เกริ่นหัวอย่างกับเรียงความส่งอาจารย์
หลังจากไปงาน “ภาพยนตร์สนทนา “ไซ-ไฟ แบบไทยๆ” กับดร.ชัยวัฒน์” ทำให้ผมเกิดคำถามมากมาย
“นิยายวิทยาศาสตร์”คืออะไร? และ “วิทยาศาสตร์แค่ไหน” ถึงจะเป็นนิยายวิทยาศาสตร์?
แค่มีจานบิน, มีมนุษย์ต่างดาว หรือขอเพียงพูดถึงโลกอนาคต(หรืออดีต) ก็เป็นนิยายวิทยาศาสตร์แล้ว หรือไม่?
จากนี้คือแนวคิดของผม (ซึ่งแน่นอนไม่สามารถกำหนดถูกผิดได้ 😀 )
ผมมองว่า
การมีสิ่งต่างๆที่กล่าวมา (คือ จานบิน มนุษย์ต่างดาว โลกอนาคต(หรืออดีต))
ยังไม่ใช่นิยายวิทยาศาสตร์
มันจะเป็นก็ต่อเมื่อ มันมีคำอธิบาย ต่อสิ่งนั้น
จานบิน มาจากไหน มาทำไม มันคือใคร หรืออะไร
ใน the war of the world (ซึ่งปฎิเสธไม่ได้ว่าเป็นนิยายวิทยาศาสตร์แน่ๆ)
http://en.wikipedia.org/wiki/The_War_of_the_Worlds
บอกเล่า ว่า “มัน”มาจากไหน แถมเอาระบบนิเวศน์วิทยา มาเป็นตัวสรุปตอนจบอย่างสมบูรณ์
ฉะนั้น (ในมุมมองผม) โลกอนาคต(หรืออดีต)หากไม่มีคำอธิบายถึงการนำไปสู่ภาวะสังคม หรือ เทคโนโลยี่นั้นๆ
ยกตัวอย่างเช่น กรณี The Quest for Fire มันพูดถึงอดีตในช่วงเวลาแห่งวิวัฒนาการ ซึ่งเป็นจินตนาการ เพราะไม่มีใครรู้จริงๆว่าเกิดอะไรขึ้น มันจึงเป็น สมมุติฐานทางวิทยาศาสตร์
สำหรับ ทวิภพ ซึ่งผมมองว่า เป็น fantasy ไม่ใช่ sci-fi (หลายคยอาจจะไม่เห็นด้วย)
เพราะผมมองว่า กระจก ซึ่งเป็น อุปกรณ์การเดินทางผ่านการเวลา
แต่ทวิภพ กลับไม่มีคำอธิบายสำหรับ ที่มา หรือ วิธีการทำงานของ กระจก เลยแม้แต่น้อย
(ช่องว่างทางการเวลา? แต่ทำไมคงที่(เสถียร)ขนาดนั้น)
(ผมเทียบได้กับ somewhere in time หรือ butterfly effect ซึ่งทั้งสองเรื่องในทัศนคติของผม ก็ไม่ใช่ sci-fi)
แต่เทียบกับ the time machine
http://www.online-literature.com/wellshg/timemachine/
มันคือ อุปกรณ์ที่ถูกสร้างขึ้น(แม้จะไม่บอกว่าสร้างอย่างไรก็เถอะ) หรือ star gate ก็เช่นกัน
หรือเมื่อเทียบกับ Frequency
http://www.imdb.com/title/tt0186151/
ซึ่งพูดถึงช่วงเวลาที่มีการบิดเบือนของสนามแม่เหล็ก
ผมถือว่านี่เป็น sci-fi เช่นกัน
แต่ นิยายวิทยาศาสตร์ มีความเข้มข้น ของวิทยาศาสตร์ที่ต่างกัน
หากมองแค่ การเดินทางผ่านเวลา และ ผลของการเปลี่ยนแปลงต่อประวัติศาสตร์ จากการเดินทางนั้น
(มุ่งเน้นไปที่ผลของการเดินทาง มากกว่า เดินทางอย่างไร)
จะจัดเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ ได้หรือไม่?
หากจะเปรียบเทียบก็คงเป็น “ความสมบูรณ์” ของความเป็น “นิยายวิทยาศาสตร์” หรือ “ความเข้มข้นของความเป็นนิยายวิทยาศาสตร์” นั่นเอง
ซึ่งประเด็นนี้ ผมยังไม่ตกผลึกเท่าไร
เพราะหากมองเรื่องแยกกันแบบนี้ butterfly effect และ somewhere in time จะกลายเป็น นิยายวิทยาศาสตร์ ที่มีความเข้มข้นต่ำแทน
(ไม่อธิบายการเดินทาง แต่เน้นผลของการเดินทาง)
แล้ว รามเกียรติ์ จะถือเป็น sci-fi fantasy ได้หรือไม่
(พูดถึงเผ่าพันธุ์ต่างๆ ถึงแม้จะไม่มีที่มาที่ไปเชิงวิวัฒนาการ และ ไม่พูดถึงระบอบทางสังคมที่ชัดเจน)
โดยสรุป
นิยายวิทยาศาสตร์ จะเป็น นิยายวิทยาศาสตร์ (ในมุมมองของผม)
ก็ต่อเมื่อ มันมีคำอธิบาย ต่อแง่มุมต่างๆอันเป็นเหตุให้เกิด เหตุการณ์ หรือ สิ่งต่างๆ ในเรื่อง
รวมถึง คำอธิบาย ต่อ ผล แห่งเรื่องนั้นๆ
(ยิ่งเขียน ยิ่ง งง)
เอ้า สรุปอีกที
“ขอเพียงมีคำอธิบาย”
ก็เท่านั้นเอง
ครับ
ถูกใจใช่เลยครับ ผมก็คิดเช่นกันถ้ามีคำอธิบายที่พอจะเป็นไปได้อยู่บ้างแม้จะน้อยนิดผมถือเป็นนิยาวิทยาศาสตร์ อย่างทวิภพผมไม่นับ (คนที่นับว่าทวิภพเป็นนิยายวิทยาศาสตร์นั้นเขามีเหตุผลว่าไงหนอ)
เรื่อง butterfly effect somewhere in time Frequency ชอบทุกเรื่องเลยครับ
ผมว่านิยายวิทยาศาสตร์นั้นอย่างน้อยต้องเกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ไม่มากก็น้อย อาจเป็นแค่แบลคกราว์น ก็ได้ แต่ถ้าประเด็นคือหลักวิทยาศาสตร์ตรงๆ อย่าง 2001 2011 เป็นแบบเพียวไซไฟ ถ้าหลักวิทยาศาสตร์นั้นทำให้เกิดผลกระทบด้านอื่นเช่นสังคม จิตใจ อย่าง minority report ผมว่าเป็น soft sci-fi ครับ
นิยายวิทยาศาสตร์ก็คือเรื่องราวที่อาศัยแนวคิดหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์ หรือผลกระทบของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อสิ่งต่างๆมาเป็นแนวทางในการแต่งเรื่อง บางอย่างอาจจะดูคล้ายเป็นวิทยาศาสตร์ เช่น คนผสมพันธุ์กับเงือกแล้วมีลูกเป็นคนแต่มีหางเป็นปลา เช่นในเรื่องพระอภภัยมณี ซึ่งดูเหมือนน่าจะถูกต้องตามหลักการเกี่ยวกับพันธุกรรมซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ แต่ผมคิดว่าเป็นเพียงแฟนตาซี เพราะเป็นเพียงจินตนาการโดยอาศัยสามัญสำนึกทั่วไปเท่านั้นว่า สิ่งมีชีวิตต่างเผ่าพันธุ์เมือผสมพันธุ์กันก็น่าจะมีลักษณะผสมของสองเผ่าพันธุ์ในลูกที่เกิดมา โดยไม่ได้อธิบายหรือใช้เหตุผลในเชิงวิทยาศาสตร์
ขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพยนตร์ไซ-ไฟไทยหน่อยครับ ปัญหาคือ การสร้างหนังไซ-ไฟต้องใช้จินตนาการอย่างมาก แต่ของเรายังขาดคนที่จะคิดพล็อตเรื่องครับเพราะมีกรอบความคิดปิดกั้นจินตนาการ ถึงแม้จะมีนักเขียนไซ-ไฟฝีมือดีอยู่มากพอสมควร แต่นั่นก็ดูจะมีกลิ่นนมเนยมากอยู่ อาจจะไม่เหมาะกับไซ-ไฟแบบไทยๆซึ่งต้องคิดถึงตลาดหรือการจัดจำหน่ายให้กับสายหนังต่างๆ ทำให้ผู้สร้างบางเรื่องจึงต้องผสมผสานกับไสยศาสตร์เข้าไปด้วยเพราะกลัวว่าชาวบ้านจะดูไม่รู้เรื่อง เช่น เรื่อง อุกกาบาต หรือ อมุนษย์ เพียงแต่ยังขนาดศิลปะในการผสมผสานไสยศาสตร์เข้ากับวิทยาศาสตร์ ทำให้เรื่องออกมาดูขัดแย้งกันหรือเรียกว่า “ไม่เนียน” นั่นเอง
ข้อด้อยอีกเรื่องที่ผมเคยได้ดูหนังไซ-ไฟไทยมาบ้างก็คือ การแสดงที่ over action อย่างมากๆเหมือนละครโทรทัศน์ที่มีแต่การแสดงอารมณ์ที่รุนแรงเกินเหตุทำให้ดูแล้วเครียดมากครับ แต่เรื่องที่พอดูได้ก็คือ มนุษย์เหล็กไหล ฮีโรแบบไทยๆ ที่พอดูได้ก็ตรง ลูกเกด เมทนี กิ่งพโยม ที่เล่นเป็นตัวร้ายนั่นแหละครับ น่าดูที่ซู้ด…
วรากิจ
หนังไทย
จุดอ่อนหลักๆคือ ผู้กำกับ
เพราะถ้าบทอ่อน ผู้กำกับแข็ง ต้องแก้บทให้ดีขึ้นได้ (หรือปกปิดความบกพร่องของบทได้)
นักแสดงอ่อน ก็ต้องผลักดันจนนักแสดงดีขึ้นได้
สองส่วนนี้ไม่สามารถ cover ได้
ผมโทษผู้กำกับ ครับ
หนัง ไซไฟ ไทย
ผมว่ามันขาดการอธิบายเล็กน้อยๆ
เช่น “มนุษย์เหล็กไหล” ถ้ามองว่า “เหล็กไหล” เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง
การมีโครงสร้างทาง DNA ที่สัมพันธ์กับคนบางกลุ้มเท่านั้น (อาจจะเป็นเผ่าพันธุ์ซึ่งสืบเนื่องจากมนุษย์ต่างดาว)
มันทำเป็น soft sci-fi สนุกๆแบบพวกไอ้มดแดงได้
แต่ที่รับไม่ได้เลยคือบทที่ตัวละครสองตัวออกมายืนพูดกัน(พยายามจะเล่าเรื่อง)สัก 3-5 นาทีห็นจะได้
มันทรมาณมาก
ผมมองว่ามันเป็นวัฒนธรรมที่สืบเนื่องมาจาก ละครวิทยุ
ซึ่งเป็นสื่อคนละชนิด จึงไม่ควรใช้ กลวิธี แบบเดียวกัน
ซึ่งกลวิธีนี้กลับเห็นได้ในภาพยนตร์ไทยทั่วๆไป รวมถึง ละคร tv ด้วย
อ่านของคุณนิราศแล้วก็คิดตาม ผมว่าภาพยนต์ไทยมักจะสอนให้ผู้กำกับต้องสื่อกับคนดูอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมาต้งแต่ยุคแรกๆของหนังไทยเลย สื่อด้วยการบอกตรงๆและเน้นย้ำๆหลายครั้งเหมือนกลัวคนดูจะไม่เข้าใจ
ภาพยนต์ถูกท้าทายครั้งแรกโดยสื่อบันเทิงสมัยใหม่คือทีวี ครั้งที่สองคือวีดีโอ การหาทางเอาตัวรอดของวงการภาพยนต์นอกจากจะปรับตัวที่โรงภาพยนต์ที่ลดขนาดลงจากโรงใหญ่มาเป็นมินิเธียร์เตอร์ จากอยู่แบบสแตนอะโลน ก็มาอยู่ในห้าง มารวมกันเป็นซีนีเพล็กซ์ การปรับตัวในอีกทางคือหาหนังที่ฟอร์มใหญ่เมื่อดูในโรงภาพยนต์จะตื่นเต้นประทับใจ ซึ่งหาดูไม่ได้ในทีวีหรือวีดีโอ หลังๆภาพยนต์ที่ฉายในโรงประเภทดราม่า ตลก หรือฟิล์มนัวร์จางหายไปจากจอเงิน(โรงภาพยนต์) แต่ภาพยนต์แนวแฟนตาซี ไซไฟ แอคชั่นไซไฟ กลับมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมาก และมีการลงทุนกันอย่างมโหราฬ ยากที่หนังนอกฮอลลี่วู้ดจะสู้ได้ อย่างไซไฟญี่ปุ่นเองฉากก็ไม่อลังการณ์เท่าหนังอย่างอวาตาร
ภาพยนต์ไทยเน้นขายวัฒนธรรมไทยยุคใหม่ เนื่องด้วยทุนรอนที่น้อยกว่าฮอลลี่วู้ดอย่างเห็นได้ชัด ภาพยนต์ไทยจึงเน้นไปที่ชีวิตประจำวัน วัฒนธรรม สังคมไทยที่หาจากภาพยนต์ต่างประเทศได้อยาก อย่างเช่นรถไฟฟ้ามหานเธอ หรือภาพยนต์ตลกๆ เบาปัญญาทั้งหลายเนื่องด้วยตลกเป็นเรื่องของวัฒนธรรมเฉพาะถิ่น จะตลกขบขันในถิ่นกำพืดของตนมากกว่าถิ่นอื่นๆ
ไซไฟค่อนข้างเป็นเรื่องอันเป็นสากล เกี่ยเนื่องด้วยลักษณะวิชาวิทยาศาสตร์อันเป็นเรื่องของสากลโลก หากจะฮาร์ดไซไฟจะทำได้ค่อนข้างยากด้วยเงินทุนทำเทคนิคน้อย และความน่าเชื่อถือของเนื้อเรื่อง(ถ้าดำเนินเรื่องในประเทศไทยเป็นหลัก) แต่หากเป็นซอร์ฟไซไฟที่เน้นไปยังผลกระทบจากวิทยาศาสตร์ก็ยังพอมีทางแจ้งเกิดได้ แต่คนไทยชอบเรื่องวิทยาศาสตร์แค่ไหน เมื่อเทียบกับภาพยนต์แนวอื่นๆ
ผู้กำกับอย่างที่คุณนิราศว่าไว้เห็นด้วยครับ ผู้กำกับที่เข้าถึงไซไฟในไทยน่าจะน้อยมากๆ แม้่จะมีเรื่องที่ดีแต่หาคนลงทุนและคนกำกับยาก
ลองมาวิจารณ์ไซไฟไทยกันแต่ละเรื่องดีไหมครับ
จริงๆผมเคยพยายามวาง plot ขุนช้างขุนแผน เป็น sci-fi นะครับ
อย่างที่ผมมองว่า ถ้าเหล็กไหล เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง (ชีวกล หรือ nano ยังสรุปไม่ได้)
ดาบฟ้าฟื้น จึ่งเป็น ชีวอาวุธ ที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน
โดยวางโครงเรื่องเวลาเป็นปัจจุบัน แล้วเล่าเรื่องล้อไปกับเหตุการณ์ใน ขุนช้างขุนแผน
ว่าทั้งหมดเป็น technology จากต่างดาว
และมีคนรู้ความจริงนี้ เช่น นักวิทยาศาสตร์ต่างชาติ, ชนชาติต่างดาว รวมถึง ลูกหลานของขุนแผนในปัจจุบัน (ซึ่งสืบทอดสายพันธุ์จากต่างดาวนั่นเอง) พยายามแย่งชิงเพื่อครอบครองอาวุธตัวนี้
(plot นี่ไม่หวงนะครับ ถ้าใครเอาไป develop ได้ ก็จะเป็นพระคุณยิ่ง)
โดยส่วนตัวผมชอบโครงสร้างของ ขุนช้างขุนแผน เพราะผมมองมันเป็นเรื่องของเพื่อนที่สุดท้ายต้องมาขัดแย้งกัน
conflict มันน่าจะสนุกแล้วทำเป็น drama หนักๆได้ (แต่คนทำหนังกลับไม่ค่อยเล่นประเด็นนี้)
โดยพยายามอธิบายว่าทุกการกระทำของแต่ละคนล้วนมีเหตุผลอันจำเป็น(และเหมาะสม)ในสถานะการณ์นั้นๆ ทั้งสิ้น
ซึ่งจริงๆแล้ว ผมมองว่า บทภาพยนตร์ มันควรจะมีคุณสมบัตินั้นอยู่แล้ว
(ไม่ใช่ว่าคนทำเลวเพราะมันเลว หรือคนทำดีเพราะมันเป็นคนดี แต่มันมี โครงสร้างทางความคิด ประวัติ อารมณ์ และ สังคมอยู่เบื่องหลังมันทั้งสิ้น)
จริงๆแล้วเมื่อเข้าสู่ยุคดิจิตอล ผมว่า ต้นทุนหนัง ไซไฟ ต่ำลงมากนะ
เพราะเราสามารถสร้างฉากรบในอวกาศด้วย computer ได้นั่นเอง
หรืออย่างหนัง star trek (ภาพยนตร์)ตอนที่ผมชอบที่สุดกลับเป็น voyage home ทั้งๆที่น่าจะเป็น star trek ที่ใช้ special affect น้อยที่สุดแล้วมั้ง
ส่วนคนไทยจะชอบ sci-fi มากแค่ไหน (ไม่ว่าหนัง หรือ หนังสือ)
ผมว่าถ้ามันออกมา “สนุก” ผมว่าก็ ok แล้วมั้ง
เพิ่มเติมครับ
ที่คุณ HooNo2000 บอกว่า
“ผมว่าภาพยนต์ไทยมักจะสอนให้ผู้กำกับต้องสื่อกับคนดูอย่างชัดเจน”
ผมกลับไม่เห็นด้วยนะครับ
ผมกลับมองว่า งานเก่าๆของเปี๊ยกโปสเตอร์ หรืองานเก่าๆของท่านมุ้ย ยังใช้ภาษาหนังได้ดีกว่าภาพยนตร์ในปัจจุบันนี้เลย
ผมมองว่า การเลือกการเล่าเรื่องด้วยการพูดเน้นย้ำ
เป็นความมักง่ายส่วนบุคคลมากกว่า
ดู แดจังกึม ที่ใช้เหตุการณ์ เน้นจุดเด่น ของงานโภชนาการ
เช่น คนป่วยที่รักษาไม่หายเสียที แต่เปลี่ยนนิสัยการกินอาหารแล้วอาการดีขึ้น ก็เป็นเหตุผลให้มีการสอบถามกัน
เทียบกับละครไทย ที่เอานางเอกมายืนพูดเรื่องคุณค่าทางสารอาหารของอาหารไทย
ซึ่งผมนั่งดูไปก็ไม่รู้นางเอกจะมายืนบ่นอะไร?ทำไม?
ผมมองว่า ลึกๆ สังคมไทย มีลักษณะของการ “สั่งสอน” หรือ “สั่งให้จำ(ทำ)” มากกว่า “การทำให้คิด” หรือ “การสื่อสาร”(แลกเปลี่ยนความคิดเห็น)
และ มันก็ค่อยๆฝังรากมาสักระยะเวลาใหญ่ๆแล้ว (ในทุกๆกลุ่มของสังคม นะ ผมว่า)
“ผมว่าภาพยนต์ไทยมักจะสอนให้ผู้กำกับต้องสื่อกับคนดูอย่างชัดเจน”คำว่ามักจะของผมหมายถึงไม่ใช่ทุกครั้งแต่ส่วนใหญ่ครับ ท่านมุ้ยงานละเมียดครับเรียนจบที่เดียวกับฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา และโรมัน โปลันสกี้ ใช่ไหมครับ
ประวัติของท่านมุ้ยนี่ ไม่ทราบจริงๆครับ
คือผมมองว่าการเล่าด้วยการพูด ไม่ใช่มาจากการเรียนรู้ผ่านภาพยนตร์
คือ จริงๆแล้วมันถือเป็นวิธีการเล่าเรื่องวิธีหนึ่งอยู่แล้ว เพียงแต่ว่ามันเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่อาจจะไม่ใช่วิธีที่งดีที่สุด
และส่วนมากจะกลายเป็นวิธีที่น่าเบื่อที่สุด
ซึ่งไม่ใช่ว่าหนังฮอลลีวูดจะไม่ใช้ ล่าสุดที่เห็นก็คือ spiderman3 (ซึ่งผมว่ามันน่าเบื่อมาก)
เคยดูseriresเรื่อง six feet under เป็นฉากที่ตัวละครสองคนยืนคุยกันนานสัก1-2นาที(โดยประมาณ)ด้วยการตั้งกล้องนิ่งๆในระยะเกือบเต็มตัว ทั้งคู่ยืนพิงรถอยู่ในอู่ซ่อมรถ
ตัวละครทั้งสองเลิกลากันไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง บทพูดก็ถามสารทุกข์สุขดิบธรรมดา
แต่เนื่องจากมันทิ้งเวลานานมากจนผมเริ่มสนใจฉากหลัง ปรากฎว่ารถที่ทั้งคู่ยืนพิงอยู่ ฝั่งผู้ชายอยู่ในสภาพดี แต่ฝั่งฝ่ายหญิงสภาพยับเยิน ซึ่งมันสื่อถึงสถาพจิตใจและอารมณ์ของฝ่ายหญิงนั่นเอง(แม้ฝ่ายหญิงจะบอกว่าสบายดีไม่มีปัญหาอะไร)
ซึ่งมันส่งผลเชิงอารมณ์ต่อคนดูได้รุนแรงกว่า บทพูตรงๆโดยการโวยวายมากมายนัก
ประเด็นน่าจะเป็นว่า ผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ถ้าสนใจสารที่จะสื่อไปยังผู้ชม แล้วเลือกวิธีที่น่าจะสร้างผลกระทบได้มากที่สุด มากกว่าแค่เล่าเรื่องให้ผ่านๆไปหรือขอแค่ส่งเรื่องออกไป(เล่า)โดยไม่พยายามมองดูว่ามันมีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้หรือไม่
มากกว่ากระมัง ครับ
หลายๆครั้งผมเห็นผู้กำกับเน้นไปที่ถาพสวยๆมากกว่าการสื่อสาร เช่นฉากขี่ม้าผ่านน้ำในเรื่อง วิถีคนกล้า ถาพสวยครับ แต่ก็แค่นั้น
เทียบกับถาพ มดขนของขึ้นต้นไม้ (น่าจะเรื่อง บางระจัน) ซึ่งเป็นการบอกกลายๆว่าเข้าหน้าฝนแล้ว(หรือหน้าน้ำหลาก) ผมชอบอันหลังมากกว่าเยอะ
ที่ผมว่าสอนผู้กำกับให้ใช้คำพูดบอกเล่าตรงๆ นั้นผมหมายถึงการสอนต่อๆกันมาในกองถ่ายเนื่องด้วยผมเคยคุยใกล้ชิดกับผู้กำกับท่านหนึ่ง ที่เคยเป็นผู้ช่วยผู้กำกับมาหลายเรื่อง ท่านบอกว่า ที่หนังไทยจำต้องบอกชัดๆเช่นบอกว่ารักในหนังหลายๆครั้งให้คนดูได้ยินเพราะว่าคนไทยไม่เข้าใจสื่อที่ผู้กำกับต้องสือออกไป ถ้าไปถ่ายดอกไม้ แล้วมาถ่ายหน้านางเอกแดง แล้วตัดไปจับมือกัน คนไทยดูแล้วงง หรืออย่างหนังผีถ้าถ่ายผีน่ากลัวคนไทยดูแล้วก็กลัวเหมือนกันแต่ไม่เข้าใจว่าผีมันมาทำไมแต่ถ้าให้ตัวเอกบอกว่ากลัวคนดูค่อยเข้าใจว่าผีออกมาหลอกให้คนดูกลัว หรืออย่างหนังตลก เมื่อปล่อยมุกตลกแล้วต้องแช่ซีนนั้นไว้ประมาณสองนาทีเพราะคนในโรงมัวแต่หัวเราะหากตัดเข้าเรื่องราวต่อไปคนดูจะฟังไม่รู้เรื่อง ดูไม่เข้าใจแต่พอแปลงเป็นวีดีโอแล้วนั่งดูคนเดียวมันเลยรู้สึกว่าภาพยนต์มันช้าเกินไป
ที่คุยมานี่คือจะบอกว่ามันไม่ใช่การสอนในสถาบันแต่สอนต่อๆกันมา ทั้งที่จริงน่าจะเลิกไปได้แล้วคนดูก็พัฒนาจากเมื่อก่อนมาก แต่ก็ยังมีการใช้เทคนิคเหล่านี้ให้เห็นอยู่ในภาพยนต์ไทย ก็เท่านั้นเองครับ
คุยกันมายาวมากทีเดียว
ผมขอแสดงความคิดเห็นบ้าง
ผมคิดว่านิยายวิทยาศาสตร์บางทีแล้วไม่ควรจำกัดอยู่ที่เหตุผล หรือวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์
เพราะความจริงเรายังไม่รู้กฎทุกกฎของจักรวาลนี้ วิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์หรืออาจจะมองว่าเป็นความเชื่อในสิ่งที่ทดลองแล้วเกิดขึ้นจริงจึงเรียกว่าสิ่งนั้นเป็นกฎ แต่บางทีตรรกะของคนอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ถูก
นิยายวิทยาศาสตร์สมัยก่อนพยายามมุ่งสู่กฎของวิทยาศาสตร์ บางทีอาจสร้างกฎเพิ่มหรือเติมเต็มทฤษฎีที่ยังไม่สมบูรณ์ เช่น การเดินทางไปอนาคต ยานอวกาศในไฮเปอร์สเปซ หรือสิ่งมีชีวิตครึ่งปลาครึ่งคน วิทยาศาสตร์ทำให้คนคิดว่าเราสามารถพบกฎที่สมบูรณ์แบบ และตรรกะของจักรวาลได้จริง
บางทีงานนิยายวิทยาศาสตร์สมัยนี้ ถ้าจะพยายามล้ำหน้าสิ่งที่ค้นพบใหม่ๆที่ออกมาทุกๆวัน ก็อาจสร้างกฎของตัวเอง บิดเบือนตรรกะ และวิธีคิดของมนุษย์
ปัจจุบันวิทยาศาสตร์ยิ่งพยายามปีนขึ้นยอดเขา ยิ่งเจอผาสูงขึ้นไปอีก เรายังไม่ถึงจุดสูงสุดซักสาขาหนึ่ง ทั้งฟิสิกส์อนุภาค พันธุศาสตร์ วิทยาศาสตร์สมอง
บางทีคณิตศาสตร์ที่คนใช้มาโดยตลอดอาจเป็นตรรกะที่ไม่ถูกต้องก็ได้
(ความคิดนี้อาจจะไม่ถูกต้องนัก แต่ก็อาจได้พล็อตเรื่องใหม่ๆได้นะ 555 ผมอยากเห็นนิยายใหม่ๆที่แตกต่าง ไม่อิงกรอบเดิม)
จากความคิดเห็นของคุณขอบโลก
ผมว่าอันนั้น เขามีพื้นที่ของเขาอยู่แล้วครับ คือ pure fantasy
ผมติดอยู่ที่ตรง “…ไม่ควรจำกัดอยู่ที่เหตุผล หรือวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์…”
จริงๆแล้ว นิยายวิทยาศาสตร์หลายๆเรื่อง บิดกฎของวิทยาศาสตร์ (เช่นเรื่องลูกบอลที่ดูดกลับความร้อนทำให้ไม่สูญเสียพลังงานและกลับเด้งสูงขึ้นเรื่อยๆ … ซึ่งผมจำชื่อเรื่องไม่ได้)
การจะบิดกฎหรือเหตุผลทางวิทยาศาสตร์สามารถทำได้อยู่แล้ว แต่จำเป็นจะต้องมีวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ ครับ
ดังเช่นคำอธิบายเรื่องพลังงานในลูกบอลข้างต้น โดยไม่ต้องบอกหรอกว่า สร้างจากสารอะไร หรือ สร้างขึ้นมาได้อย่างไร แต่มันมี คุณสมบัติแบบนี้ล่ะ มันถึงสร้างผล(กระทบ)แบบนี้
หรืออย่างเช่นสมมุติว่า สักวันหนึ่ง คนเกิดเลิกตายกันเสียเฉยๆ สังคมจะเป็นอย่างไรบ้าง?
ถ้าเขียนเฉพาะผลกระทบเชิงสังคม โดยไม่มองลึกลงไปในรายละเอียด(คิดแบบวิทยาศาสตร์)
จาก plot แค่นี้ มันจะเป็น fantasy พูดถึงสังคม (น่าจะเฉี่อยชา และซึมเศร้า จนสุดท้ายจะมีบางกลุ่มพยายามฆ่าตัวตาย)
แต่ถ้าเราลงลึกไปว่า การเลิกตายนี้เกิดจากอะไร
๑. สารเคมี ซึ่งทำให้ cell ยังคงมีการผลิตออกมา หรือ คงสภาพ ซึ่งการผลิต cell จำเป็นต้องใช้ วัตถุดิบ คุณก็จะได้เรื่องแบบ zombie
๒. เกิดจากการทำ cell treatment (ใช้ cell ต้นกำเนิด) คุณก็อาจจะได้เรื่องเชิงชนชั้นในสังคม
๓. เกิดจากผลของมะเร็งชนิดหนึ่ง คุณก็จะได้เรื่องแบบ the x-files (เป็นตอนหนึ่งใน series)
๔. หรือจะบอกว่า นรกเต็ม
ซึ่งจริงๆแล้ว นรกเป็น parallel universe การตายคือการเปลี่ยนรูปพลังงานไปอยู่ในอีกย่านความถี่หนึ่ง แล้วปรากฎว่าย่านความถี่นั้นเกิดเต็มขึ้นมา (คนที่เปลี่ยนความถี่ไปก่อนหน้า เปลี่ยนความถี่ไปสู่อีกระดับหนึ่ง ไม่สัมพันธ์ กับคนที่เข้าใหม่) คุณก็อาจจะได้เรื่องประชดล้อเลียนความเชื่อ อีกแบบ
…
ผมว่า plot ใหม่ๆสามารถเกิดขึ้นได้ ด้วยการมองแบบวิทยาศาสตร์อยู่แล้วครับ
การที่ไม่ลงไปในรายละเอียด(เหตุผล)เสียอีก ที่ทำให้ รูปแบบของเรื่อง ดิ้นได้ไม่มาก
มีเรื่องหนึ่งใน internove ที่ผมเข้าไปอ่าน เขาพูดถึง เครื่องจักรกล ที่ถูก”ให้กำเนิด”ออกมา และบำรุงรักษาแบบเดียวกับ”สิ่งมีชีวิต” (เออ เอากับมันสิ)
ฉะนั้น อย่ามองว่า “วิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์” คืออยู่ในกรอบและทำไห้ตัน นะครับ
เพราะไม่อย่างนั้น ทฤษฎีชวนปวดหัวแบบ ทฤษฎีสัมพันธภาพ หรือ ทฤษฎีควอนตัม คงไม่เกิดขึ้นเช่นกันครับ
ตรรกะเป็นแนวคิดเชิงการตรวจพิสูจน์ ซึ่งมันมีขอบเขตของ case (เงื่อนไข) ได้เช่นกันครับ
การสร้างเงื่อนไข(คำอธิบาย)ที่ครบถ้วน ต่างหากที่สำคัญ ครับ
(สร้างเงื่อนไขที่ตอบให้ รูปประโยคนั้นเป็นจริง ตามตรรกะปกติ)
และผมกลับมองว่า หากละเลยตรรกะพื้นฐาน จะทำให้ผู้อ่านเกิดคำถามระหว่างการอ่าน ซึ่งกลับเป็นผลเสียต่อเรื่องของเราเอง นะครับ เพราะต่อให้เป็นเรื่อง fantasy ก็จะต้องมีตรรกะบางอย่างอยู่ เช่นถ้าไม่อธิบาย คาถาป้องกันของแม่แฮรี่พอตเตอร์ คนอ่านก็คงขัดใจน่าดูว่า วัลเดอร์มอร์ เก่งกว่าแฮรี่ ตั้งเยอะ ทำไมไม่ทำอะไร พวกนี้เป็นตรรกะพื้นฐานที่ติดมากับคนอ่านนะครับ
ลองดูครับ ผมว่าการสร้างเรื่องที่มีเหตุผลประกอบเหล่านี้ สนุกกว่า การปั้นเรื่องแบบไม่มีเหตุผล มากมายนัก
ครับ
อีกประเด็น
ผมมองว่าคุณ ขอบโลก จำเป็นต้องแยกระหว่าง pure science กับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ นะครับ (ประเด็นนี้ถ้าลงลึกคงยาว)
ผมสรุปแนวคิดของผมสั้นๆ
วิทยาศาสตร์ จริงๆมีอันเดียว
เริ่มจาก ฟิสิกส์ควนตัม -> (เอามาประกอบรวมกัน) -> เคมี -> ชีวะ
ทุกอันเชื่อมด้วยภาษาคือ คณิตศาสตร์ (ครับ คณิตศาสตร์ เป็นภาษาครับ)
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หามาเพื่อ อธิบายปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ
ซึ่งเราเอาไปใช้สร้างสิ่งต่างๆ(ประยุกต์)เช่น โคลนนิ่ง(พฤติกรรมของเซล), สมองกล(จากการศึกษาคุณสมบัติการเก็บกักประจุของสารเคมมีบางอย่าง)
สิ่งที่วิทยาศาสตร์ค้นพบ ไม่ใช่ของใหม่ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติอยู่แล้ว
วิทยาศาสตร์ไม่ได้สร้างอะไรใหม่ทั้งนั้น
มันแค่หาคำอธิบาย และศึกษาลงในรายละเอียดจนระบุ”เหตุและปัจจัย”แห่งผล จนสามารถกระทำซ้ำได้ นั่นเอง
ครับ