วิธีการในงานเขียนของผม (๔ จบ)

๔. ทิ้งระยะเพื่ออ่านทบทวน และ การตรวจสอบตวามผิดพลาด
เนื่องจากโดยพื้นฐานของมนุษย์ จะมีความลำเอียงต่อผลงานของตนเองอยู่แล้ว
จึงมีความจำเป็น เป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องทิ้งช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อลดความลำเอียงของตนเองลง
คือควรจะนานพอที่จะลืมๆเรื่องที่เขียนไปบ้าง

ในแง่มุมหนึ่งก็คือ การทำตัวเป็นผู้อ่านโดยสิ้นเชิง ว่าสามารถ ซึมซับ รับรู้งาน ได้ตามที่ผู้เขียน(ตนเอง)ต้องการได้หรือไม่ ครบถ้วนหรือไม่
ขาด ตก บกพร่อง หลุด เกิน ในส่วนใดบ้าง
การใช้ภาษา ลื่นไหล ราบรื่น เพียงพอ หรือไม่

ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะถ้าไม่นานพอ ตนเองก็จะยังพอมีความทรงจำ และเหตุผลที่ตนสร้างขึ้นเอง หลงเหลืออยู่
ขณะที่ ถ้าเนิ่นนานเกินไป แนวความคิด หรือ ความคิดเห็นของตนเองก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไป จนถึงขั้นบิดเบือนแก่นเรื่องหลัก ก็เป็นได้

๕. rewrite rewrite rewrite
หลังจากทิ้งระยะและอ่านทวนแล้ว สิ่งที่สำคัญคือ rewrite
และอย่าลังเลที่จะตัดทิ้ง หรือ เขียนใหม่ เพราะมันคือการทำให้งานดีขึ้น
(ส่วนไหนที่ชอบ สามารถเก็บไว้ใช้ในงานอื่นได้)

๖. ข้อแตกต่างระหว่าง เรื่องทั่วไป กับ นิยายวิทยาศาสตร์
โดยแท้จริง ไม่ว่าจะเล่าเรื่องอะไร ก็ต้องเป็นเหตุเป็นผล มีตรรกะ โดยตัวของมันเองอยู่แล้ว
อย่างน้อยที่สุดก็เป็นตรรกะตามธรรมชาติหรือ วิถีชีวิตประจำวัน
(ทำไมตัวละครทำอย่างนี้ ทำไมเหตุการณ์เป็นเช่นนี้)

ถึงแม้ว่าตรรกะของแต่ละคนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงอายุหรือการรับรู้ แต่การเลือกตรรกะที่เป็นการเฉพาะมากๆก็จะสามารถสื่อสารได้ในวงที่แคบมากๆด้วยเช่นกัน

ยกตัวอย่างเช่นหนังสยองขวัญ
พฤติกรรมของตัวละคร มักไม่ใช่พฤติกรรมปกติของคนทั่วไป(เดินเข้าไปในพื้นที่มืดๆคนเดียว)ซึ่งอาจจะเป็นตรรกะที่ยอมรับได้ในหมู่วัยรุ่น แต่เมื่อคนเรามีอายุที่มากขึ้น พฤติกรรมเหล่านี้จะเริ่มไม่สมเหตุสมผล ซึ่งคนบางกลุ่มจะหยุดติดตามงานประเภทนี้ไป(นี่เป็นแค่เหตุผลส่วนหนึ่งนอกเหนือจากความไม่มีอะไรใหม่ของเนื้อหา)
ขณะที่งานแฟนตาซีอาจจะไม่ค่อยมีเหตุผล(ตรรกะ)มากนักในเรื่องของ”สิ่งที่เกิดขึ้น” แต่ เหตุผลเชิงจิตวิทยาของความเป็นมนุษย์(รัก,โลภ,โกรธ,หลง,กลัว)จะยังอยู่ครบถ้วน ซึ่งนั่นคือส่วนที่เชื่อมต่อกับผู้อ่าน นั่นเอง

นิยายวิทยาศาสตร์ จะมีส่วนที่สำคัญเพิ่มขึ้นมา เช่น อุปกรณ์ที่ยังไม่มีอยู่จริง หรือเหตุการณ์ที่ยังไม่สามารถเกิดขึ้นจริงได้ตามเงื่อนไขปกติ(ปัจจุบัน) หรือคือ จิตนาการที่มากกว่าเหตุการณ์ในชีวิตปกติประจำวันของคนทั่วๆไป แต่ผู้เขียนก็ต้องอธิบาย เหตุผลและตรรกะ ในส่วนนั้น ให้ครบถ้วนด้วยเช่นกัน

โดยส่วนตัว ผมมองว่า นิยายวิทยาศาสตร์ แค่ต้องการให้ผู้เขียน อธิบาย(ชี้แจง)ให้ครบถ้วน ในส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมานี้ อย่างเป็นเหตุเป็นผล

เสน่ห์ของนิยายวิทยาศาสตร์อีกอย่าง คือสร้างความเป็นไปได้ในสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้
ผลที่ตามมาคือความประหลาดใจ หรือการหักมุมที่มีความสมเหตุสมผลแม้จะยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง นั่นเอง

tip & trick
การเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคโนโลยี่ที่เกิดขึ้นและมีใช้อยู่แล้วในปัจจุบัน เป็นการยากที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆขึ้นมาได้ เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงว่าสิ่งเหล่านั้นจะถูกใช้งานจนเต็มศักยภาพของมัน ตามสภาพและเงื่อนไขที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แล้ว
นอกจากจะมีการเพิ่มเติมเงื่อนไขพิเศษที่ยังไม่มีใช้ในปัจจุบันเข้าไป ซึ่งแน่นอนว่าเงื่อนไขพิเศษเหล่านั้น ก็ต้องการคำอธิบายอย่างเป็นเหตุเป็นผลเช่นกัน
โดยส่วนตัว ผมจะเลี่ยงไปใช้
๑. technology ที่ยังมีที่ว่างให้จินตนาการอยู่ เช่น nano หรือ bio เป็นต้น
๒. ทฤษฎีต่างๆที่ยังมีที่ว่างให้ตีความอยู่มาก เช่น string theory , paradox , parallel universe, time travel, หรือแม้กระทั่ง ทฤษฎีของหลุมดำ ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้ยังพอมีพื้นที่ว่างให้เล่นอยู่มาก

(จบแล้วครับ)



แถมท้ายรูปวาดเก่าๆสมัยมัธยม


ลากเส้นยังเบี้ยวๆอยู่เลย 😀

4 ความเห็นบน “วิธีการในงานเขียนของผม (๔ จบ)”

  1. ขอบคุณคุณ HooNo2000 ครับ

    ทุกๆท่าน
    เห็นด้วย เห็นค้าน
    ติติง เพิ่มเติม เสริมแต่ง
    ได้ตามความเห็นของแต่ละท่านเลยนะครับ

    (ระหว่างนี้ ผมคง rewrite ไปเรื่อยๆ จนกว่าหัวจะตัน นะครับ 😀 )

  2. พึ่งมาเห็นรูปวาด ฉกาจฉกรรณ์ เลยทีเดียว อยากให้ขยายเรื่อง จิตนาการ กับความคิดสร้างสรรค์เพิ่มเติมครับ มีคนเขียนเรื่องนี้กันน้อยนัก โดยเฉพาะความคิดสร้างสรรค์นั้น หากงานไม่ฉีกไปจากที่เคยทำกันมามันก็วนเวียนเป็นละครน้ำเน่าที่เห็นอยู่ตามโทรทัศน์ บางงานดูแล้วก็แค่เปลี่ยนฉาก เปลี่ยนตัวละคร พล็อตไปยืมเขามา ผมว่ามันเป็นงาน cover remake ทั้งที่ความจริงงานอย่างนิยายวิทยาศาสตร์นั้นแสวงหาความแปลกใหม่และสร้างสรรค์ ไม่เหมือนงานเชิงสังคมที่สามารถหยิบยกปัญหาโลกแตก(คือปัญหาที่คงทนในทุกยุกต์ทุกสมัยเช่นความรัก ชนชั้นวรรณะ ความยากจน) มาเขียนซ้ำๆซากๆ ได้โดยผู้อ่านยังคงยอมรับงานนั้นๆได้ แต่สำหรับงานนิยายวิทยาศาสตร์หากเขียนเวียนวนคุณค่างานเขียนผมว่าลดลงเยอะ

  3. คุณHooNo2000 ครับ
    ผมตั้งประเด็น “จิตนาการกับความคิดสร้างสรรค์” เป็น post แยกออกไปนะครับ

    แต่ประเด็นเรื่อง “ละครน้ำเน่าที่เห็นอยู่ตามโทรทัศน์” อันนี้ ผมมองว่ามันล้มเหลวมากกว่า “จิตนาการกับความคิดสร้างสรรค์” นะครับ

    เพราะถ้าแยกโครงสร้างภายในแล้ว จะพบว่าโครงสร้างขาดความสัมพันธ์กันโดยสิ้นเชิง

    ยกตัวอย่างเช่น
    ตัวละครหลักทำงานอะไรกัน และงานการที่ตัวละครหลักทำ สัมพันธ์กับเรื่องหรือไม่?
    จะพบว่าตัวเอก ที่ไม่ว่าจะเป็น เจ้าของบริษัท, เจ้าของฟาร์ม, ร้านอาหาร, สถาปนิก, ฯลฯ
    แต่ตัวละครหลัก ไม่เคยทำงานเลยครับ (ไอ้พวกที่เห็นว่ามีเซ็นเอกสาร นั่นไม่ใช่งานครับ)
    และ งาน (ซึ่งควรจะเป็นตัวสะท้อนตัวตนของตัวละครหลัก) ไม่มีผลใดๆทั้งสิ้นกับเรื่อง
    สังเกตดูไหมครับ?

    รากเหง้าคือ
    มันคือนิยายจากยุคเจ้าขุนมูลนาย(ข้าราชการ)ที่วันๆไม่ได้ทำอะไร เอาแต่เดินไปเดินมา
    คอยแต่เซ็นเอกสาร ไม่เคยวิเคราะห์ปัญหา หรือ ปัจจัยเชิงธุรกิจ ใดๆทั้งสิ้น
    อยู่ไปวันๆ(รอให้คนมีอำนาจมากกว่ามาสั่ง) นั่นเองครับ
    (ไม่ลงมือทำอะไรก่อนล่วงหน้า รอแ่ให้เกิดปัญหา แล้วก็โทษคนอื่น)
    หรือยุคที่ธุรกิจ แทบจะปราศจากการแข่งขัน นั่นเองครับ
    และเป็นรุ่นที่ ตั้งธุรกิจ เสร็จไปแล้วด้วย
    หรือถ้าเป็น ข้าราชการ ก็เป็น พวกลูกหลานที่ถูก “ฝากฝัง” นั่นเองครับ

    ซึ่งในชีวิตจริงในปัจจุบัน ตัวละครเหล่านี้ดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้ครับ
    (ทำบริษัทก็คงเจ๊ง เป็นข้าราชการก็คงรอโดนเลื่อยขา)
    พูดง่ายๆก็คือ ไม่สามารถสร้างตัวละคร ได้นั่นเอง
    ล้มเหลวตั้งแต่ ระดับตัวละครแล้วครับ

    ฉะนั้น ในระดับของละครไทย
    ไม่ใช่ขาดจินตนาการหรือความคิดสร้างสรรค์นะครับ
    เพียงแต่ว่าเขา คงความมักง่าย ของเขาเอาไว้
    เท่านั้นเองครับ

ใส่ความเห็น