคือเขียนในตอนที่อากาศร้อนนี่ไม่สนุกเลยครับ หัวสมองพาลจะคิดไม่ออกเอา เลยทำได้แต่เขียนไปหยุดไป ท้ายสุดแล้วก็เข็นออกมาได้อีกบทพร้อมส่ง สนพ.
จริงๆแล้วเคยอ่านคำแนะนำจากนักเขียนท่านหนึ่งผู้ชำชองอยู่กับวงการนักเขียน ท่านบอกไว้ว่า นักเขียนต้องสามารถเขียนได้ทุกสภาวะ ไม่ว่าอากาศจะร้อน หนาว รวมถึงไม่อิงเอาอารมณ์อยากเขียนเป็นที่ตั้ง ดังนั้น นักเขียนต้องเขียนทุกวัน ทำให้เป็นนิสัย นั่งโต๊ะตามเวลาเดิมที่วางไว้ ลงมือเขียนและเขียน แม้กระทั่ง ไม่รู้จะเขียนอะไรก็ต้องนั่งที่โต๊ะ พิมพ์มั่วๆเอาก็ได้ สักพักก็จะเขียนออกเอง
อ่านแล้วก็เหมือนจะง่าย แต่ในทางปฎิบัติก็แอบยากนิดนึงเพราะผมก็ยังอดคิดไม่ได้ว่า งานเขียนนิยาย เรื่องสั้น เป็นงานศิลปะแบบหนึ่ง ดังนั้นศิลปินผู้สร้างงานต้องอาศัยอารมณ์ร่วมในงานด้วยจึงจะทำให้เกิดความอ่อนช้อยและความมีชีวิตชีวาในผลงานเขียน
เอาล่ะ เอาล่ะ นอกเรื่องมานานแล้ว แหะๆ มาว่ากันต่อครับ คราวที่แล้วผมค้างไว้ตรง 5 ขั้นตอนในการเขียนเรื่องสั้นไซไฟ ดังนี้
ขั้นตอนการเขียนเรื่องสั้นไซไฟกันครับ
1) หาเรื่องมาเขียน จากการอ่านบทความ ข่าว สารคดี หรือข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์
2) สร้างเรื่องขึ้นมา จากข่าวหรือข้อมูลในข้อหนึ่งที่ได้มา มีวิธีครับ ไม่ยากเดี๋ยวคราวหน้ามาดูกัน
3) คิดโครงเรื่อง ตอนต้น ตอนกลาง และตอนจบ + จุดหักมุม
4) ลงมือเขียน เขียนและเขียน เขียนให้จบนะครับ ทำไมต้องเขียนให้จบ คราวหน้าผมจะมาเฉลย เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับคนที่อยากเป็นนักเขียน
5) ทิ้งไว้สักห้าวันหรือมากกว่านั้นแล้วค่อยเอามาอ่านดูเพื่อแก้ไข ปรับปรุง
สำหรับตอนที่ 2 นี้ จะคุยในหัวข้อที่ 1 ก่อนครับ
1) หาเรื่องมาเขียน จากการอ่านบทความ ข่าว สารคดี หรือข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์
ก่อนที่จะเขียนเรื่องสั้นแนวไซไฟหรือนิยายก็ตามที เราต้องมีเรื่องที่จะเขียนก่อน คำถามต่อมาคือ จะเขียนเรื่องอะไรดี ? คำถามนี้ตอบไม่ยากครับ แหล่งข้อมูลในการเขียนเรื่องมีอยู่รอบตัว ทั้งในหนังสือพิมพ์ หน้าข่าววิทยาศาตร์ ในอินเตอร์เน็ต วารสารแนววิทยาศาสตร์ (ในบ้านเราก็นิตยสาร Update ครับ เล่มนี้มีข้อมูลเยอะมากสำหรับเอาเป็นแหล่งวัตถุดิบในการสร้างเรื่อง) จากการพูดคุยกับเพื่อนๆหรือคนที่อาวุโสกว่า เราอาจจะลองถามเรื่องมันส์ๆเพื่อดูไอเดียของเพื่อนเราครับ เช่น นายรู้มั๊ยถ้าดวงจันทร์หายไป โลกของเราจะเป็นยังไง แรงดึดดูดจะเท่ากับ 9.8m/sec^2? นายคิดว่าไง … เราก็ปล่อยให้เพื่อนแสดงความคิดเห็นแล้วเราก็จำมาเพื่อเอามาต่อเติมเสริมจินตนาการของเราเข้าไป แค่นี้เราก็ะได้เรื่องมาเขียนแล้วครับ
แหล่งวัตถุดิบอื่นๆเช่น จากข่าวใน TV นิทรรศการวิทยาศาสตร์ของเด็กประถม มัธยม นี่ก็อย่ามองข้ามนะครับ ดูดีๆมีอะไรให้เอามาเขียนเพียบเลย
แล้วจะแปลงข้อเท็จจริง (fact) ที่เราอ่าน ดู ฟัง เป็นสิ่งที่เรียกว่า plot ได้ยังไง? อันนี้มีเทคนิคครับ ไม่ยากอีกนั่นแหล่ะ หลักการง่ายๆเราต้องระลึกถึงกฎเกณฑ์ของการเขียนที่สำคัญข้อหนึ่งครับ “นิยายหรือเรื่องสั้นเป็นเรื่องของตัวละคร อะไรเกิดกับตัวละครล่ะ? ไม่ใช่เหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น” พูดง่ายๆคือ ตัวละครหลักในเรื่องจะเป็นผู้สร้างเรื่องให้เกิดขึ้นครับ แล้วเจ้าตัวละครหลักที่ว่าจะสร้างเรื่องอะไร? ตอบคำถามข้อนี้ ตัวละครหลักต้องการเปลี่ยนแปลงบางอย่างให้ดีขึ้นหรือเลวร้ายลงแต่อะไรๆมันไม่ง่ายเหมือนไปเซเว่นอีเลเว่น เพราะมันจะต้องมีอุปสรรคขัดขวางตัวละครหลักไม่ให้ทำสำเร็จ ดังนั้นตัวละครหลักของเราก็จะต้องสู้ยิบตาเพื่อให้บรรลุสิ่งที่ต้องการในตอนท้ายให้ได้ (อุปสรรค ไม่ว่าจะเป็น คนรอบกายตัวเอกคู่ปรับ เมีย กิ๊ก หรือคนขายปลาทูหรือความคิดสับสนของตัวเอกเอง สิ่งเหล่านี้เป็นศัตรูกับตัวเอกเราได้ครับ) อุปสรรคที่กล่าวถึงนี้จะทำให้เกิด “เรื่อง” ขึ้นมา ดังนั้นจึงทำให้เรามีเรื่องเล่า(โม้)และเขียน
ตัวละคร+ปัญหา=มีเรื่องให้นักเขียนเล่า ถ้าไม่มีปัญหาก็ไม่มีเรื่องให้เล่าให้อ่านสนุกจนวางไม่ลง
ไม่มีใครอยากอ่านเรื่องของตัวละครที่ประสบความสำเร็จทุกอย่าง ข้อนี้สำคัญครับ… เพราะมันไม่น่าสนใจและน่าเอาใจช่วย ยกตัวอย่างง่ายๆ ผมจะเขียนเรื่อง นายเอกเกิดมา เรียน สอบชิงทุนไปเรียนต่อต่างประเทศ กลับมาสร้างหุ่นยนต์ช่วยชาวนาไถนาได้สำเร็จ ได้ภรรยารวยล้นฟ้า แต่งงานและอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข จบ… น่าเบื่อไหมครับ ? ผมว่าโค ตะ ระ น่าเบื่อเลย
ถ้าคนเขียนเขียนแล้วไม่สนุกกับมันไม่ต้องพูดถึงคนอ่านเลยว่าจะรู้สึกยังไง ^^ เขียนเสร็จลองอ่านดูว่าสนุกไหม ถ้าเราสนุกก็เชื่อได้เลยว่าคนอ่านก็จะสนุก (คนอ่านคนแรกคือ บก. จัดว่าเป็นสิ่งมีชิวิตที่เอาใจและเข้าใจยาก รวมถึงโค ตะ ระเป็นคนละเอียดละออ…ดังนั้นท่าน บก. ต้องการอะไร ชอบแบบไหน บางทีเราก็ต้องตามใจท่าน)
คราวนี้เราจะมายกตัวอย่างจากของจริงกันครับ พอได้ข้อเท็จจริงหรือ facts แล้ว เราจะผูกเรื่องขึ้นมาได้ยังไง คราวหน้ามาต่อกัน ทิ้งท้ายก่อนปิด post ครับ ท่านใดมีวิธีเจ๋งๆก็มาแชร์กันได้ เพราะผมก็ไม่ใช่สุดยอดผู้เชี่ยวชาญอะไรมากนัก ส่วนใหญ่ก็อ่านและสอบถามจากผู้ที่เขียนมามากกว่าตัวผม (เช่นคุณวรากิจ ประธานชมรมของเรา) แล้วนำมาปรับ ประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับสไตล์ของตัวผมเอง ดังนั้นผมยินดีฟังทุก comment นะครับ
สวัสดีครับ 🙂
สวัสดีครับ วันนี้เกิดไอเดียอยากสร้างเวปที่เป็นจุดนัดพบของผู้ที่ชื่นชอบหนังสือหรือภาพยนต์แนวไซไฟครับ ก็เลยได้เวปอย่างที่เห็นตาม link ข้างล่างนี้
มาแนะนำเวป fan pages facebook สำหรับท่านที่ชื่นชอบหนัง หนังสือแนวไซไฟครับ
Scifi-movies fan pages สำหรับผู้ที่ชอบภาพยนต์และหนังสือนิยาย เรื่องสั้นไซไฟ
ขอบคุณมากครับ
ไหนๆก็มีการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ในเวปนี้แล้ว หลายๆคนอยากเขียนส่งแต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี ผมก็เลยขออาสาตัวเองมาแนะนำน้องๆนักเขียนหน้าใหม่เพื่อที่จะได้มีเทคนิคและความมั่นใจที่จะลงมือเขียนส่งประกวด
อยากให้เขียนงานแนวไซไฟเยอะๆครับ เพราะวงการหนังสือนิยาย เรื่องสั้นของเราขาดแคลนนักเขียนแนวนี้มากๆ
การเขียนเรื่องสั้นไซไฟมีเทคนิคการเขียนที่ไม่ต่างกับการเขียนนิยายหรือเรื่องสั้นแนวอื่นครับ จะต่างอยู่แต่เพียงในเรื่องสั้นไซไฟนั้นจะมีความรู้หรือข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์แทรกอยู่ด้วย ไม่มากก็น้อย เรื่องสั้นหรือนิยายไซไฟจะแบ่งออกเป็นสองประเภท
ไซไฟแฟนตาซี ประเภทนี้จะมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์แทรกอยู่ไม่เยอะ
ฮาร์ดไซไฟและซอฟท์ไซไฟ จะตรงข้ามกับประเภทแรก ผมจะถนัดเขียนประเภทหลังครับ งานของผมที่เป็นนิยายกับเรื่องสั้นที่ลงในนิตยสารก็จะเป็นแนวซอฟท์ไซไฟจะเป็นส่วนมาก
มาเข้าสู่ขั้นตอนการเขียนเรื่องสั้นไซไฟกันครับ
1) หาเรื่องมาเขียน จากการอ่านบทความ ข่าว สารคดี หรือข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์
2) สร้างเรื่องขึ้นมา จากข่าวหรือข้อมูลในข้อหนึ่งที่ได้มา มีวิธีครับ ไม่ยากเดี๋ยวคราวหน้ามาดูกัน
3) คิดโครงเรื่อง ตอนต้น ตอนกลาง และตอนจบ + จุดหักมุม
4) ลงมือเขียน เขียนและเขียน เขียนให้จบนะครับ ทำไมต้องเขียนให้จบ คราวหน้าผมจะมาเฉลย เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับคนที่อยากเป็นนักเขียน
5) ทิ้งไว้สักห้าวันหรือมากกว่านั้นแล้วค่อยเอามาอ่านดูเพื่อแก้ไข ปรับปรุง
ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ ห้าขั้นตอนก็สามารถเนรมิต เรื่องสั้นหรือนิยายไซไฟออกมาได้แล้ว คราวหน้าผมจะมาพูดถึงรายละเอียดในแต่ละข้อนะครับ พร้อมทั้งจะยกตัวอย่างให้ดูด้วย
อยากคุยเรื่องงานเขียนแนวนี้mail มาที่ผมได้ครับที่ cpcw123แอทฮอทเมล์.com ครับ (อย่าลืมเปลี่ยนคำว่า แอทฮอทเมล์ เป็นภาษาปะกิด ด้วยนะครับ)