คุณHooNo2000 หยอดประเด็นไว้
ผมเลยขอเปิดเป็น post ใหม่เลย เพราะน่าจะมีประเด็นถกเถียงกันได้เยอะ
ผมมองว่า คนที่จะมี จิตนาการกับความคิดสร้างสรรค์ ได้ ต้องเป็นคนที่สามารถ “ตั้งคำถาม” ได้
ยิ่งชอบถาม ยิ่งสร้างจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์
จะเห็นว่า
วลีที่นิยมใช้สร้างนิยายวิทยาศาสตร์ ก็เป็นคำถาม นั่นคือ what if… นั่นเอง
“จะเกิดอะไรขึ้นถ้า”
แต่ก่อนจะตอบตรงนั้นได้ก็ต้องตอบ “ทำไมเป็นเช่นนั้น” “ทำไมเป็นเช่นนี้” ให้ได้ก่อน
และต้องเข้าใจด้วยว่า คำถามลักษณะนี้ ไม่ได้มีอยู่เฉพาะในนิยายวิทยาศาสตร์เท่านั้น
เวลาคนคนหนึ่งโดนชก เขาจะชกตอบโต้หรือไม่? และทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับ character ของคนคนนั้น
ซึ่งถือเป็นเรื่องพื้นฐานของการเขียนทั่วไปอยู่แล้ว
ฉะนั้น จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ในนิยายวิทยาศาสตร์ จึงต้องเป็นการตั้งคำถามถึงสิ่งที่ยังไม่มีอยู่(สิ่งของ) ยังไม่เกิดขึ้น(เหตุการณ์) หรือ สิ่งที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้(เกิดอยู่แล้ว มีอยู่แล้ว แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร)
ซึ่งทำให้เรื่องสยองขวัญ(ผี,ปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติ)สามารถเขียนเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ได้ โดยการ”ใส่”เหตุผลให้มันนั่นเอง
ฉะนั้น(ในความคิดของผม)วิธีการเพิ่ม จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ วิธีง่ายๆคือการขยันตั้งคำถาม นั่นเอง ครับ
จะเกิดอะไรขึ้นถ้า ต้นไม้ตายหมดโลก
-ตายเพราะอะไร? และมนุษย์จะใช้ชีวิตหลังจากนั้นอย่างไร?
จะเกิดอะไรขึ้นถ้า โลกแตกเป็นชิ้นเล็ก
-ทำไมถึงแตก? และมนุษย์จะเป็นเช่นไร? (ทั้งก่อนแตก ระหว่างแตก และหลังการแตก)
จะเกิดอะไรขึ้นถ้า…
จะเห็นว่า แค่นี้ ก็เขียนนิยายวิทยาศาสตร์ได้ไม่รู้จบ แล้ว
แต่ก็เหมือนกับความคิดอื่นๆ คือ ถูกคิด ถูกใช้ ถูกค้นพบ อยู่เรื่อยๆ
จึงมีคนบอกผมว่า คิดอะไรออกให้รีบเขียน รีบทำ เพราะในเวลาเดียวกันนั้น ก็มีคนคิดเหมือนคุณอยู่นับไม่ถ้วนทั่วโลก
สิ่งที่อยากเพิ่มเติมคือ สังคมแห่งการตั้งคำถาม
สมัยเด็กๆ(นักเรียน)ผมมีประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดีนัก กับการศึกษา
คือนักเรียนไม่ค่อยกล้าถาม เพราะสมัยผม กลายเป็นได้รับคำตอบจากครูว่า “ทำไมไม่เข้าใจ โง่หรือไร”
(ซึ่งปัจจุบันผมมานั่งวิเคราะห์ดู มีความเป็นไปได้สูงว่าผู้สอนไม่มีความรู้มากพอจะตอบคำถามนั้นได้ และอายที่จะบอกว่าไม่รู้)
ซึ่งไม่รู้ว่าปัจจุบันนี้เป็นเช่นไรแล้ว?
สิ่งที่ผมอยากจะบอกคือ ผู้สอนไม่ต้องรู้ทุกเรื่อง สามารถไม่รู้ได้ และสามารถขอเวลาไปค้นหาเพิ่มเติมได้
อย่าอายที่จะพบว่ามีเรื่องที่ตนเองไม่รู้ เพราะจะได้รู้
หรือถ้าความรู้ของตนเต็มเปี่ยมอยู่แล้ว ก็ลองปรับเปลี่ยนวิธีการอธิบายดู น่าจะช่วยได้
(แต่ไม่ใช่บอกว่าผู้ถามโง่ … กรณีนี้ใช้กับงานสอนนะครับ ส่วนกรณี “สื่อมวลชน”ตั้งคำถามโง่ๆ อันนี้บอกว่า “ถามโง่ๆ”ได้ เพราะว่านั่นไม่ใช่กระบวนการสอน)
หรือการตั้งคำถามระหว่างการสอนประเภท”ใช่ไม่ใช่”แล้วรอคำตอบ หรือเว้นให้นักเรียนเติมคำในช่องว่าง(เป็นอะไร,คืออะไร) ผมว่ามันไม่น่าจะเป็นวิธีการที่ดีสักเท่าไร เพราะผู้เรียนจำเป็นต้องใช้เวลาคิด ขณะที่ผู้สอนรู้คำตอบอยู่แล้ว ซึ่งก็จะทำให้ผู้สอนพยายามถามเร่งเร้าซ้ำๆ ซึ่งน่าจะเป็นการเสียเวลาในการสอน และสร้างความเครียดให้แก่ทั้งผู้สอนและผู้เรียน มากกว่า
ดูในงานสัมนาทั่วๆไปในปัจจุบันก็ยังมีลักษณะไม่กล้าถามอยู่ นอกจากจะมีการให้รางวัล(เอาผลตอบแทนเข้าล่อ) หรือเริ่มมีคนถามนำ
คุณค่าของงานเขียนนิยายวิทยาศาสตร์กับจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์
ในประเด็นนี้ผมเข้าใจว่าคุณHooNo2000 หมายถึงพวกเรื่องน้ำเน่า วนซ้ำๆทั้งหลาย
แต่ผมค่อนข้างที่จะมีความเห็นต่างออกไป
น้ำเน่า คือ กรณีคงที่ ทำซ้ำบ่อยๆ ในช่วงเวลานั้น (ผมเน้นว่า ในช่วงเวลานั้น)
จริงๆแล้วเรื่องซ้ำสามารถทำได้ ถ้าทิ้งระยะเป็นเวลานานพอสมควร ไม่ได้คงที่ แต่เป็นการไหลวนกลับมาเมื่อทิ้งเวลาไปสักระยะแล้ว
แล้วนานแค่ไหน
โดยความเห็นส่วนตัวน่าจะ 30-50 ปีขึ้นไป ค่อยเอามาทำใหม่ครับ
ถ้าระยะเวลาน้อยกว่านั้น ควรจะต้องมีการตีความใหม่ หรืออย่างน้อยสร้างวิธีการนำเสนอใหม่ ซึ่งควรจะสร้างผลกระทบที่ดีกว่าเดิม(ไม่ใช่แย่ลง)
ยกตัวอย่างหนัง Deep Impact (http://www.imdb.com/title/tt0120647/) กับ Armageddon (http://www.imdb.com/title/tt0120591/)
จะว่าทั้งสองเรื่อง คือเรื่องเดียวกันก็ได้ และออกมาแทบจะเป็นเวลาเดียวกัน
ประเด็นก็ใกล้เคียงกันมาก (การเอาชีวิตรอด,ความรักระหว่างครอบครัวและการเสียสละ)
แต่เลือกที่จะเล่าด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน เลือกที่จะให้รายละเอียดที่แตกต่างกัน
แต่ละคนอาจจะชอบเรื่องสองเรื่องนี้ไม่เท่ากัน แต่ในช่วงเวลานั้นไม่มีใครบอกว่าเรื่องนี้ “น้ำเน่า”
ทั้งๆที่จริงๆแล้ว plotเรื่องมหันตภัย ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีมาตั้งแต่ Earthquake, The Towering Inferno, หรือแม้กระทั่ง The War of the Worlds(1953)
แล้วหนังทั้งสองเรื่อง สูญเสียคุณค่าลงไปหรือไม่ ผมว่า ก็ยังไม่ถึงขนาดนั้น
ในแง่ของงานเขียน ผมอยากยกตัวอย่าง Michael Crichton (http://www.michaelcrichton.net/books.html)
เพราะผมมองว่า Jurassic park และ west world คือเรื่องเดียวกัน(theme park ที่เกิดความผิดพลาด)
แต่ก็ไม่ได้มีใครโจมตีในประเด็นนั้นเท่าไร
ทำไม
น่าจะเป็นเพราะรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกันมากมาย และประเด็นที่เพิ่มเติมขึ้นมา รวมถึงการทิ้งระยะห่าง ของมัน
หรือยกตัวอย่างเช่น The Matrix (http://www.imdb.com/title/tt0133093/)
ที่น่าจะได้รับการยกย่องค่อนข้างมาก ทั้งๆที่ ที่จริงแล้ว แก่นของเรื่อง(เฉพาะภาคแรก)คือเรื่องของ “ความดี ความชั่ว” เท่านั้นเอง
ส่วนประเด็นเรื่องโลกของ matrix ก็มาจากเรื่อง Ghost in the Shell (http://www.imdb.com/title/tt0113568/) ในส่วนของ puppet master และการ always connect ซึ่งเป็นผลให้นำไปสู่การตีความเชิงศาสนา(ซึ่งกลายเป็นประเด็นที่ได้รับการชื่นชมกันมาก)
ส่วนฉากการต่อสู้ ผ่านจินตนาการ ก็ถูกใช้มาแล้วทั้ง A Nightmare on Elm Street 3: Dream Warriors และ Dreamscape หรือแม้แต่ Virtuosity เพียงแต่ว่า ด้วยต้นทุนการผลิตที่ลดลง เทคโนโลยี่ในการถ่ายทำก็ดีขึ้น และรวมถึงเงินทุนที่มากขึ้นด้วย
ผลการผลิตที่เกิดขึ้น จึงมักจะดีขึ้นไปด้วย นั่นเอง
ผมไม่ได้บอกว่า The Matrix ไม่ดี(เดี๋ยวโดนด่าตายเลย)
แต่สิ่งที่กำลังบอกคือ ความเป็น original นั้นหายากมากขึ้นทุกที
ฉะนั้น ถ้าสามารถสร้างความเป็น original แม้แต่เพียงเศษเสี้ยว ก็ถือเป็นสิ่งที่ดีแล้ว
และหากคิดอะไรได้ ก็จงรีบเขียนโดยด่วน เพราะเป็นไปได้ว่าทุกๆคนบนโลกกำลังค้นพบ ความเป็น original นั้นอยู่เช่นกัน
อย่างที่ผมบอกก่อนหน้าก็คือ คนเรามักมีเรื่องที่สนใจอยู่ในช่วงเวลานั้นๆหรือแม้กระทั่ง”ปม”ในตัวของผู้เขียนเอง ซึ่งมักจะปรากฎออกมาในงานเขียน
หลายๆครั้ง เมื่อมองลึกลงไปในแก่นของมันแล้ว มักจะเป็นเรื่องเดิมๆซ้ำๆ ซึ่งมาจากประสบการณ์เรียนรู้ ความคิด ความเชื่อ ที่ฝังตัวมานานนับสิบๆปี หรืออาจจะมาจากระดับความเป็นตัวตนของผู้เขียนเลยทีเดียว
ฉะนั้น ในมุมมองผม งานเขียนซ้ำๆของผู้เขียนแต่ละคน เกิดขึ้นได้ แต่คงต้องปรับเปลี่ยนประเด็น รายละเอียด วิธีการนำเสนอ ฯลฯ
เพราะไม่เช่นนั้น มันก็คือ การ rewrite งานเขียนเดิม เท่านั้นเอง
ซึ่งจริงๆแล้วการปรับเปลี่ยนประเด็นก็มีผลย้อนกลับไปสู่การปรับเปลี่ยนมุมมอง(ต่อชีวิต)ของผู้เขียนเองด้วย
เริ่มนอกเรื่องล่ะ
โดยสรุป
จิตนาการกับความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มได้ จากการพยายามตั้งคำถาม และ ค้นคว้าเพิ่มเติม
งานเขียนซ้ำๆสามารถกระทำได้ ถ้ามีการปรับเปลียนประเด็นหรือการตีความใหม่ แต่ก็ควรจะทิ้งระยะเวลาพอสมควร
แต่แน่นอน งานเขียนที่มีความเป็น original มากๆก็ย่อมได้รับความชื่นชมมากด้วยเช่นกัน
พอจะได้ไหมครับ?
ยังตามอ่านอยู่ครับแต่กระท่อนกระแท่นไปบ้าง ช่วงนี้ปิดเทอม ว้าวุ่นกับเด็กๆ พึ่งพาเด็กกลับจากทะเลจันทบุรี ก็ตามมาด้วยภาษี ภงด 90 แล้วก็งานค้างๆ มึนๆไปหน่อยครับ
กลับมาอ่านต่อแล้วครับ มีข้อสงสัยงานเขียนนั้นบางครั้งไม่จำเป็นต้องมีปัญหาก็เล่าเรื่องได้ถ้าประเด็นที่จะเล่าน่าสนใจพอ เช่นเบื้องหลังชีวิตนางระบำเปลื้องผ้า อย่าง show girls จริงอยู่ว่าในเรื่องอาจมีคำถามมีปัญหาแต่ก็ดูจะเป็นแค่ชูรสให้ดูสนุกขึ้น ไม่ใช่แกนหลักของเรื่อง อันนี้จริงไหมครับ ส่วนตัวผมเห็นว่าการใช้คำถามหรือปัญหาในเรื่องเป็นสิ่งที่สร้างความสนใจได้ดี และเป็นเครื่องมือที่ดีในการเขียนทีเดียวแต่คงไม่ใช่ทุกเรื่องต้องมีคำถามหรือปัญหาไปทั้งหมด
เห็นด้วยเรื่องการสอนของไทยครับ ผมว่าการสอนด้วยการตั้งคำถามนั้นจะทำให้เด็กๆพยายามใช้พลังสมองมากขึ้นแม้จะได้รับคำตอบที่ถูกบ้างผิดบ้างหรือไม่ตอบเลยก็ตาม กระนั้นก็ยังทำให้เด็กรู้ว่าต้องพยายามหาคำตอบ รู้จักสังเกตและตั้งคำถามเอง เพื่อโตขึ้นจะได้รู้จักคิดและหาคำตอบเอง เรื่องนี้ทำให้ผมเรียนแย่มากในตอนเด็กๆ แต่เรียนดีขึ้นมากในชั้นอุดมศึกษา โดยเฉพาะข้อสอบนั้นเรียกได้ว่าสำคัญไม่แพ้หรืออาจจะมากกว่าการสอนด้วยซ้ำ เพราะหากยังมีข้อสอบประเภท “ไอสไตน์ ประกาศทฤษฎีสัมพันธภาพในปี ค.ศ.อะไร” มากกว่าการวิเคราะห์ทฤษฎีของไอสไตน์ แม้จะเพียรสอนให้คิดแต่สุดท้ายนักเรียนก็จะหันไปท่องจำ เพราะมันจะได้คะแนนดีกว่า พอผมเรียนเรื่องการออกแบบที่สอนไว้ว่าห้ามลอก ศึกษาเป็นแนวทางได้แต่ต้องเอามาพัฒนาปรับปรุง วิเคราะห์หาเหตุผล จึงเรียนได้ดีกว่าตอนเป็นเด็กมากมาย (ไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้ยังสอนแบบเดิมหรือเปล่า แต่ดูเกมส์โชว์ของคุณปัญหาแล้วปัญญาออก จริงๆ ไม่รู้ความรู้ประเภทใส่บ่าแบกหามจะเอาไปทำมาหากินได้แค่ไหน หรือไปพัฒนาอะไรได้มากมาย ผิดกับเกมส์โชว์ญี่ปุ่น)
เรื่อง Deep Impact (http://www.imdb.com/title/tt0120647/) กับ Armageddon ที่เกิดขึ้นมาในเวลาใกล้กันอาจเป็นเพราะกระแสหนังทำลายล้าง ต่างคนต่างคิดต่างทำไม่เกี่ยวกัน มั้งครับเพราะก่อนนั้นก็มีทั้ง volcano ,dante’s peak สองเรื่องนี้เป็นเรื่องการทำลายล้างโดยธรรมชาติจากภูเขาไฟ ซึ่งทำให้รู้สึกว่ามันมาแย่งซีนกันเอง เรื่อง twister ทอร์นาโดมฤตยูถล่มโลก ชอบเรื่องนี้เหมือนกัน perfect storm ภัยจากคลื่นยักษ์ ในเรื่อง deep impact เป็นการเล่นกับผลของการชนโลกของดาวหางตรงๆ ส่วนArmageddon เป็นวิธีแก้ไข บวกกับเรื่องราวชีวิตเจ้าหน้าที่ คือเกิดขึ้นแล้วกับยังไม่เกิดกำลังจะเกิด ใกล้เคียงกันแต่ยังไม่เหมือนกันเป๊ะ
Ghost in the Shell (http://www.imdb.com/title/tt0113568/) สงสัยต้องหามาดูซะแล้วครับ
ในส่วนของ puppet master และการ always connect ซึ่งเป็นผลให้นำไปสู่การตีความเชิงศาสนา(ซึ่งกลายเป็นประเด็นที่ได้รับการ ชื่นชมกันมาก) <– pupet master ใช่หนังผีป่ะครับ alway connect ไม่เคยดูครับไม่รู้เป็นเรื่องอะไร
The Matrix มีการพูดถึงเรื่อง the matrix กับเรื่อง robocop และทรานฟอร์เมอร์บ่อยๆว่า ได้รับอิธิพลอย่างสูง(ลอกแบบ)จากการ์ตูนญี่ปุ่น ทำให้ผมคิดถึงเรื่องเดอะริงคำสาปมรณะภาคจบที่เฉลยว่าเรื่องทั้งหมดของโลกเดอะริง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในคอมพิวเตอร์เท่านั้น เมทริกซ์ไม่ได้คิดขึ้นมาก่อน จะว่าไปเมทริกซ์ดูจะได้รับอธิพลอย่างมากจาดเรื่อง tron ด้วย เมทริกซ์พยายามอธิบาย คอมพิวเตอร์ เช่นโปรแกรม (อย่างตัวเอกก็เป็นนักโปรแกรมเมอร์ทำให้เขียนโปรแกรมให้ตัวเองเหาะได้ จำลองร่างได้) ไวรัส (สมิทธ) แอนตี้ไวรัส cpu ในรูปแบบที่จับต้องได้ คล้ายทรอน
คำว่าสร้างสรรค์ตามพจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ก. สร้างให้มีให้เป็นขึ้น (มักใช้ทางนามธรรม) เช่น สร้างสรรค์
ความสุขความเจริญให้แก่สังคม. ว. มีลักษณะริเริ่มในทางดี
เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะสร้างสรรค์.
แต่ผมชอบคำแปลที่ว่า เป็นการเริ่มในสิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน(หรือบางที่ก็ยอมรับได้ว่ามีมาก่อนในที่อื่นแต่เป็นสิ่งใหม่สำหรับเรา) และไปในเชิงบวก ไปในเชิงที่ดี
puppet master เป็นตัวละครตัวหนึ่งใน Ghost in the Shell (ภาคแรก) น่ะครับ
เป็นตัวที่ ฝังความจำให้กับคนทั่วไป ผ่านการเชื่อมต่อ เพื่อเอามาใช้ประโยชน์ ครับ
อาจจะเทียบเหมือนกับการสะกดจิต หรือ เหมือนคนใน matrix ที่ถูกหลอกว่าอยู่ในโลกจริง (ผมเทียบกับอย่างหลัง) ครับ
เพื่อนผมบอกว่า
งานภาพของ matrix ได้รับอิทธิพลมาจาก Ghost in the Shell ค่อนข้างมาก
โดยยกตัวอย่าง ภาพบิดตัวของกระจก ในฉากเฮลิคอปเตอร์ตก
ซึ่งเขาบอกว่า ภาพลักษณะของคลื่นกระแทก หรือ ภาพแสดงการบิดของกล้ามเนื่อถูกใช้มากใน Ghost in the Shell
แต่โดยส่วนตัวผม ผมมักจะมองที่ ประเด็น และ โครงสร้าง ของเรื่อง ครับ
ส่วนประเด็นเรื่อง”ปัญหา” คงต้องอยู่ที่การตีความแล้วครับ
ในกรณี show girls (จำเรื่องไม่ได้แล้ว)ปัญหาก็น่าจะเป็นการใช้ชีวิตของตัวเอกนั่นเอง
ในมุมมองของผม ในชีวิตมีปัญหาเสมอ (ชีวิต ก็คือ ปัญหา อย่างหนึ่ง)
โดยส่วนใหญ่ ปัญหาหลัก(ที่ผมหมายถึง)ก็คือ แก่นของเรื่องนั่นเอง (ไม่พูดถึง sub-plot, sub-theme) นั่นคือ ถ้าจับได้ว่า เรื่องนี้พยายามบอกอะไรเรา ก็แสดงว่า สิ่งที่เริ่มต้น แล้วนำมาสู่บทสรุป นั่นก็คือตัวปัญหา ครับ
จริงๆแล้วคำที่เขาใช้กัน คือ conflict นะครับ(ไม่ใช่ problem) คือ ความขัดแย้งระหว่าง ตัวละครหลัก กับ สังคม, วิถีชีวิต, ความคิด(ทั้งของผู้อื่น และ ตนเอง), ธรรมชาติ, เพื่อนบ้าน, ญาติๆ, การทำงาน ฯลฯ เพราะถ้าไม่มีความขัดแย้ง ก็ไม่มีเรื่อง ครับ
แต่ผมใช้คำว่าปัญหา เพราะผมรู้สึกสบายใจมากกว่า ครับ
conflict คำนี้ชอบครับ คืนนี้ผมจะขึ้นรถไฟไปกรุงเทพพาลูกไปหาหมอ อยู่วันที่ 6-8 แล้วก็ขึ้นรถไฟกลับศรีสะเกษครับ
คุณลูกเป็นอะไรหรือครับ?
หวังว่าคงไม่เป็นอะไรมาก … หายไวๆนะครับ
ช่วงนี้ผมไม่สะดวกเลย
จะมา กทม. อีกครั้งเมื่อไรครับ?
เผื่อถ้าว่าง จะได้นัดท่านอื่นๆคุยกันด้วยครับ 😀
ขอบคุณครับที่เป็นห่วงลูกผมตาเอก(สายตารวมกันแบบตาเหล่)วิธีรักษาคือต้องใส่แว่นบังคับสายตาคล้ายการจัดฟัน ต้องมาพบหมอที่ศิริราชทุก 3 เดือนครับ เพื่อให้หมอตรวจสายตาและสั่งปรับตัดแว่นจนกว่าจะอายุได้ประมาณ 12 ปี ตอนนี้น้องเขาอายุ 7 ปี ไปหาหมอตั้งแต่สองขวบครับ ครั้งต่อไปจะต้องมาวันเสาร์ที่ 21 กค. 2555 ครับ
ความรู้เพียบ
เข้ามาอ่านบทความของคุณ niraj อีกรอบครับ ตอนนี้คิด plot ไม่ออก คงต้องกลับไปที่ what…if อีกครั้ง