วิธีการในงานเขียนของผม (๔ จบ)

๔. ทิ้งระยะเพื่ออ่านทบทวน และ การตรวจสอบตวามผิดพลาด
เนื่องจากโดยพื้นฐานของมนุษย์ จะมีความลำเอียงต่อผลงานของตนเองอยู่แล้ว
จึงมีความจำเป็น เป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องทิ้งช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อลดความลำเอียงของตนเองลง
คือควรจะนานพอที่จะลืมๆเรื่องที่เขียนไปบ้าง

ในแง่มุมหนึ่งก็คือ การทำตัวเป็นผู้อ่านโดยสิ้นเชิง ว่าสามารถ ซึมซับ รับรู้งาน ได้ตามที่ผู้เขียน(ตนเอง)ต้องการได้หรือไม่ ครบถ้วนหรือไม่ อ่านเพิ่มเติม “วิธีการในงานเขียนของผม (๔ จบ)”

วิธีการในงานเขียนของผม (๓)

๓. ลงมือเล่า
นี่คือส่วนที่สำคัญที่สุดในทุกขั้นตอนก็ว่าได้
เพราะหากไม่เริ่มลงมือ”เล่า”แล้ว ทุกๆขึ้นตอนก่อนหน้านี้ก็จะไม่มีความหมาย และขั้นตอนหลังจากนี้ก็คงจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้
อ่านเพิ่มเติม “วิธีการในงานเขียนของผม (๓)”

วิธีการในงานเขียนของผม (๒)

๒. วางแผนการเล่า และ โครงสร้าง(structure)

ผู้อ่านก็เหมือนกับคนตาบอด ที่ผู้เขียนจะต้องจับมือและจูงไปตลอดเส้นทางการเล่า ซึ่งสุดท้ายผู้อ่านได้เรื่อง(เนื้อหา,แก่น)อย่างที่ผู้เขียนต้องการเล่าหรือไม่ คือความสามารถของผู้เขียน

ถ้าผู้เขียนพาเดินไปที่ชายทะเลแต่พยายามบรรยายถึงทะเลทรายอันร้อนระอุ ก็ยากที่ผู้อ่านจะเชื่อฝังใจได้ หรืออยู่ในฉากยิงกันอย่างบ้าระห่ำ แต่ตัวละคร เอาแต่คร่ำครวญถึงจดหมายที่ลืมไว้ที่เต้นท์ (นอกจากนั่นจะเป็น character ของตัวละคร)

หรือถ้าวิ่งถูลู่ถูกัง ลากผู้อ่านหกคะเมนตีลังกา ผู้อ่านก็จะไม่รับรู้อะไรนอกจากอาการเวียนหัว และเจ็บปวดเนื้อตัว

ต้องเล่าอะไรบ้าง อ่านเพิ่มเติม “วิธีการในงานเขียนของผม (๒)”

วิธีการในงานเขียนของผม (๑)

ก่อนอื่นต้องออกตัวว่า ข้อเขียนนี้ เป็นการย่อยสิ่งที่เรียนรู้มาจาก การอบรม และ การอ่านหนังสือที่พูดถึงวิธีการในงานเขียน
ไม่ได้หมายความว่า จะตั้งตัวเป็นปรมจารย์งานเขียน แต่ประการใด
และสิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ ไม่ได้หมายความว่าผมทำได้(ตามเป้าหมายที่ตนเองตั้งไว้)ทุกๆชิ้น
แต่คิดว่าการเขียนบทความทิ้งไว้ให้เป็นข้อเตือนใจของตนเอง และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นๆด้วย
ครับผม
อ่านเพิ่มเติม “วิธีการในงานเขียนของผม (๑)”

หนังไซไฟแบบไทยๆ

ศิลป์สโมสร วันศุกร์ที่ 27 ม.ค. 55 13.00 น.

เซ็งกับการปล่อยเสียงภาพยนตร์ทับเสียงการสนทนา มากเลยครับ

คู่มือการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์(6): ตัวอย่าง soft science fiction : ฉันเกลียดวันศุกร์

ฉันเกลียดวันศุกร์
โดย: อุษณา-อาริยา
(soft science fiction)

คนส่วนใหญ่มักจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้น เมื่อดูปฏิทินในตอนเช้าก่อนที่จะออกไปทำงานและพบว่ามันเป็นวันศุกร์ พวกเขาจะเริ่มฝันถึงเวลาเลิกงานวางแผนที่เที่ยวในยามค่ำคืนหลังจากที่ตรากตรำทำงานมาทั้งอาทิตย์ แต่ฉันไม่ใช่คนพวกนั้น ไม่ใช่ว่าฉันชอบทำงานมากขนาดไม่อยากจะมีวันหยุดหรอกนะ ฉันก็เหมือนคนทำงานออฟฟิศธรรมดาทั่วๆไป ต่างกันก็แค่ในวันศุกร์หัวหน้าของฉันจะแวะมาที่ออฟฟิศน่ะสิ

ศุกร์นี้ก็เหมือนศุกร์อื่นๆ หัวหน้าเดินกระแทกเท้าปึงปังเข้าห้องทันทีที่เข็มนาฬิกาปัดไปที่เลขสิบเป๊ะ เขาเป็นคนตรงต่อเวลามากและบางทีอาจจะแม่นยำยิ่งกว่านาฬิกาบนผนังห้องทำงานของฉันเสียอีก

“รายงาน” เสียงแหบห้าวบาดหูของเขาทำให้ฉันอึดอัดเสมอ นี่เขาเกาแขนตัวเองจนถลอกปอกเปิกอีกแล้วหรือนี่ ฉันไม่อยากมาตามเก็บกวาดเศษเนื้อยุ่ยๆ ของเขาเหมือนศุกร์ที่แล้วหรอกนะ แค่คิดก็สยองแล้ว
อ่านเพิ่มเติม “คู่มือการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์(6): ตัวอย่าง soft science fiction : ฉันเกลียดวันศุกร์”

คู่มือการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์(5): ตัวอย่าง soft science fiction, science fiction fantasy : เสียงดนตรีจากผู้มาเยือน

เสียงดนตรีจากผู้มาเยือน
โดย: คุณวรากิจ เพชรน้ำเอก
(soft science fiction)(science fiction fantasy)

ไอ้หวลนั่งตากลมอยู่บนแคร่หน้าบ้าน มันมองดูพระจันทร์ที่ทอแสงนวลเย็นตาอยู่กลางฟากฟ้าเหนือยอดมะพร้าว คืนนี้พระจันทร์ดวงใหญ่กลมโตดีเหลือเกิน สายลมพัดเอื่อยๆทำให้รู้สึกสบายตัวจนอารมณ์ศิลปินแผ่ซ่านจับขั้วหัวใจ ไอ้หวลหยิบซอสามสายคันงามขึ้นมาและพรรณนาลำนำความรักอันอ่อนหวานผ่านสายซอด้วย

สำเนียงเสียงออดอ้อนแทบขาดใจ เสียงซอคงจะเลื้อยไปตามสายลมจนกระทั่งถึงห้องนอนของแม่นวลจนนางถึงกับนอนไม่หลับ เพราะรู้ว่าเสียงซอที่หวานเฉียบเช่นนี้จะเป็นฝีมือของใครอื่นไปไม่ได้นอกจากพี่หวลของนาง แต่แล้วเสียงซอของไอ้หวลก็ต้องขาดหายเป็นห้วงๆ ไอ้หวลเงี่ยหูฟังเสียงบางอย่างด้วยความฉงน มันเป็นเสียงดนตรีแปลกแทรกเสียงซอของมันเบาๆ ฟังคล้ายๆว่ามันจะดังมาจากเบื้องบน
อ่านเพิ่มเติม “คู่มือการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์(5): ตัวอย่าง soft science fiction, science fiction fantasy : เสียงดนตรีจากผู้มาเยือน”

คู่มือการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์(4): ตัวอย่าง hard science fiction : จีเนียสโปรตีน : หนูไม่ใช่หนู

เรื่อง: จีเนียสโปรตีน : หนูไม่ใช่หนู
โดย: คุณวรากิจ เพชรน้ำเอก
(hard science fiction)

ดร.เจอร์รัลด์เปิดประตูกรงแล้วค่อยๆวางเจ้า “บิ๊กเกอร์” ลงในตะกร้าที่รองด้วยเศษผ้านุ่มๆอย่างทะนุถนอม ในทันทีที่มันพ้นจากอุ้งมือของเขา มันก็กระโดดออกจากตะกร้าทันที แล้วรี่เข้าไปหาเจ้า “แฟ็ลช” ที่ถูกขังอยู่ในกรงติดกัน มันใช้จมูกดมๆที่หน้าของเพื่อนเหมือนอย่างเคยแล้วแอบเหลือบมองดร.เจอรัลด์จนกระทั่งเขาเดินออกจากห้องไป

“เป็นไงเพื่อน วันนี้นายหายไปทั้งวันเลยนะ?” แฟ็ลชเอ่ยถามอย่างอยากรู้ว่าเพื่อนของมันไปทำอะไรมาบ้าง แล้วมันก็ก้มหน้าก้มตากินเมล็ดถั่วลิสงในถาดต่ออย่างเอร็ดอร่อย

“สุดยอดเลยเพื่อน ฉันได้ยินดร.เจอร์รัลด์พูดกับเพื่อนของเค้าว่า สมองของฉันมีรอยหยักเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ตั้งแต่เค้าเลี้ยงฉันด้วยอาหารอะไรบางอย่างที่เขาเรียกว่า เอ้อ!…..เอ้อ!…..จีเนียสโปรตีน”

บิ๊กเกอร์เล่าประสบการณ์ในวันนี้ให้เจ้าแฟ็ลชฟังอย่างตื่นเต้น “เห็นพวกเค้าบอกว่ารอยหยักจะทำให้ฉันฉลาดขึ้น”

“อะไรนะ นายว่านายได้ยินงั้นเหรอ อย่าบอกนะว่า นายสามารถฟังภาษามนุษย์รู้เรื่อง”
อ่านเพิ่มเติม “คู่มือการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์(4): ตัวอย่าง hard science fiction : จีเนียสโปรตีน : หนูไม่ใช่หนู”

คู่มือการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์(3): ตัวอย่าง hard science fiction : เครื่องสลายสสารหมายเลข 3

เรื่อง: เครื่องสลายสสารหมายเลข 3
โดย: ประยูร สงวนไทร
ประเภท: hard science fiction

วันนี้เป็นวันเปิดตัวสิ่งประดิษฐ์ชิ้นใหม่ของยอดนักประดิษฐ์หญิงชื่อดังของเมืองไทย “ศาสตราจารย์ ด๊อคเตอร์ สิริสรรภางค์ แพรวพราวพิลาศพิไล” ผู้ซึ่งมีผลงานที่น่าทึ่ง น่าอึ้ง มากมายหลายชิ้น
อ่านเพิ่มเติม “คู่มือการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์(3): ตัวอย่าง hard science fiction : เครื่องสลายสสารหมายเลข 3”

คู่มือการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์(1): วิทยาศาสตร์ในนิยายวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ในนิยายวิทยาศาสตร์
โดย รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล

นิยายวิทยาศาสตร์: จินตนาการไม่จำกัด
1. อะไรจะเกิดขึ้น/ถ้า…
2. ถ้าเพียงแต่…
3. ถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นต่อๆไป…
อ่านเพิ่มเติม “คู่มือการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์(1): วิทยาศาสตร์ในนิยายวิทยาศาสตร์”

คู่มือการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์(2): พัฒนาการและแนวเรื่องของนิยายวิทยาศาสตร์

พัฒนาการและแนวเรื่องของนิยายวิทยาศาสตร์
โดย รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล

(คัดลอกจากส่วนหนึ่งของบทความเรื่อง “พัฒนาการและแนวเรื่องของนิยายวิทยาศาสตร์ นิตยสารอัพเดท ฉบับที่ 151 เดือนมีนาคม พศ.2543)

พัฒนาการของนิยายวิทยาศาสตร์โลก
นิยายวิทยาศาสตร์แบ่งโดยทั่วๆไปออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ คือ นิยายวิทยาศาสตร์เชิงแฟนตาซี หรือ science fantasy และนิยายวิทยาศาสตร์จริงๆ หรือ science fiction ซึ่งมักจะเรียกกันสั้นๆเพียงนิยายวิทยาศาสตร์
ในส่วนของนิยายวิทยาศาสตร์จริงๆหรือ science fiction ยังแบ่งออกได้เป็นอีกสองประเภทใหญ่ๆ คือ hard science fiction และ soft science fiction

นิยายวิทยาศาสตร์เชิงแฟนตาซีเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่ผู้เขียนสามารถจินตนาการได้อย่างไม่มีขีดจำกัด เช่น การสร้างโลก สร้างจักรวาล สร้างมนุษย์ สร้างสัตว์ สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งวิทยาศาสตร์ได้ตามใจชอบ ที่มีกันมากคือ เรื่องเชิงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เหนือธรรมชาติ เรื่องของเทพเจ้า เรื่องของสัตว์ประหลาด ดังเช่น มังกรและอาวุธวิเศษในตำนานหรือเทพนิยาย เรื่องการผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์ เรื่องของอำนาจเหนือธรรมชาติ (ที่ไม่ใช่ไสยศาสตร์บริสุทธิ์)

นิยายวิทยาศาสตร์ประเภท hard science fiction เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่อ้างอิงกฎเกณฑ์และหลักการต่างๆของวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ ส่วนนิยายวิทยาศาสตร์ประเภท soft science fiction เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่ไม่เน้นกฎเกณฑ์และหลักการต่างๆของวิทยาศาสตร์จริงๆ ดังเช่น hard science fiction แต่เน้นบทบาทและผลกระทบของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อมนุษย์
อ่านเพิ่มเติม “คู่มือการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์(2): พัฒนาการและแนวเรื่องของนิยายวิทยาศาสตร์”

ความเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ในทัศนคติของข้าพเจ้า

เกริ่นหัวอย่างกับเรียงความส่งอาจารย์

หลังจากไปงาน “ภาพยนตร์สนทนา “ไซ-ไฟ แบบไทยๆ” กับดร.ชัยวัฒน์” ทำให้ผมเกิดคำถามมากมาย
“นิยายวิทยาศาสตร์”คืออะไร? และ “วิทยาศาสตร์แค่ไหน” ถึงจะเป็นนิยายวิทยาศาสตร์?
แค่มีจานบิน, มีมนุษย์ต่างดาว หรือขอเพียงพูดถึงโลกอนาคต(หรืออดีต) ก็เป็นนิยายวิทยาศาสตร์แล้ว หรือไม่?

จากนี้คือแนวคิดของผม (ซึ่งแน่นอนไม่สามารถกำหนดถูกผิดได้ 😀 )
อ่านเพิ่มเติม “ความเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ในทัศนคติของข้าพเจ้า”

แรงบัลดาลใจ 2

 

ส่วนที่ 1 เป็นบทความครับ

1

แล็ปที่สวิตเซอร์ แลนด์ส่งคู่อนุภาคโฟตอนที่เชื่อมกันด้วย Quantum entanglement แยกไปสองแล็ปที่ห่างกัน 18 กิโล แล้วทั้งสองแล็ปวัดค่าต่างๆ ของโฟตอนแต่ละอนุภาค ปรากฏว่าแต่ละอนุภาคเหมือนรู้ และสามารถเหนี่ยวนำสถานะของอีกอนุภาคด้วยวิธีการบางอย่าง แต่ถ้ามีการส่งสัญญาณสื่อสารระหว่างอนุภาคนั้น ข้อมูลต้องถูกส่งด้วยความเร็วเหนือแสงอย่างน้อย 10,000 เท่า แต่ทีมทดลองเชื่อว่าการเหนี่ยวนำของสองอนุภาคน่าจะเกิดขึ้นแบบฉับพลัน (ความเร็วเข้าใกล้อนันต์)

 
อ่านเพิ่มเติม “แรงบัลดาลใจ 2”

แรงบัลดาลใจ 1

ท่านประธานบอกให้กันช่วยหาแรงบันดาลใจ ผมได้มาหนึ่ง เอามาแบ่งกันครับ

ข้อกล่าวหาเรื่องมนุษย์คนแรกเหยียบดวงจันทร์เป็นเรื่องลวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาพถ่ายโลก จากดวงจันทร์ภาพแรก

ผู้ ที่สนับสนุน ข้อกล่าวหาเรื่องการเหยียบดวงจันทร์ครั้งแรก เชื่อว่า การเหยียบดวงจันทร์ของ นีล อาร์มสตรอง ในโครงการอพอลโลขององค์การนาซานั้น เป็นเรื่องที่สร้างขึ้นในสตูดิโอถ่ายภาพยนตร์โดยมีการสนับสนุนจากซีไอเอ ข้อกล่าวหาดังกล่าวได้มีการพูดถึงในสหรัฐอเมริกาในช่วงสิบปีต่อมา และมีการพูดคุยกันอย่างมากในอินเทอร์เน็ตในช่วงที่อินเทอร์เน็ตเริ่มแพร่ หลายการลงจอดบนดวงจันทร์ของ อพอลโล 11 ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) มีการกล่าวอ้างว่าการถ่ายภาพ ไม่ได้กระทำบนดวงจันทร์ แต่ได้ถ่ายทำขึ้นในสตูดิโอภาพยนตร์บนโลก โดยความคิดนี้ได้เริ่มเป็นที่พูดคุย หลังจากภาพยนตร์เรื่อง แคปริคอร์นวัน (Capricorn One) ได้ออกฉาย ซึ่งในภาพยนตร์แสดงถึงองค์การนาซาได้หลอกชาวโลก โดยการสร้างภาพการลงจอดยานที่ดาวอังคารอย่างไรก็ตามมีข้อพิสูจน์หลายอย่าง ว่า ถึงแม้ว่าการสำรวจอวกาศของอพอลโล 11 จะเป็นเรื่องจริง แต่ภาพถ่ายของ นีล อาร์มสตรอง ถูกถ่ายทำขึ้นบนโลก โดยตามความคิดของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่า นีล อาร์มสตรองจะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ภาพถ่ายนี่จะออกมาต่อสื่อมวลชนเพื่อสร้างข่าวลือของความสำเร็จของสหรัฐ อเมริกา

ในปี พ.ศ. 2517 ได้มีหนังสือซึ่งเขียนขึ้นโดย บิลล์ เคย์ซิง (Bill Kaysing) ชื่อเรื่องว่า เราไม่เคยเหยียบดวงจันทร์ (We Never Went to the Moon) หรือ หนังสือของ ราล์ฟ มูน ในชื่อเรื่อง นาซาเหยียบสหรัฐอเมริกา (NASA Mooned America) ซึ่งเกี่ยวกับข่าวหลอกลวงที่นาซาสร้างขึ้น และมีมิวสิกวีดีโอเพลง อเมริกา (Amerika, ใช้ตัวอักษร k) ของ แรมม์ไสตน์ (Rammstein) เนื้อเพลงเกี่ยวกับการหลอกลวงในการลงจอดบนดวงจันทร์ ซึ่งนักร้องแต่งชุดเป็นนักบินอวกาศ และฉากหลังเป็นดวงจันทร์
อ่านเพิ่มเติม “แรงบัลดาลใจ 1”

เรื่องสั้นคืออะไร


เรื่องสั้น
เป็นวรรณกรรมประเภทหนึ่ง ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกมีความยาวประมาณ 1000-10000 คำ ส่วนไทยเราก็กำหนดความยาวของเรื่องว่าประมาณ 5 ถึง 8 หน้า อาจจะสั้นกว่าหรือยาวกว่านั้น ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องสั้นอยู่ เช่น บางเรื่องอาจยาวเพียง 1 หน้ากระดาษฟูลสแก๊ป เรียกว่าเป็นเรื่องสั้นขนาดสั้น ถ้าเรื่องยาวมากถึงขนาด 4 ตอนจบ ก็เรียกว่าเรื่องสั้นขนาดยาว ผู้เขียนเขียนขึ้นโดยใช้จินตนาการของตนเองอย่างสมจริงสมจัง มีขนาดสั้น ตัวละครไม่มาก ดำเนินเรื่องด้วยความรวดเร็วและมีจุดมุ่งหมายเดียวโดยอาศัยศิลปะการเขียนที่ ชวนให้น่าอ่านและมีคติธรรมแทรก มีลักษณะพิเศษเฉพาะที่น่าสนใจเพราะมีศิลปะการแต่งผิดไปจากเรียง ความ ประเภทอื่น คือเรื่องสั้นจะมีจุดหมายซึ่งแสดงความคิดอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงข้อเดียว
อ่านเพิ่มเติม “เรื่องสั้นคืออะไร”