ช่วงเวลาของ Sci-Fi film(s)

คงจะด้วยเวลาอันเหมาะสมของเทคโนโลยี
ทำให้ช่วงนี้ หนัง Sci-Fi เรียงหน้ากันออกมาไม่หยุด ทั้งของเก่า, ของใหม่, ภาคต่อ, re-make, re-boot กันอย่างสนุกสนาน

Pacific Rim ของ Guillermo del Toro
หนังหุ่นยนต์สู้กับสัตว์ประหลาด(หรืออะไรสักอย่าง)

ไม่ต้องพูดถึง Transformers ที่มีแผนทำภาคต่อแน่นอนแล้ว

Oblivion ของ Joseph Kosinski
หนังใหม่ของ Tom Cruise ที่พูดถึงโลกหลังการล่มสลาย

After Earth ของ M. Night Shyamalan
ที่แสดงโดย คู่พ่อลูก Will Smith และ Jaden Smith
หนังพูดถึงโลกหลังการล่มสลาย(อีกแล้ว)แต่โดยโครงเรื่องน่าจะเป็นหนังครอบครัว(ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก)มากกว่า (ซึ่งถ้าให้เดา คงดึงแก่นเรื่องไปถึงระดับ รักษ์โลก ได้ไม่ยากนัก)

ทั้ง Star Trek into darkness , The Hobbit: An Unexpected Journey , และหนังค่าย marvel (Iron Man 3, Thor: The Dark World) และ dc (MAN OF STEEL ซึ่งเมื่อรู้คู่ปรับแล้ว น่าดูขึ้นเยอะ) ที่จะตามออกมา

น่าจะถือเป็นช่วงเวลาทองช่วงหนึ่งของหนัง Sci-Fi ก็ว่าได้
อ้อ… เกือบลืม star wars ในอ้อมกอดของ Disney และ George Lucas ก็ประกาศแผนสร้างภาค 7 แล้ว

ช่วงเวลานี้ผมกำลังตามหาหนังสั้น Sci-Fi ของไทย(ที่ทำโดยคนไทย)อยู่ ถ้าใครพอจะทราบ ส่งข้อมูลเข้ามาหน่อยนะครับ
ขอบคุณครับ

Star Trek Into Darkness : 05.17.13


งานออกมาน่าตื่นเต้นดีเมื่อเทียบกับโปสเตอร์(ที่ผมไม่ชอบเอาเสียเลย)

ตัวอย่างประกาศตัวของ Star Trek Into Darkness วอร์พทะยานมาแล้ว

Trap

แท่งโลหะสังเคราะห์โค้งสามแท่งประกบและเรียงตัวกัน สร้างรูปทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณสามเมตร ตั้งอยู่ตรงกลางห้องโถงกว้างเกือบสามสนามฟุตบอล
ที่ซึ่งดร.ปราโมทย์ใช้เป็นพื้นที่ทดลองเพื่อดักจับอนุภาคที่ยังไม่สามารถถูกยึดครองได้มาก่อน
นั่นคือ anti matter หรือ ปฎิสสาร นั่นเอง

เป้าหมายของดร.ปราโมทย์คือเก็บกักมันในสภาพที่ยังคงพลังงานของมันอยู่ให้ได้ในช่วงเวลาที่นานที่สุด
สิ่งที่เขาสร้างคือพื้นที่ที่สามารถเก็บกักพลังงานอันมหาศาลเอาไว้ให้ได้
อ่านเพิ่มเติม “Trap”

Star Trek, Fiction to Reality

Star Trek (http://www.startrek.com/)ผ่านมากว่าหลายทศวรรษนับตั้งแต่ออกอากาศทางทีวีครั้งแรก(1966) พร้อมทั้งภาพยนต์ นิยาย และเหตุการณ์สืบเนื่องมากมาย
wiki – en
wiki – ไทย

มีแฟนคลับและกลุ่มคนที่หลงไหลเรื่องราวของเหล่านักเดินทางเหล่านี้อย่างหนาแน่น (Trekkie)
ไม่เพียงเท่านั้น Star Trek ยังสร้างแรงบันดาลใจและความท้าทายต่อความจริงทางวิทยาศาสตร์ในหลายๆเรื่องเช่นกัน

Reality check for ‘Trek’ tech

Star Trek-like tricorder set for test in space

ทำให้ผมเกิดคำถามว่า Star Trek มีการรับรู้ในประเทศไทยแค่ไหน? และมีกลุ่มแฟนๆในบ้านเรา หนาแน่น เข้มข้น มากน้อยเพียงไร?

gallery ทั้งของจริง ของล้อเลียน และ fan pic.

Galaxy Quest
หนังตลกล้อเลียนที่ดูสนุกไม่แพ้กัน

โดยกลุ่ม เทร็คกี้-ไทย (trekkie-thai)

วรรณกรรม ศักยภาพแห่งสุดยอดงานศิลปะ

ไม่เกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์โดยตรงหรอกนะครับ
แต่เกี่ยวกันในแง่ความเป็นนิยาย(วรรณกรรม) และเป็นประเด็นที่นึกขึ้นมาได้แล้วอยากเขียนเก็บไว้เท่านั้น
ครับ
อ่านเพิ่มเติม “วรรณกรรม ศักยภาพแห่งสุดยอดงานศิลปะ”

ผี

เด็กน้อยงัวเงียลุกขึ้นนั่งบนเตียง หลังจากนอนซมเพราะพิษไข้มานานกว่า 12 ชั่วโมงแล้ว
เที่ยงคืน …
บรรยายกาศภายในห้อง เงียบงันและมืดคลี้ม นอกจากแสงสลัวๆที่ลอดผ่านใบไม้เข้ามา ที่มุมห้อง
แสงไฟพริ้วสั่นไหว สร้างเงามืดเต้นเร่าๆอยู่บนตู้หนังสือ ก่อนค่อยๆรวมตัวกันเป็นใบหน้าที่บิดเบี้ยว
“ใคร” เด็กน้อยออกเสียงเบาๆ ชัดเจนได้เท่าที่เด็ก4ขวบคนหนึ่งจะออกเสียงได้
“ผี” เงาดำตอบ ขณะโครงสร้างโปร่งแสงค่อยๆเคลื่อนตัวเสมือนลอยผ่านอากาศมายังเตียงของเด็กน้อย
อ่านเพิ่มเติม “ผี”

‘เซิร์น’เชื่อ ค้นพบอนุภาค’ฮิกส์’ กุญแจไขความลับจักรวาล

นักวิทยาศาสตร์ของเซิร์น เชื่อว่าพวกเขาค้นพบอนุภาค ‘ฮิกส์’ หนึ่งในสองอนุภาคมูลฐานที่เป็นเพียงสมมติฐาน ซึ่งจำเป็นต่อการไขความลับของจักรวาลแล้ว ด้วยการใช้เครื่องเร่งอนุภาคยักษ์…

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 5 ก.ค. ว่า นักวิทยาศาสตร์ขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ หรือ เซิร์น (CERN) ประกาศการค้นพบ อนุภาค ‘ฮิกส์’ อนุภาคมูลฐานที่ไม่เคยมีใครค้นพบ นับตั้งแต่มีการตั้งสมมติฐานเรื่องการคงอยู่ของอนุภาคตัวนี้ โดยนายปีเตอร์ ฮิกส์ เมื่อ 45 ปีก่อน ซึ่งพวกเขาเชื่อว่า การค้นพบครั้งนี้ จะเป็นการไขปริศนาเรื่องที่ว่าทำไมอนุภาคมูลฐานจึงมีมวล ทั้งที่ไม่น่าจะมี ซึ่งจะนำไปสู่การไขความลับดำมืดของจักรวาล
อ่านเพิ่มเติม “‘เซิร์น’เชื่อ ค้นพบอนุภาค’ฮิกส์’ กุญแจไขความลับจักรวาล”

TOTAL RECALL – Official Trailer


หนัง re-make หนัง Sci-Fi ในชื่อเดียวกัน
Trailer ออกมาน่าดูกว่าที่คาดเอาไว้

ภาพยนตร์ ดัดแปลงจากเรื่องสั้น “We Can Remember It for You Wholesale”(1966) ของ “Philip K. Dick”

เรื่องสั้นหุ่นยนต์ไม่ได้ส่งประกวด “robot, variable and bug free”

แรงระเบิดอัดผนังโลหะแตกเป็นทางยาว เศษโลหะปลิวว่อน
ผมเคลื่อนตัวผ่านรอยแยกของผนัง สอดส่ายสายตาไปพร้อมกับปืนโฟตอนในมือ
เสียงเด็กทารกร้องให้ ดังอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล
ผมเคลื่อนตัวไปตามเสียง มนุษย์สตรีนั่งอยู่บนพื้นเบื้องหน้า ข้างๆของหล่อนคือเด็กทารกอายุไม่ถึงสามเดือนดี
หล่อนสาดกระสุนตะกั่วจากปืนโบราณใส่ผมอย่างไม่คิดชีวิต จนกระสุนหมดรังเพลิงไปแล้ว หล่อนก็ยังคงเหนี่ยวไกอยู่เช่นนั้น

ผมหยุดคิดชั่วครู่

“เกิดอะไรขึ้น xz-4” เสียงดังขึ้นในระบบสื่อสาร
“มนุษย์” ผมตอบ
“นั่นไม่ใช่มนุษย์”
ณ เสี้ยววินาทีนั้น ผมประมวลผลหกหมื่นหกพันครั้งในสามหมื่นสมการ แต่คำตอบของผมยังคงคลุมเครือและขัดแย้ง
พูดง่ายๆก็คือ ผมเกิดการลังเล นั่นเอง

“ตัดสัญญาณ” เสียงดังแว่วมาก่อนที่ทุกอย่างจะมืดดับลง

อ่านเพิ่มเติม “เรื่องสั้นหุ่นยนต์ไม่ได้ส่งประกวด “robot, variable and bug free””

เรื่องสั้นหุ่นยนต์ไม่ได้ส่งประกวด: learning curve

1. หุ่นยนต์มิอาจกระทำการอันตรายต่อผู้ที่เป็นมนุษย์ หรือนิ่งเฉยปล่อยให้ผู้ที่เป็นมนุษย์ตกอยู่ในอันตรายได้
(A robot may not harm a human being, or, through inaction, allow a human being to come to harm.)
2. หุ่นยนต์ต้องเชื่อฟังคำสั่งที่ได้รับจากผู้ที่เป็นมนุษย์ เว้นแต่คำสั่งนั้นๆ ขัดแย้งกับกฎข้อแรก
(A robot must obey the orders given to it by human beings, except where such orders would conflict with the First Law.)
3. หุ่นยนต์ต้องปกป้องสถานะความมีตัวตนของตนไว้ ตราบเท่าที่การกระทำนั้นมิได้ขัดแย้งต่อกฎข้อแรกหรือกฎข้อที่สอง
(A robot must protect its own existence, as long as such protection does not conflict with the First or Second Law.)

“ผม ไม่เห็นเข้าใจเลย?”
ทั้งบริเวณตกอยู่ในความเงียบไปพักใหญ่

“ทำไม?”
“ก็ทำไมต้องมีตั้งสามข้อ มีข้อเดียวก็พอ” อ่านเพิ่มเติม “เรื่องสั้นหุ่นยนต์ไม่ได้ส่งประกวด: learning curve”

จิตนาการกับความคิดสร้างสรรค์

คุณHooNo2000 หยอดประเด็นไว้
ผมเลยขอเปิดเป็น post ใหม่เลย เพราะน่าจะมีประเด็นถกเถียงกันได้เยอะ

ผมมองว่า คนที่จะมี จิตนาการกับความคิดสร้างสรรค์ ได้ ต้องเป็นคนที่สามารถ “ตั้งคำถาม” ได้
ยิ่งชอบถาม ยิ่งสร้างจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์

จะเห็นว่า
วลีที่นิยมใช้สร้างนิยายวิทยาศาสตร์ ก็เป็นคำถาม นั่นคือ what if… นั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม “จิตนาการกับความคิดสร้างสรรค์”

วิธีการในงานเขียนของผม (๔ จบ)

๔. ทิ้งระยะเพื่ออ่านทบทวน และ การตรวจสอบตวามผิดพลาด
เนื่องจากโดยพื้นฐานของมนุษย์ จะมีความลำเอียงต่อผลงานของตนเองอยู่แล้ว
จึงมีความจำเป็น เป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องทิ้งช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อลดความลำเอียงของตนเองลง
คือควรจะนานพอที่จะลืมๆเรื่องที่เขียนไปบ้าง

ในแง่มุมหนึ่งก็คือ การทำตัวเป็นผู้อ่านโดยสิ้นเชิง ว่าสามารถ ซึมซับ รับรู้งาน ได้ตามที่ผู้เขียน(ตนเอง)ต้องการได้หรือไม่ ครบถ้วนหรือไม่ อ่านเพิ่มเติม “วิธีการในงานเขียนของผม (๔ จบ)”

วิธีการในงานเขียนของผม (๓)

๓. ลงมือเล่า
นี่คือส่วนที่สำคัญที่สุดในทุกขั้นตอนก็ว่าได้
เพราะหากไม่เริ่มลงมือ”เล่า”แล้ว ทุกๆขึ้นตอนก่อนหน้านี้ก็จะไม่มีความหมาย และขั้นตอนหลังจากนี้ก็คงจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้
อ่านเพิ่มเติม “วิธีการในงานเขียนของผม (๓)”

วิธีการในงานเขียนของผม (๒)

๒. วางแผนการเล่า และ โครงสร้าง(structure)

ผู้อ่านก็เหมือนกับคนตาบอด ที่ผู้เขียนจะต้องจับมือและจูงไปตลอดเส้นทางการเล่า ซึ่งสุดท้ายผู้อ่านได้เรื่อง(เนื้อหา,แก่น)อย่างที่ผู้เขียนต้องการเล่าหรือไม่ คือความสามารถของผู้เขียน

ถ้าผู้เขียนพาเดินไปที่ชายทะเลแต่พยายามบรรยายถึงทะเลทรายอันร้อนระอุ ก็ยากที่ผู้อ่านจะเชื่อฝังใจได้ หรืออยู่ในฉากยิงกันอย่างบ้าระห่ำ แต่ตัวละคร เอาแต่คร่ำครวญถึงจดหมายที่ลืมไว้ที่เต้นท์ (นอกจากนั่นจะเป็น character ของตัวละคร)

หรือถ้าวิ่งถูลู่ถูกัง ลากผู้อ่านหกคะเมนตีลังกา ผู้อ่านก็จะไม่รับรู้อะไรนอกจากอาการเวียนหัว และเจ็บปวดเนื้อตัว

ต้องเล่าอะไรบ้าง อ่านเพิ่มเติม “วิธีการในงานเขียนของผม (๒)”