มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด 12 ท่าน จากผู้สมัคร 16 ท่าน
(แจ้งว่าติดภาระกิจ สองท่าน)
ขอขอบพระคุณ
- รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล ที่มาให้ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ในเชิงลึก
- อ.ชนินทร วรรณวิจิตร ผอ.พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และ อพวช.(องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ) ผู้เอื้อเพื้อสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อย่างครบครัน
- คุณชัยพัฒน์ ชูสุวรรณ ที่นำประสบการณ์ และแนวทางในการเขียนมาแบ่งปันกัน
- คุณพรศักดิ์ อุรัจฉัทชัยรัตน์ ที่อุตสาห์สละเวลามาร่วมงาน (อยากคุยกับท่านมาก แต่ไม่มีโอกาสเลย)
- บ้านพิพิธภัณฑ์ ที่ร่วมนำของที่ระลึกที่เกี่ยวกับ Sci-Fi มาร่วมสนุกในงาน
- นิตยสาร science illustrate ที่นำหนังสือมาแจก เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน และ การสร้างแรงบันดาลใจสำหรับงานเขียน
- วิทยากรทุกๆ ที่มาให้ความรู้ทั้งประวัตินิยายวิทยาศาสตร์ไทย และ วิธีการในงานเขียน ซึ่งนำไปใช้ได้ทั้งในงานเขียนทั่วไป และ งานเขียนนิยายวิทยาศาสตร์
- และที่สำคัญ ที่จะขาดไปไม่ได้คือ ผู้เข้าอบรมทุกท่าน
ผู้บรรยายทุกท่านลงความเห็นตรงกันว่า งานกลุ่ม ทำออกมาได้ดีกว่าที่คาดไว้(ทุกกลุ่มเลยครับ)
เนื่องจากเวลาที่สั้นมาก(60 นาทีสำหรับงานเขียน) ข้อ comment ก็เป็นเรื่องปกติ เพราะไม่มีเวลาทบทวนกันอยู่แล้ว ซึ่งสามารถแก้ไขกันได้ ถ้ามีเวลามากขึ้น ครับ
และหวังว่าทุกๆท่านจะดำเนินงานเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ต่อไป ทั้งในแง่ประกอบเป็นอาชีพ หรือเขียนเป็นงานอดิเรกก็ตาม
ดูรูปบรรยากาศภายในงาน
วันที่ 7 กค.
วันที่ 8 กค.
ผู้เข้าอบรมอย่าลืมส่งเรื่องสั้น ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม นี้ด้วยนะครับ
ขอขอบคุณชมรมที่จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมานะคะ ได้ข้อมูลและความรู้เยอะมาก และดีใจที่ได้รู้จักพี่ๆน้องๆทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรม ทำให้ได้เพื่อนใหม่ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และรู้ว่าทุกคนรักการอ่านและการเขียนเหมือนกัน ขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่สละเวลามาเพื่อกิจกรรมนี้ ขอให้ชมรมจัดกิจกรรมแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆค่ะ
โห ผู้หญิงเยอะไม่ใช่น้อยนะ แต่ทำไมติดป้ายเป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2554 ครับ
ห้องนี้เป็น time machine ครับ
ล้อเล่น
เป็นป้ายที่ติดอยู่เดิมของ ห้องประชุมครับ คุณHooNo2000
😀