gravitational wave

ลงข่าวย้อนหลัง ครับ

ฮือฮา! นักวิทย์พบ ‘คลื่นความโน้มถ่วง’ มีจริง พิสูจน์ทฤษฎี 100 ปี ของไอน์สไตน์

เปิดใจคนไทย 1 เดียวใน LIGO หอสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วง (ชมคลิป)

เจาะคำทำนาย 100 ปี ไอน์สไตน์ คลื่นความโน้มถ่วงคือ?

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดรับสมัครร่วมเวิร์คช็อปฟรี!กับนักเขียนรางวัลซีไรต์

เห็นว่า น่าสนใจดีครับ
เลยเอามาฝาก

ดั๊บเบิ้ล เอ กระดาษจากคันนา เชิญชวนน้อง ๆ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ร่วมกิจกรรม A to a เรียนรู้และเวิร์คช็อป “อาชีพนักเขียน” กับคุณวุฒิชาติ ชุ่มสนิท นามปากกา บินหลา สันกาลาคีรี นักเขียนรางวัลซีไรต์ เจ้าของผลงาน “เจ้าหงิญ” ในวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2558 ที่อาคารดั๊บเบิ้ล เอ บุ๊ค ทาวเวอร์ ถ.สาทร 12 เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยเขียนเรื่องสั้น ความยาวไม่เกิน 1 หน้า A4 ไม่จำกัดหัวข้อ เพื่อคัดเลือกผู้รับสิทธิ์อบรมฟรีจำนวน 30 คน หมดเขตส่งผลงานเรื่องสั้นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Facebook Double A Club หนึ่งในกิจกรรมดี ๆ จากโครงการ Double A Better Tomorrow ปลูกฝัน ปลูกปัญญา เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกหลานชาวนาและเยาวชน ก้าวสู่อาชีพในฝัน

http://www.doubleapaper.com/th/news-details/831-a-to-a-free-workshop-with-sea-write-writers

ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์

อพวช. จับมือ 3 หน่วยงาน เฟ้นหานักเขียนรุ่นใหม่หัวใจวิทย์ ชวนประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ เปิดตัวในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ 2558

17 พฤศจิกายน 2558 – อิมแพ็ค เมืองทองธานี / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย จัดโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ เปิดสมอง กระตุ้นจินตนาการสร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชน และสังคมไทยหันมาสนใจเรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านงานเขียน ชวนนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ส่งเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์เข้าประกวด หมดเขตรับสมัครผลงานภายในวันที่ 1 เมษายน 2559 และประกาศผลการตัดสิน วันที่ 1 กรกฏาคม 2559

อ่านเพิ่มเติม “ประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์”

เสวนาไซ-ไฟสัญจร กางเต๊นท์นอนดูดาว

ชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม “เสวนาไซ-ไฟสัญจร กางเต๊นท์นอนดูดาว” ณ.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต
(ท้องฟ้าจำลอง คลอง 6 รังสิต)
วันเสาร์ที่ 19- วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม 2558

ยืนยัน 19-20 ธันวาคม 2558 พบกันแน่นอนครับ
เวลา 13:00 ที่บริเวณ canteen ในศูนย์วิทยาศาสตร์รังสิต

ได้รับข่าวจากอาจารย์ชัยวัฒน์ คุประตกุล ว่าจะไปร่วม jam ด้วยครับ

http://thaiscifi.izzisoft.com/wp-content/uploads/2013/10/2.png
google map

กำหนดการ

19/12/2558
13.00 น. พบกันที่ ณ.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต
(ท้องฟ้าจำลอง คลอง 6 รังสิต หลังโรงเรียนนายอำเภอ)
13.00 น. ชมนิทรรศการวิทยาศาสตร์ภายในศูนย์วิทยาศาสตร์
15.00 น. เสวนา-แลกเปลี่ยนประสบการณ์
17.00 น. พักผ่อนส่วนตัว
18.00 น. รับประทานอาหารเย็น
19.00 น. เสวนา-แลกเปลี่ยนประสบการณ์
20.00 น. ดูดาว เล่านิทานดวงดาว
21.00 น. พักผ่อนส่วนตัว

20/12/2558
07.00 น. ทำกิจส่วนตัว
08.00 น. อาหารเช้า
09.00 น. ชมนิทรรศการ-ดูดาวในท้องฟ้าจำลอง
11.00 น. พักผ่อนส่วนตัว
12.00 น. เดินทางกลับ

งานนี้ เน้นพูดคุย สัพเพเหระ ทางชมรมฯอยากเป็นฝ่ายฟังมากกว่าพูด นะครับ

ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ 500บาทต่อคน(ไม่รวมค่าเดินทาง) ชำระเงินเมื่อไปถึงสถานที่จัดกิจกรรม
ผู้ร่วมเดินทางไม่เกิน 15ท่าน
เพื่อที่จะสามารถประเมินค่าใช้จ่ายในงานนี้ จึงขอให้ผู้สนใจส่งรายชื่อเข้ามาโดยด่วน(ก่อนวันที่ 10ธันวาคม) ทาง
webmaster@thaiscifi.izzisoft.com
ขอบคุณครับ

ผู้รับผิดชอบโครงการ
นายเชิงชัย ไพรินทร์
083-6052516

ด่วน!…ยกเลิกการอบรมเชิงปฏิบัติการ การเขียนนิยายวิทยาศาสตร์

ทางชมรมฯมีความจำเป็นที่จะต้องขอยกเลิกการอบรมเชิงปฏิบัติการณ์ การเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 3 และ 4 ตุลาคมนี้ จึงเรียนมาเพื่อทราบครับ

นิยายวิทยาศาสตร์ (Science Fiction) คืออะไร โดย วรากิจ

ตอบอย่างกำปั้นทุบดินก็คือ เรื่องแต่งอันเกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์นั่นเอง นิยายวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. Hard Sci-Fi ได้แก่นิยายวิทยาศาสตร์ที่อ้างอิงหลักการทางวิทยาศาสตร์อย่างเข้มข้น
2. Soft Sci-fi หรือ Sci-fi fantasy เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่เน้นผลกระทบของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อมนุษย์ โลก สิ่งมีชีวิตอื่นๆ และสภาพแวดล้อม
เราต้องเข้าใจว่า นิยายวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ตำราวิทยาศาสตร์ จึงไม่สามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในนิยายวิทยาศาสตร์ไปอ้างอิงทางวิชาการได้ เพราะู้วิทยาศาสตร์ในนิยายวิทยาศาสตร์มักจะผสมผสานกับจินตนาการด้วยเสมอ เราจึง่ต้องไม่กังวลกับข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์มากจนเกินไปจนขัดขวางจินตนาการของเรา เพียงแต่เราต้องมีหลักยึดอย่างถูกต้องในการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ คือ
1. อะไรที่เป็นข้อเท็จจริงที่พิสูจน์แล้วทางวิทยาศาสตร์และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้ว นิยายวิทยาศาสตร์จะบิดเบือนข้อเท็จจริงนั้นไม่ได้ เช่น แสงเดินทางเป็นเส้นตรงด้วยความเร็ว 186,000 ไมล์ต่อวินาที หรือดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลก 93 ล้านไมล์ นี่คือข้อเท็จจริงที่ไม่อาจบิดเบือนได้ ยกเว้นนิยายวิทยาศาสตร์จะแต่งให้มีปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลให้ข้อเท็จจริงนั้นเปลี่ยนไป เช่น มีพลังงานบางอย่างมาเบี่ยงเบนทิศทางของแสงไม่ให้เป็นเส้นตรงหรือมีความเร็วที่เปลี่ยนแปลงไป หรือมีดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลกจนระยะห่างจากดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงไป
2. อะไรที่วิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถพิสูจน์จนได้ข้อสรุปแน่ชัด นิยายวิทยาศาสตร์สามารถใช้จินตนาการได้อย่างเต็มที่ เช่น วิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า หากมียานอวกาศเข้าไปในหลุมดำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น นิยายวิทยาศาสตร์จึงสามารถจินตนาการได้อย่างกว้างขวาง เช่น ยานอวกาศถูกทำลายกลายเป็นผุยผง หรือ หลุมดำกลายเป็นทางลัดไปสู่อีกจักรวาลหนึ่ง หรือหลุมดำเป็นเครื่องเดินทางข้ามกาลเวลา
3. นิยายวิทยาศาสตร์สามารถบิดเบือนข้อเท็จจริงบางอย่างได้ เพื่ออรรถรสในการอ่านหรือการชม และเพื่อให้เนื้อเรื่องดำเนินต่อไปได้ เช่น หากมนุษย์ถูกแมงมุมกัด ก็คงไม่สามารถทำให้กลายเป็นมนุษย์ที่มีพลังอำนาจพิเศษเหมือน Spider man ได้ แต่นิยายวิทยาศาสตร์ก็เจตนาบิดเบือนให้มันเป็นไปได้เพื่อความสนุกสนาน แต่ทั้งนี้ การบิดเบือนข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์จะต้องเป็นไปโดยเจตนา ไม่ใช่โดยความไม่รู้

รวมเรื่องสั้นไซ-ไฟ โดย ชัยคุปต์

หนังสือรวมเรื่องสั้นไซ-ไฟ
สำหรับเยาวชน “อุโมงค์ทะลุมิติ” โดย ชัยคุปต์ สำนักพิมพ์ Bing Factory ราคา 200 บาท วางจำหน่ายแล้วครับ

ประธานชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทยให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอส.

วรากิต  เพชรน้ำเอก ประธานชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ให้สัมภาษณ์รายการ Sci-Fi Sci-Film ร่วมกับคุณมะเดี่ยว ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง เกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์และภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ในโครงการประกวดภาพยนตร์สั้นไซ-ไฟ ซึ่งจัดโดยสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส. จะออกอากาศในเดือนกันยายน วันเวลาที่แน่นอนจะแจ้งให้ทราบต่อไป
S__4866136 S__4866137

ผู้สนับสนุนกิจกรรมของชมรมฯ

ชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทยขอขอบพระคุณ คุณชัยกมล สมานวรวงศ์ ที่ได้บริจาคเงินจำนวน 5,000 บาท ผ่านคุณทีปนนท์ สมานวรวงศ์ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2558 เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของชมรมฯ

ขอเชิญร่วมกิจกรรม ไซ-ไฟ เดย์

ขอเชิญร่วมกิจกรรม ไซ-ไฟ เดย์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี ชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทย

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม เวลา 13.00 – 17.00 น. ณ ห้องประชุมกาลิเลโอ ศูนย์วิทยาศาสตร์จามจุรีสแควร์ ชั้น 4 ชมภาพยนตร์ชุด Star Trek ฉบับ Original ตอน Space Seed และร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหัวข้อ ภาพยนตร์ไซ-ไฟ และนิยายวิทยาศาสตร์ จากอดีตถึงปัจจุบัน และ 3 ภาพยนตร์ไซ-ไฟ และนิยายวิทยาศาสตร์ใดวงใจ โดย รศ.ดร.ชัยวัฒน์  คุประตกุล และวิทยากรของชมรมฯ (ไม่มีค่าใช้จ่าย) สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งได้ที่ วรากิต  เพชรน้ำเอก 094-991-7196

Bangkok Creative Writing Workshop 4 : Writing Dystopia

ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้ารับการฟังบรรยาย Bangkok Creative Writing Workshop 4
วันที่ : 10 กรกฎาคม – 11 กรกฎาคม 2558
สถานที่: ห้อง Friends of bacc ชั้น 6 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
แผนที่

ในวันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2558 บรรยายพิเศษในหัวข้อ “นิยายไซ-ไฟไทย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ชัยวัฒน์ คุประตกุล ในเวลา 15.00 – 16.30 น. ณ ห้อง Friends of bacc ชั้น 6
(เน้นที่อันนี้ครับ เพราะจะตรงกับหัวข้อ Sci-Fi โดยตรง ครับ)

และในวันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม 2558 บรรยายพิเศษในหัวข้อ “ศาสตร์เรื่องสั้น” โดย คุณจำลอง ฝั่งชลจิตร ในเวลา 13.00 – 14.30 น. ณ ห้อง Friends of bacc ชั้น 6

**ไม่มีค่าใช้จ่ายในการร่วมฟังบรรยาย**
** ไม่ต้องสำรองที่นั่ง**

สอบถามรายละเอียด โทร. 02 214 6630 ต่อ 530 –

(อ้างอิง)
http://www.bacc.or.th/event/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2-Bangkok-Creative-Writing-Workshop-4–Writing-Dystopia.html

โครงการประกวดภาพยนตร์สั้นวิทยาศาสตร์ “Short Science Film”

วันที่ : 14 กรกฎาคม 2558
สถานที่: ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
แผนที่

โดย อพวช.และไทยพีบีเอส
เวลา 12.30 – 16.00 น.

รายละเอียดกิจกรรม

12.30 – 13.00 น. ลงทะเบียนและร่วมกิจกรรม Mini Exhibition
13.00 – 13.30 น. พิธีกรกล่าวทักทายแนะนำโครงการฯ เชิญตัวแทนจาก อพวช. กล่าวถึงรายละเอียดโครงการฯ, VTR “Time Space Machine Monster”
13.30 – 14.30 น. เริ่มกิจกรรมเสวนา “Time Space Machine Monster 4 สิ่งพิศวงในหนังวิทยาศาสตร์”
14.30 – 15.30 น. Mini Workshop เทคนิคการคิดพล็อตหนังสั้นวิทยาศาสตร์ โดย คุณชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล (มะเดี่ยว)
15.30 – 16.00 น. ให้รายละเอียดการรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ

สนใจเข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ “Time Space Machine Monster 4 สิ่งพิศวงในภาพยนตร์วิทยาศาสตร์”
ลงทะเบียนผ่านทาง E-mail: ShortScienceFilm@Thaipbs.or.th
รับข้อมูลข่าวสารผ่านทาง Facebook: www.facebook.com/shortsciencefilm2015

– See more at: http://www.bacc.or.th/event/Short-Science-Film.html#sthash.rAg8wArJ.dpuf

อ้างอิง
http://www.bacc.or.th/event/Short-Science-Film.html

ชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทย มอบสิ่งของที่เกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ ให้แก่ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต (ท้องฟ้าจำลอง คลอง 6 รังสิต)

เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2558 ทางชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ได้นำหนังสือและของสะสมที่เกี่ยวเนื่องกับนิยายวิทยาศาสตร์ไปมอบให้แก่ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต ครับ
และนี่คือภาพบรรยากาศครับ

ใครแวะเวียนไปแถวนั้นแวะไปอ่านด้วยนะครับ
บางท่านอาจจะไม่เคยเห็น นิตสาร”มิติที่4″ มาก่อน อ่านแล้วแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ
และขอขอบคุณที่ทางศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต อุปการะและเอื้อเฟื้อสถานที่ให้แก่กิจกรรมของทางชมรมตลอดมา ขอบคุณครับ
อ่านเพิ่มเติม “ชมรมนิยายวิทยาศาสตร์ไทย มอบสิ่งของที่เกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ ให้แก่ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต (ท้องฟ้าจำลอง คลอง 6 รังสิต)”

ภาพบรรยากาศ งานเสวนาสัญจร ครั้งที่๒

ภาพบรรยากาศในงานครับ
กำลังยุพี่เชิงชัย ครั้งหน้า แบบไปนอนในตัวพิพิธภัณฑ์เลย ไม่ก็ไปนอนข้างๆบ่อขุดไดโนเสาร์