วิธีการในงานเขียนของผม (๒)

๒. วางแผนการเล่า และ โครงสร้าง(structure)

ผู้อ่านก็เหมือนกับคนตาบอด ที่ผู้เขียนจะต้องจับมือและจูงไปตลอดเส้นทางการเล่า ซึ่งสุดท้ายผู้อ่านได้เรื่อง(เนื้อหา,แก่น)อย่างที่ผู้เขียนต้องการเล่าหรือไม่ คือความสามารถของผู้เขียน

ถ้าผู้เขียนพาเดินไปที่ชายทะเลแต่พยายามบรรยายถึงทะเลทรายอันร้อนระอุ ก็ยากที่ผู้อ่านจะเชื่อฝังใจได้ หรืออยู่ในฉากยิงกันอย่างบ้าระห่ำ แต่ตัวละคร เอาแต่คร่ำครวญถึงจดหมายที่ลืมไว้ที่เต้นท์ (นอกจากนั่นจะเป็น character ของตัวละคร)

หรือถ้าวิ่งถูลู่ถูกัง ลากผู้อ่านหกคะเมนตีลังกา ผู้อ่านก็จะไม่รับรู้อะไรนอกจากอาการเวียนหัว และเจ็บปวดเนื้อตัว

ต้องเล่าอะไรบ้าง
สิ่งที่ต้องมีในการเล่าเรื่องคือ ปัญหา(conflict) และ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง
ถ้าไม่มี ปัญหา ก็ไม่มีอะไรจะเล่า (ตื่นมาตอนเช้า อาบน้ำแปรงฟัน ไปโรงเรียน ไปทำงาน ทำงานเสร็จเรียบร้อย ไม่มีปัญหาอะไรเลย … ไม่รู้จะเล่าทำไม)
เมื่อมีปัญหา ก็ต้องมีเหตุการณ์ที่เกิดปัญหา และ เหตุการณ์ในการแก้ปัญหา
ปัญหายิ่งใหญ่โต เรื่องจะยิ่งน่าสนใจ
สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ต้องเล่า ซึ่ง plot ควรจะต้อง cover ส่วนนี้ไว้ทั้งหมด

structure
โครงสร้างสามส่วน
เกริ่นนำ เนื้อหา สรุป

คือโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถใช้ได้ในทุกๆงานเขียน (ความเรียง บทความ นิยาย)
โดยแต่ละสัดส่วนอาจจะสั้นยาวแตกต่างกันไปตาม style และเป้าหมายของงานเขียน เช่นบางคนเกริ่นนำสั้น บางคนเกริ่นนำยาว
และผู้เขียนสามารถสร้างความซับซ้อน โดยการซ้อนโครงสร้างลงไปได้อย่างไม่จำกัด
คือ สามารถมี “เกริ่นนำ เนื้อหา สรุป” อยู่ในส่วนหลัก(เกริ่นนำ เนื้อหา สรุป) ส่วนใดก็ได้ กี่ครั้งก็ได้ กี่ชั้นก็ได้
ขึ้นอยู่กับ ขนาดของเนื้อหา

ยกตัวอย่างเช่น
ในเนื้อหาหลักปกติ คุณอาจจะเกริ่นนำ ตัวละครสักตัว มีเนื้อหาของตัวละครตัวนั้น มีเนื้อหาย่อยของเหตุการณ์สำหรับตัวละครตัวนั้น ซึ่งอาจจะมีถึง สอง-สาม เหตุการณ์(ซึ่งมี เกริ่นนำ เนื้อหา สรุป ของเหตุการณ์นั้นๆ) และ บทสรุปของตัวละคร(ซึ่งอาจจะมี เกริ่นนำ เนื้อหา สรุป ซ้อนอยู่ในบทสรุปของตัวละคร ขึ้นอยู่กับว่า “เรื่อง” ใหญ่พอที่จะเป็น เหตุการณ์ หรือไม่)

และสามารถ ยืด หรือ โยกย้าย แต่ละส่วน ลงในตำแหน่งของเรื่องที่เหมาะสมได้ (บทสรุป ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกับเนื้อหา หรือ เนื้อหาเอง ก็สามารถแยกส่วนออกจากกัน ในงานที่มีความซับซ้อนมากๆ)

การวางโครงสร้าง จะมีผลดีในแง่ที่จะช่วยให้ไม่หลงลืม เหตุการณ์ หรือ ตัวละคร ที่วางเอาไว้
ช่วยในการกำหนด เหตุการณ์ และ ตัวละคร เพื่อสนับสนุนแก่นหลัก หรือ เหตุการณ์หลัก
ลักษณะที่มีความซับซ้อนมากๆ มักจะเหมาะกับงานเขียนขนาดยาว หรือเรื่องที่มีพื้นที่มากๆ เพื่อลดความน่าเบื่อหรืออาการซ้ำซาก วกวน อยู่กับที่ (โครงสร้างที่ซับซ้อน อาจจะไม่มี sub-plot ก็ได้)

องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในโครงสร้างที่ซับซ้อนคือจังหวะเวลา และ ความแม่นยำ เพราะยิ่งซับซ้อนมาก ผู้อ่านอาจจะหลงทาง(หลงลืม) และสูญเสียความสนใจได้
ฉะนั้นการใส่ความน่าสนใจในช่วงเวลาที่เหมาะสม หรือ การรื้อฟื้นความหลัง ในจังหวะเวลาต่างๆจึงเป็นสิ่งสำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ในงานเรื่องสั้น มักจะมี โครงสร้างแบบชั้นเดียว ไม่ซับซ้อน เพราะไม่มีพื้นที่ให้มากขนาดนั้น

plot & sub-plot โครงสร้างในโครงสร้าง
ซึ่งสิ่งที่เกิดตามมาคือ sub plot ซึ่งจะเหมาะสมกับงานเขียนขนาดยาว
sub plot อาจจะเป็นแกนเดียวกับ main plot หรือคนละแกนกันก็ได้ แต่ควรจะส่งเสริม main plot เพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดการแย่งชิงความเด่น จนอาจจะส่งผลเสียหายต่อ main plot ได้
สิ่งที่พึงระวังคือ สัดส่วนของ sub plot ต่อ main plot
ถ้าเล่า sub plot ซะเยอะ sub plot ก็จะกลายเป็น main plot

ยกตัวอย่างคุณลุงข้ามถนน ถ้ามัวแต่บรรยายสภาพการจราจร หรือลักษณะอันงดงามของตัวรถ การจะไปพยายามสรุปประเด็นที่ตัวของคุณลุง ก็คงจะยากสักหน่อย (เพราะต้องแรงมหาศาลในการ”ลาก”ผู้อ่านกลับมาที่ตัวคุณลุง)

ถ้ารายละเอียดของ sub plot เริ่มเยอะ แนะนำให้ตัดแยกออกไปเขียนเป็นงานอื่น(แยกเป็น side story ออกไป)

sub-plot มีความสำคัญต่องานเขียนขนาดยาว เพราะช่วยสร้างความน่าสนใจ ลดควาน่าเบื่อ ในการเน้นย้ำ main plot เพียงอย่างเดียว แต่พึงระวังไม่ให้ sub-plot โดดเด่น(หรือใช้พื้นที่มาก)กว่า main-plot
หากเกิดการลังเล รักพี่เสียดายน้อง เป็นไปได้สองวิธี คือ เปลี่ยน main-plot ซึ่งควรพิจารณาโครงสร้างใหม่ทั้งหมด หรือ แยก sub-plot ไปเป็น main-plot ของเรื่องอื่น

เล่าอย่างไร
เล่าย้อนหลัง, ตัดสลับฉาก, เล่าโดยสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง หรือ เป็นบุคคลที่สาม (เจ้าของเรื่องเล่าเอง หรือ เล่าเรื่องของคนอื่น) ฯลฯ
ทุกสิ่งส่งผลต่อเรื่องที่เล่า ทั้งวิธีการเล่า การกำหนดตัวผู้เล่า จนถึงสัดส่วนของแต่ละส่วนในการเล่า(การปูพื้นตัวละครและสร้างเงื่อนไขของเหตุการณ์ รวมถึงความคืบหน้าและการพัฒนาของเหตุการณ์และตัวละคร)

สรรพนามการเล่า ก็มีผลโดยตรงต่ออารมณ์ของเรื่องที่เล่า แต่ก็ต้องระมัดระวังมากด้วย
เช่น เล่าด้วยสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง แต่ตัวละครตัวนี้ดันมาตายตอนกลางเรื่อง ก็ต้องเปลี่ยนคนเล่า แต่ก็อาจจะสร้างความงุนงนได้ว่า ไอ้คนเล่าคนที่สอง มันไปรู้เรื่องของคนเล่าคนที่หนึ่งได้อย่างไร(เรื่องช่วงแรกมาจากไหน?)

ทั้งหมดนี้ล้วนต้องใช้การวางแผน เพื่อกำหนดผลกระทบต่อผู้อ่านในแต่ละช่วงจังหวะเวลาจนไปถึงตอนจบของเรื่องที่เล่า รวมทั้งประเด็นและแก่นของเรื่องที่เล่า

ส่วนของการ “เล่าอย่างไร” บางครั้ง(หลายๆครั้ง)จะไปปรากฎอยู่ใน ขั้นตอนการ “ลงมือเล่า” แต่ก็สามารถถูกกำหนดได้ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนได้ เช่นกัน

“เล่าอย่างไร” จะมีส่วนของ style ร่วมอยู่ด้วย(รูปแบบ วิธีการ กลยุทธ และ ลักษณะเฉพาะตัวของผู้เล่า)
ซึ่งเป็นเรื่องของเอกลักษณ์ส่วนบุคคลของผู้เล่า
ซึ่งน่าจะขึ้นอยู่กับ ประสิทธิผลในการเล่า ว่า สำเร็จตามจุดมุ่งหมายของผู้เล่าหรือไม่
ซึ่งอาจจะมองเป็นได้ทั้งข้อดีและข้อเสีย
คือ มักจะติดอยู่กับงานในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเท่านั้น
แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าหากพัฒนาไปถึงจุดหนึ่ง ก็จะทำให้งานลักษณะนั้น(ที่เข้ากับ style นั้นๆ)มีพลัง(ประสิทธิผล)มาก นั่นเอง

(ยังมีต่อนะครับ)



หนึ่งความเห็นบน “วิธีการในงานเขียนของผม (๒)”

ใส่ความเห็น