Sci-Fi ในความทรงจำ

จากกาลเวลาที่ผ่านมาร่วม 30 ปี ทำให้ผมสงสัยว่า ทำไม นิยายวิทยาศาสตร์ บางเรื่อง จึงยังแวะเวียนกลับมาให้ห้วงคำนึงอยู่บ่อยครั้ง
ถึงแม้จะจำรายละเอียดทั้งหมด ไม่ได้ แต่ โครงเรื่อง แก่น และรายละเอียด หลายๆอย่างยังคงอยู่ และน่าตื่นใจทุกครั้งที่นึกถึง ทั้งที่หากนับอายุกันตามจริงแล้ว เรื่องเรื่องนั้น อาจจะมีอายุมากกว่านั้นอีกหลายๆเท่า
ทำไม เรื่องราวเหล่านั้น จึงสามารถคงความทันสมัย และน่าสนใจอยู่ได้จนถึงปัจจุบันนี้(สำหรับผมนะ)
เอ้า แนะนำ กันเลยดีกว่า (เรียกว่าแนะนำได้ไหมเนี่ย เพราะจำชื่อเรื่องไม่ได้)

  1. every trouble in the world :

    ซึ่ง plot คล้าย minority report มาก ในแง่แก่นของเรื่อง คือ การคาดการณ์ อาชญากรรม แต่อันนี้ เป็นการคำนวณ ของ คอมพิวเตอร์ เครื่อง มหึมา
    ผมอ่านครั้งแรกจาก มิติที่ 4 (เล่มที่เท่าไรก็จำมิได้แล้ว) แต่วิธีการเดินเรื่อง และ บทสรุปที่สุดยอด ยังคงติดตา ตรึงใจ ผมจนถึงบัดนี้

  2. อันนี้จำชื่อเรื่องไม่ได้ จำได้แค่ว่าอ่านใน มิติที่ 4 อีกเช่นกัน

    plot คือ นักวิทยาศาตร์ ผลิต ลูกบอล ประหลาด ออกมาได้ลูกหนึ่ง
    ที่มันประหลาดคือ มัน กระเด้ง สูงขึ้นเรื่อยๆ!
    เอาละสิ นี่มันขัดแย้งกับ กฎฟิสิกส์ พื้นฐานโดยสิ้นเชิง
    แล้วผู้เขียนทำให้มันเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร
    สิ่งที่เขา อธิบายคือ ปกติ ลูกบอลเวลากระเด้ง จะลดระดับลง และร้อนขึ้น นั้นคือ ลูกบอลจะสูญเสียพลังงานออกไป ในรูปความร้อน เสียง ฯลฯ
    แต่เจ้าลูกบอลนี้ มันจะเย็นลงเรื่อยๆ เนื่องจาก มันเก็บพลังงานรอบข้างเข้ามา ผลก็คือ มันกระเด้งสูงขึ้นเรื่อยๆนั่นเอง และผลที่ตามมาคือ momentum ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ซึ่งแรงกระทบของมัน อาจจะเป็น หายนะของโลก…
    เนื้อเรื่อง จึงเป็นการหาวิธีที่จะหยุดการกระเด้งของเจ้า ลูกบอลมรณะ ลูกนี้
    น่าสนุกนะครับ แต่เสียดายที่ผมจำตอนจบไม่ได้ 😛
    สิ่งที่ผม ติดใจ คือการนำเสนอ วิทยาศาตร์ ที่ขัดกับกฎพื้นฐานทั้งหมดโดยสิ้นเชิง นั่นเองครับ

  3. เรื่องนี้เป็นฝีมือคนไทย เข้าใจว่าเป็นผลงานของคุณ มณฑานี ตันติสุข

    อ่านใน ลลนา มั้งถ้าจำไม่ผิด
    (คือ ตอนผมเด็กๆนั้น พี่สาวเขาเป็นคนซื้อหนังสือ ครับ ผมก็อาศัยอ่าน ไม่จ่ายตังค์ เลยอ่านหนังสือผู้หญิงเสียส่วนใหญ่ครับ … ก็แก้ตัวกันไป)
    เอ้าเข้าเรื่อง เป็นเรื่องของโคลนนิ่ง และ การฆาตกรรม ครับ
    ผู้เขียน เล่นกับ แง่มุมทาง กฎหมายได้อย่างน่าสนใจมากๆ ครับ

ทั้ง 3 เรื่องนี้ ยังคงวนเวียน อยู่ใน ศรีษะ ของกระผม อยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่า เป็น นิยายที่ประทับใจที่สุดเท่าที่อ่านมาก็ว่าได้
(ต้องขออนุญาติ บอกว่า เรื่องในตำนาน อื่นๆ บางอันก็ไม่ได้ประทับใจขนาดนั้น บางอันก็ไม่ได้อ่าน ครับ ขอละไว้ไม่เอ่ยถึงก็แล้วกัน)

เพื่อนๆ มีเรื่องประทับใจ อะไรบ้าง มาเล่าสู่กันฟัง นะครับ

3 ความเห็นบน “Sci-Fi ในความทรงจำ”

  1. ผมประทับใจนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง ดอกไม้สำหรับอัจเจอนัล
    หลายคนคงรู้จักนะครับ เดี๋ยวนี้มีคนมาแปลใหม่ว่า ดอกไม้
    สำหรับอัลเกอนัล อะไรทำนองนี้นะครับ เล่มใหม่ผมไม่ได้ซื้อ
    เพราะทนไม่ได้กับคำว่าอัลเกอนัล ผมเรียกอัลเจอนัลมาเกือบ
    สามสิบปี ก็เลยไม่อยากเปลี่ยนแปลงอะไร ส่วนฉบับเก่าได้ให้
    คนอื่น ไปแล้ว เสียดายเหมือนกัน แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะ
    อัลเจอนัลยังอยู่ในใจผมเสมอ

    ขอคิดข้อหนึ่งที่ผมได้จากอัลเจอนัล ก็คือ คนเราไม่จำเป็นต้องรู้
    ไปทุกอย่าง ก็สามารถเป็นคนที่มีความสุขในชีวิตได้
    สวนมิติที่ 4 ยุคต้น ผมยังพอจะเก็บไว้บางเล่ม ใครสนใจเรื่องไหน ก็เมล์มาคุยกันได้ครับ

  2. ผมเคยดูหนังกาตูนยื ที่ช่อง 7 นำเข้ามาฉายเมื่อสักประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว จำคับคล้ายคับครา เรื่อง โอเอซิส น่าจะประมาณนี้ อยากได้วีดีโออ่ะ เรื่องของเรื่องคือเขาตุลุยจักรวาลเลย ชอบมากใครทราบแนะนำหน่อยครับ

ใส่ความเห็น